หน้าแรก เรียนกีฬา อาชีพในอนาคต

จบวิทยาศาสตร์การกีฬา เป็นอะไรได้บ้าง? มารู้จัก 5 อาชีพสุดเจ๋งที่สาขานี้ทำได้กันดีกว่า!

วันที่เวลาโพส 06 กรกฎาคม 60 12:04 น.
อ่านแล้ว 0
P' แพว AdmissionPremium

นอกจาก สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา จะช่วยสร้างน้องๆ ให้เป็นนักกีฬาอาชีพแล้ว ยังพัฒนาให้เราสามารถทำงานในสาขากีฬาได้หลากหลายตามความชอบและความถนัดอีกด้วย และนี่คือ “5 อาชีพสุดเจ๋งด้านกีฬา” ที่เราจะมาแนะนำให้น้องๆ เอาไปประกอบการตัดสินใจโดยไม่ต้องกังวลว่าเลือกเรียนสาขาที่ชอบแล้วจบไปจะไม่มีงานทำ


1. โค้ช/ผู้ฝึกสอนกีฬา (Coach)
น้องๆ คนไหนใฝ่ฝันจะเป็นนักกีฬาแต่ด้วยปัจจัยหลายอย่างไม่เอื้ออำนวย หรือสนใจอยากทำงานอยู่เบื้องหลังเพื่อนำพาให้นักกีฬาหรือทีมประสบความสำเร็จมากกว่า พร้อมกับชอบความท้าทาย สามารถใช้หลักการความรู้เพื่อวางแผนรูปแบบการฝึกกีฬาแต่ละประเภทให้ประสบผลสำเร็จ และสามารถจัดโปรแกรมการฝึกซ้อมให้เหมาะสมกับนักกีฬาแต่ละคนได้ อาชีพโค้ชนักกีฬาจะเป็นเส้นทางที่เหมาะสมกับน้องๆ มากที่สุด

UploadImage
 
2. เทรนเนอร์ (Trainer)
อาชีพมาแรงในยุคที่ผู้คนต่างหันมาดูแลสุขภาพกันมากขึ้น อย่าง Trainer แน่นอนว่าเป็นอาชีพที่ตลาดงานยังขาดแคลนคนที่มีความรู้ซึ่งจบสาขานี้โดยตรง ด้วยความสามารถทางด้านกีฬาและการได้รับความรู้ที่ถูกหลัก น้องๆ สามารถทำงานเป็นเทรนเนอร์ฟิตเนส สปอร์ตคลับ สถานศึกษา องค์กรกีฬา หรือเป็นเทรนเนอร์ส่วนตัวก็ได้

UploadImage
 
3. นักวิทยาศาสตร์การกีฬา (Sport Scientist)
ทุกทีมกีฬาต่างก็ต้องมีนักวิทยาศาสตร์การกีฬาประจำอย่างน้อย 1 คน เพื่อช่วยดูแลนักกีฬาและทำงานร่วมกับโค้ช โดยใช้หลักวิชาการที่ได้เรียนมาดูแลนักกีฬาในทุกด้าน ทั้ง โภชนาการ เทคนิคกีฬา จิตวิทยา ตลอดจนการดูแลสุขภาพร่างกายนักกีฬาอย่างเป็นขั้นตอน อาจแบ่งการทำงานออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนงานเอกสาร การหาข้อมูล และจัดทำข้อมูล จดบันทึกความคืบหน้าของงานต่างๆ และส่วนงานนกลางแจ้ง คือการฝึกและให้ความรู้กับนักกีฬา

 UploadImage

4. นักเวชศาสตร์การกีฬา (Sports medicine)
อาชีพนี้อาจฟังดูคล้ายกับ นักวิทยาศาสตร์การกีฬา แต่จะเน้นในด้านของการป้องกัน บำบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพร่างกายให้กับนักกีฬาทั้งในสภาวะปกติและในระหว่างการฝึกซ้อม เพื่อช่วยเสริมสมรรถภาพทางกายของนักกีฬาให้อยู่ในสภาวะสมบูรณ์พร้อมที่สุด รวมทั้งทำการทดสอบร่างกายตามคำสั่งการรักษาของแพทย์ เพื่อประเมินสมรรถภาพทางกายและสมรรถภาพทางการกีฬา นักเวชศาสตร์การกีฬาส่วนมากจะทำงานบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยในโรงพยาบาล หรือประจำตามทีมกีฬา รวมถึงเป็นนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ประจำห้องปฏิบัติการในสาขาต่างๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์และเวชศาสตร์การกีฬา

UploadImage

5. นักจิตวิทยาการกีฬา (Sports Psychology)
เพราะจิตใจ ความคิด อารมณ์ และความรู้สึกต่างๆ ล้วนแต่มีอิทธิพลต่อความสามารถทางกายภาพและนำมาซึ่งความเชื่อมั่นในตนเองโดยตรงของนักกีฬา ดังนั้น จิตวิทยาทางการกีฬา หรือ Sports Psychology จึงเป็นอีกสาขาหนึ่งในวิทยาศาสตร์การกีฬาที่มีความจำเป็นสำหรับนักกีฬาทุกๆ คนในการแข่งขัน และสำหรับในประเทศไทย ผู้ที่เชี่ยวชาญหรือทำงานด้านจิตวิทยาทางการกีฬาในประเทศไทยยังถือว่ามีจำนวนน้อยมาก

UploadImage
 
สำหรับน้องๆ หลายคนที่ชื่นชอบและมีความสนใจด้านกีฬา ไม่ว่าจะชอบเล่นกีฬา ชอบดูการแข่ง หรือชอบนักกีฬาก็ตาม หากคิดว่าการทำสิ่งเหล่านี้หรือคลุกคลีอยู่กับมันแล้วมีความสุข ก็อย่าลังเลที่จะเลือกอนาคตของตัวเองโดยเลือกเรียนต่อมหาวิทยาลัยทางสายกีฬาหรือสายสุขภาพ และอย่าเพิ่งเป็นกังวลว่าตัวเองกล้ามไม่ใหญ่ หุ่นไม่เฟิร์ม หรือเล่นกีฬาไม่เก่งขนาดติดทีมชาติ เพราะสาขาวิทยาศาสตร์การกีฬานี้ เป็นสาขาอาชีพที่แนวโน้มตลาดการทำงานจะขยายวงกว้างและเติบโตขึ้นเรื่อยๆ สังเกตจากวงการกีฬาอาชีพทั้ง ฟุตบอล วอลเล่ย์บอล หรือแม้แต่สายสุขภาพอย่างฟิตเนส ที่พัฒนาขึ้นและได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศไทย


ที่มา : 
www.a-chieve.org

 

คนอื่นๆอ่านเรื่องนี้ แล้วมักจะอ่านเรื่องต่อไปนี้ต่อ

หมวด