การที่ทุกคืน พ่อแม่ต้องคอยดุเด็กๆ ให้เข้านอนเป็นเวลาอาจเป็นเรื่องที่ไม่น่ารื่นรมย์เท่าไหร่ ทั้งสำหรับพ่อแม่หรือในความรู้สึกของเด็กๆ เอง แต่พฤติกรรมหรือกิจวัตรดังกล่าวนั้น เป็นสิ่งที่จะช่วยให้เด็กๆ มีสุขภาพที่ดีขึ้นและห่างไกลจากโรคอ้วนได้ เอาล่ะเด็กๆ จ้ะ มาโตอย่างสตรอง! กันดีกว่า
จากผลการศึกษาของ
ซาราห์ แอนเดอร์สัน นักระบาดวิทยาของมหาวิทยาลัยโอไฮโอสเตต (The Ohio State University) ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร
International Journal of Obesity โดยบันทึกกิจวัตรประจำวันของเด็กนักเรียนในประเทศอังกฤษ ตั้งแต่อายุ 3 ขวบจนพวกเขาอายุ 16 ปี พบว่า
เด็กๆ กลุ่มที่มีเวลานอนไม่คงที่ มีความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วนมากกว่าเด็กที่มีการกำหนดกิจวัตรการกินและนอนอย่างเป็นเวลา ถึง 2 เท่า เมื่อเทียบในช่วงอายุ 11 ปี
ซึ่งสอดคล้องกับผลงานวิจัยแอนเดอร์สัน และ โรเบิร์ต วิเทเคอร์ (Robert Whitaker) ในปี 2010 ที่ให้ผลสรุปใกล้เคียงกัน คือ จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างเด็กในสหรัฐอเมริกา จำนวน 8,550 คน พบว่า เด็กที่มีกิจวัตรสามอย่างที่ชัดเจน คือ กินอาหารเย็นกับครอบครัว เข้านอนในเวลาเดิม และถูกจำกัดเวลาดูโทรทัศน์
เด็กกลุ่มนี้มีความเสี่ยงต่อภาวะอ้วนน้อยกว่าอีกกลุ่มที่ไม่มีตารางเวลากิจวัตรต่างๆ แน่ชัด ถึง 40 เปอร์เซ็นต์
และจากผลการศึกษาทั้งสอง พวกเขาเสนอว่า
การกินอาหารเย็นพร้อมหน้าพร้อมตา ยังส่งผลต่อนิสัยการกินที่ดี และสุขภาพจิตของเด็กๆ เมื่อพวกเขาโตขึ้นด้วย นั่นเพราะร่างกายของคนเราขึ้นอยู่กับแสงแดดและความมืดมิดที่มีมาสม่ำเสมอในทุกๆ วัน ร่างกายโดยเฉพาะระบบเผาผลาญ จึงถูกตั้งค่าไว้อย่างเป็นระบบ และเมื่อมันถูกขัดจังหวะก็ส่งผลให้ระบบที่ถูกเซ็ตไว้แปรปรวนนั่นเอง
ที่มา :
Eat, Sleep, Repeat: How Kids' Daily Routines Can Help Prevent Obesity
www.ncbi.nlm.nih.gov