หน้าแรก เรียนกีฬา ข่าว/บทความ

สุดยอดเทคนิคดูแลสายตา เพื่อให้การอ่านหนังสือได้ประโยชน์เต็มที่

วันที่เวลาโพส 23 พฤศจิกายน 60 13:47 น.
อ่านแล้ว 0
P' แพว AdmissionPremium

ฤดูแห่งการอ่านหนังสือ และการเตรียมตัวสอบ วนเวียนเข้ามาในชีวิตของน้องๆ ตลอด ตั้งแต่ประถม มัธยม จนถึงมหาวิทยาลัย เรียกว่าแทบไม่เคยได้หยุดเว้นจากการอ่านหนังสือเลย และส่วนใหญ่เราก็มุ่งเป้าไปที่การอ่านให้เข้าใจแบบเร่งด่วน โหมอ่านกันข้ามวันข้ามคืน จนบางครั้งละเลยการดูแลร่างกายและสายตาซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญของเรา แถมยังส่งผลให้การอ่านนั้นไม่ได้ประสิทธิภาพอย่างที่มันควรจะเป็น  ดังนั้น บทความนี้ เราจึงมาแนะนำ 3 เทคนิคง่ายๆ ที่จะไม่ทำร้ายดวงตาและช่วยให้การอ่านหนังสือของน้องได้ประโยชน์เต็มที่ จะมีอะไรดีๆ บ้าง ตามมาอ่านกันเลย


เตรียมตัวอ่านอย่างมีสมาธิ

- ควรอ่านหนังสือตอนที่ร่างกายสดชื่น มีอุณหภูมิเหมาะสม ไม่ร้อนไม่หนาวเกินไป และสวมเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายแบบสบายๆ ไม่อึดอัด

- อย่าอ่านขณะที่เรารู้สึกหิว เพราะจะทำให้เราไม่มีสมาธิ แถมยังไม่มีพลังงานไปให้สมอง และไม่ควรอ่านหนังสือหลังรับประทานอาหารอิ่มใหม่ๆ เพราะร่างกายต้องใช้พลังงานในการย่อยอาหาร ถ้าอ่านหนังสือ เลือดจะขึ้นไปเลี้ยงสมองมาก จนทำให้กระเพาะย่อยอาหารได้ไม่ดีนั่นเอง

- ถ้าเครียดหรืออารมณ์ไม่ดี ไม่ควรฝืนอ่านหนังสือ เพราะฝืนไปก็ไม่มีสมาธิและทำให้อ่านไม่รู้เรื่องอยู่ดี ซึ่งแน่นอนว่าจะไม่เกิดประโยชน์จากการอ่านอย่างเต็มที่ น้องๆ  ควรอ่านหนังสือก่อนนอนในสภาวะที่ร่างกายและจิตใจผ่อนคลายหรืออ่านในวันหยุดสบายๆ ที่ไม่ต้องเร่งรีบไปไหนจะดีกว่า
  
- ท่านั่งที่ถูกต้อง สำหรับการอ่านหนังสือ คือ การนั่งหลังตรง ไม่เกร็งเกินไป เลือกเก้าอี้ที่มีพนักพิงและเท้าแขนที่พอเหมาะกับร่างกาย เก้าอี้ที่นุ่มเกินไปหรือแข็งเกินไป ทำให้นั่งไม่สะดวกและทำให้อ่านไม่ได้นาน

- ควรถือหนังสือให้ห่างจากดวงตาในระยะเหมาะสม คือไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร และไม่ควรนอนอ่านหนังสือ เพราะนอกจากจะทำให้เมื่อยแขนมากกว่าปกติ และยังทำให้สายตาต้องปรับระดับมากกว่าปกติด้วย



จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะกับการอ่าน

- หามุมอ่านหนังสือที่เงียบสงบ อากาศปลอดโปร่งถ่ายเทสะดวก ไม่ควรอ่านหนังสือบริเวณที่มีคนผ่านไปมาตลอดเวลา เช่น ประตู ทางเดิน หรือหน้าบ้าน เพราะจะทำให้เสียสมาธิได้ง่าย

- ควรอ่านหนังสือในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ ไม่มืดหรือจ้าเกินไป หลีกเลี่ยงการอ่านหนังสือบนรถที่กำลังวิ่ง เพราะสายตาต้องปรับโฟกัสตลอดเวลา

- เลือกที่จะอ่านหนังสือเพียงอย่างเดียว แนะนำว่าเมื่อน้องๆ อยากมีสมมาธิในการอ่านหนังสือก็ควรอ่านหนังสืออย่างเดียวดีกว่าทำกิจกรรมหลายๆ อย่างไปพร้อมกัน เช่น กินไปด้วย ฟังเพลงไปด้วย จะทำให้เสียสมาธิและเสียเวลาจากการอ่านหนังสือไปมาก 

- ไม่ควรฟังเพลงไปด้วย ระหว่างที่น้องๆ อ่านหนังสือแล้วอยากให้ตัวเองมีสมาธิ แนะนำว่าไม่ควรเปิดหรือฟังไปด้วย โดยเฉพาะเพลงที่มีจังหวะเร็ว เพราะสมาธิจะไปอยู่ที่เพลงมากกว่า แต่หากถ้าน้องคนไหนชอบ แล้วรู้สึกว่าอยากฟังเพลงเพราะเพลงมันช่วยให้ผ่อนคลายได้จริงๆ ก็ควรเลือกเป็นเพลงบรรเลงเบาๆ สบายๆ และขอบอกอีกนิดว่า การใส่หูฟัง ไม่เหมาะกับการอ่าน เพราะนอกจากจะให้เสียงที่ใกล้และดังก้องเกินไปแล้ว หูฟังแบบที่กดกับใบหูยังทำให้ปวดหัว หรือเจ็บหูได้ง่าย


พักร่างกายและสายตาเมื่อเหนื่อยล้า

- พักสายตา หลังจากอ่านหนังสือทุก 40-50 นาที น้องๆ ควรพักสายตาด้วยการมองออกไปไกลๆ หรือมองต้นไม้ ดอกไม้ ใบไม้ สีเขียว จะช่วยผ่อนคลายสายตาได้ดี

- หมั่นกระพริบตา แม้ปกติแล้วคนเราจะกะพริบตาโดยอัตโนมัติ แต่ถ้าน้องๆ อยากจะเป็นนักอ่านที่ดี ต้องหัดกะพริบตาเพื่อเป็นการออกกำลังสายตา ภายใน 10 วินาที ให้พยายามกะพริบตาสัก 1-2 ครั้ง เมื่อหัดจนชิน จะช่วยลดความอ่อนล้าของสายตาได้มาก

- ให้ดวงตาได้รับแสงแดดบ้าง โดยการหลับตาลง ให้แสงแดดส่องผ่านหนังตาที่หลับอยู่ วันละ 2 ครั้ง เช้า - เย็น ครั้งละ 10 นาที แสงแดดจะช่วยให้เกิดการไหลเวียนของเลือดรอบดวงตา ผ่อนคลายกล้ามเนื้อและระบบประสาทรอบดวงตา

- นวดผ่อนคลายดวงตา โดยการใช้น้ำเย็น น้องๆ แค่เอามือรองน้ำเย็น หลับตา แล้ววักใส่หน้าบริเวณดวงตา ไม่ต้องแรงนัก สัก 20 ครั้ง ซับให้แห้งเบาๆ จะช่วยให้ดวงตา กล้ามเนื้อ และเส้นประสาทสดชื่นขึ้น รวมทั้งการใช้ฝ่ามือนวดดวงตา ที่จักษุแพทย์แนะนำว่าสามารถลดความเครียดให้กับดวงตาได้เป็นอย่างดี เริ่มจากนั่งบนเก้าอี้ด้วยท่าที่สบายที่สุด เอาฝ่ามือทั้งสองข้างปิดดวงตาไว้ โดยให้ฝ่ามือซ้ายปิดตาซ้าย ฝ่ามือขวาปิดตาขวา ปลายฝ่ามือทั้งสองข้างไขว้ทับกันไว้บนหน้าผาก ทำอย่างนี้วันละครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมง

 

น้องๆ คนไหนที่รู้ตัวว่าใช้สายตาหักโหมเกินไปในแต่ละวัน หลังอ่านบทความจบแล้ว ก็อย่าลืมนำเทคนิคง่ายๆ เหล่านี้ไปลองปรับใช้เพื่อถนอมสายตา และช่วยทำให้การอ่านหนังสือของเราได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ที่สุดนะคะ 

 

คนอื่นๆอ่านเรื่องนี้ แล้วมักจะอ่านเรื่องต่อไปนี้ต่อ

หมวด