M.A. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตตปัญญาศึกษา
มหาวิทยาลัยมหิดล
รีวิวM.A. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตตปัญญาศึกษา (Contemplative Education) เกิดจากแนวคิดของผู้ทรงคุณวุฒิและองค์กรหลายฝ่ายที่เห็นว่า กระบวนการเรียนรู้และการศึกษาวิชาการนอกตัวเพียงอย่างเดียวนั้นไม่สามารถแก้วิกฤตการณ์ต่างๆ และไม่สามารถนำพาสังคมไปสู่สุขภาวะได้ ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้เปิดดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางจิตตปัญญาศึกษาในปีการศึกษา 2551 ซึ่งหลักสูตรดังกล่าว มีการจัดกระบวนการเรียนการสอน โดยเน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ ผ่านกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของจิตใจให้เหมาะสำหรับการศึกษาเรียนรู้ และเพื่อเป็นตัวสร้างการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนเอง
เป้าหมายของการศึกษาที่นี่คือ การบ่มเพาะ สร้างเสริมทักษะ องค์ความรู้ และสร้างแรงบันดาลใจให้แก่นักปฏิบัติและนักการศึกษาในบริบทต่างๆ ให้เกิดความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาคุณภาพภายในของตนเองไปพร้อมกับการพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถในเชิงวิชาชีพ มีกระบวนการเรียนรู้และวิถีปฏิบัติที่มุ่งเน้นการปลุกให้ปัจเจกบุคคลเกิดความตื่นรู้ บนฐานของการภาวนาและการใคร่ครวญอย่างลึกซึ้ง แนวทางการปฏิบัติประกอบไปด้วยกิจกรรม อาทิ การเจริญสติในรูปแบบต่างๆ สุนทรียสนทนา การเคลื่อนไหวร่างกาย การทำงานศิลปะและกระบวนการสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญของทั้งผู้เรียนและผู้สอนในการสืบค้น เรียนรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับตนเอง รวมไปถึงสัมพันธภาพระหว่างบุคคล องค์กร และสังคมวงกว้าง
หลักสูตรนี้มีการเรียนการสอนทั้งในภาคปกติและภาคพิเศษ จัดการเรียนการสอนวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ใช้เวลาในการศึกษา 2 ปี ถือเป็นหลักสูตรเดียวในประเทศไทยที่เปิดสอนสาขาดังกล่าวในระดับปริญญาโท และเป็นหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นจากองค์ความรู้เชิงจิตวิญญาณที่แท้และไม่สังกัดศาสนาหรือความเชื่อเฉพาะทางใดๆ โดยโครงสร้างหลักสูตรแบ่งเป็น แผน ก แบบ ก 2 (วิทยานิพนธ์) และ แผน ข (สารนิพนธ์) ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต โดยทั้งแผน ก แบบ ก 2 และ แผน ข จะได้เรียนในหมวดวิชาบังคับ 18 หน่วยกิต มีทั้งการบรรยาย ภาคปฏิบัติ และศึกษาด้วยตัวเอง ประกอบด้วยรายวิชา ธรรมชาติแห่งโลกและชีวิต ศิลปะแห่งการจัดกระบวนการจิตตปัญญา จิตวิญญาณเพื่อสังคม ภาวนา ภูมิปัญญาบรรพกาลและจิตวิญญาณร่วมสมัย วิทยาระเบียบวิธีวิจัย และหมวดวิชาเลือกอื่นๆ
คณาจารย์ของศูนย์จิตตปัญญาศึกษา ประกอบด้วยนักวิชาการจากหลากหลายสาขาและความเชี่ยวชาญ อาทิ แพทยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ นิเวศน์วิทยา เศรษฐศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ จิตวิทยา ศิลปกรรมศาสตร์ บริหารธุรกิจ รัฐศาสตร์ สื่อสารมวลชน ศาสนศึกษาและปรัชญา ทุกคนล้วนมีความมุ่งมั่นในการจัดการศึกษาและเผยแพร่องค์ความรู้และแนวทางปฏิบัติด้านจิตตปัญญา เพื่อให้ผู้เรียนและผู้สนใจได้ค้นพบศักยภาพที่แท้ภายในตนเอง และสามารถพัฒนาเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงให้แก่สังคมต่อไป นอกจากนั้นอาจารย์ของศูนย์ฯ ที่มีความแตกต่างหลากหลายในเชิงวิชาชีพและความเชี่ยวชาญแล้ว นักศึกษาในหลักสูตรมหาบัณฑิตของศูนย์ฯ จากอดีตจนถึงปัจจุบันก็ล้วนมีที่มาและประสบการณ์ด้านวิชาชีพที่แตกต่างกันออกไปเช่นกัน ทั้ง ครูอาจารย์ แพทย์ พยาบาล กระบวนกร ครูโยคะ วิศวกร นักประชาสัมพันธ์ นักเขียน นักสื่อสารมวลชน ผู้ประกอบการทางธุรกิจ เป็นต้น
จุดเด่นของที่นี่ คืออะไร
- เป็นหลักสูตรเดียวในประเทศไทยที่เปิดสอนสาขาดังกล่าวในระดับปริญญาโท
- เป็นหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นจากองค์ความรู้เชิงจิตวิญญาณที่แท้และไม่สังกัดศาสนาหรือความเชื่อเฉพาะทางใดๆ
จบมาทำงานอะไร
- กระบวนกรแนวจิตตปัญญาศึกษา (Contemplative Facilitator)
- ผู้ให้การดูแลทางจิตใจ/จิตตาภิบาล (Chaplaincy) แก่ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ หรือจิตตาภิบาล (Chaplaincy) ที่ทํางานกับองค์กรทางสาธารณสุข โรงพยาบาล หรือสถานบริบาลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
- ผู้สร้างสรรค์สื่อเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Media-art-Creater for Change) ที่ออกแบบและสร้างสรรค์งานด้านการสื่อสารสาธารณะ เพื่อสร้างจิตสํานึกเพื่อการเปลยนแปลงสู่สังคม
- ผู้นำองค์ความรู้ไปพัฒนาอาชีพเดิมของตนเอง
สมัครเรียนทำอย่างไร
สมัครเรียนได้ทาง Internet เท่านั้น ที่ www.grad.mahidol.ac.th
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
270,000 บาท
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
ค่าเทอม 19,800 บาทต่อเทอม
ค่าหน่วยกิต หน่วยละ 1,800 บาท
ค่าวิทยานิพนธ์ 15,000 - 18,000 บาท
1 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 10.0 ดีเยี่ยม
M.A. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ดีไหม?
M.A. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตตปัญญาศึกษา
มหาวิทยาลัยมหิดล
รีวิวM.A. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตตปัญญาศึกษา (Contemplative Education) เกิดจากแนวคิดของผู้ทรงคุณวุฒิและองค์กรหลายฝ่ายที่เห็นว่า กระบวนการเรียนรู้และการศึกษาวิชาการนอกตัวเพียงอย่างเดียวนั้นไม่สามารถแก้วิกฤตการณ์ต่างๆ และไม่สามารถนำพาสังคมไปสู่สุขภาวะได้ ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้เปิดดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางจิตตปัญญาศึกษาในปีการศึกษา 2551 ซึ่งหลักสูตรดังกล่าว มีการจัดกระบวนการเรียนการสอน โดยเน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ ผ่านกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของจิตใจให้เหมาะสำหรับการศึกษาเรียนรู้ และเพื่อเป็นตัวสร้างการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนเอง
เป้าหมายของการศึกษาที่นี่คือ การบ่มเพาะ สร้างเสริมทักษะ องค์ความรู้ และสร้างแรงบันดาลใจให้แก่นักปฏิบัติและนักการศึกษาในบริบทต่างๆ ให้เกิดความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาคุณภาพภายในของตนเองไปพร้อมกับการพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถในเชิงวิชาชีพ มีกระบวนการเรียนรู้และวิถีปฏิบัติที่มุ่งเน้นการปลุกให้ปัจเจกบุคคลเกิดความตื่นรู้ บนฐานของการภาวนาและการใคร่ครวญอย่างลึกซึ้ง แนวทางการปฏิบัติประกอบไปด้วยกิจกรรม อาทิ การเจริญสติในรูปแบบต่างๆ สุนทรียสนทนา การเคลื่อนไหวร่างกาย การทำงานศิลปะและกระบวนการสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญของทั้งผู้เรียนและผู้สอนในการสืบค้น เรียนรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับตนเอง รวมไปถึงสัมพันธภาพระหว่างบุคคล องค์กร และสังคมวงกว้าง
หลักสูตรนี้มีการเรียนการสอนทั้งในภาคปกติและภาคพิเศษ จัดการเรียนการสอนวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ใช้เวลาในการศึกษา 2 ปี ถือเป็นหลักสูตรเดียวในประเทศไทยที่เปิดสอนสาขาดังกล่าวในระดับปริญญาโท และเป็นหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นจากองค์ความรู้เชิงจิตวิญญาณที่แท้และไม่สังกัดศาสนาหรือความเชื่อเฉพาะทางใดๆ โดยโครงสร้างหลักสูตรแบ่งเป็น แผน ก แบบ ก 2 (วิทยานิพนธ์) และ แผน ข (สารนิพนธ์) ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต โดยทั้งแผน ก แบบ ก 2 และ แผน ข จะได้เรียนในหมวดวิชาบังคับ 18 หน่วยกิต มีทั้งการบรรยาย ภาคปฏิบัติ และศึกษาด้วยตัวเอง ประกอบด้วยรายวิชา ธรรมชาติแห่งโลกและชีวิต ศิลปะแห่งการจัดกระบวนการจิตตปัญญา จิตวิญญาณเพื่อสังคม ภาวนา ภูมิปัญญาบรรพกาลและจิตวิญญาณร่วมสมัย วิทยาระเบียบวิธีวิจัย และหมวดวิชาเลือกอื่นๆ
คณาจารย์ของศูนย์จิตตปัญญาศึกษา ประกอบด้วยนักวิชาการจากหลากหลายสาขาและความเชี่ยวชาญ อาทิ แพทยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ นิเวศน์วิทยา เศรษฐศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ จิตวิทยา ศิลปกรรมศาสตร์ บริหารธุรกิจ รัฐศาสตร์ สื่อสารมวลชน ศาสนศึกษาและปรัชญา ทุกคนล้วนมีความมุ่งมั่นในการจัดการศึกษาและเผยแพร่องค์ความรู้และแนวทางปฏิบัติด้านจิตตปัญญา เพื่อให้ผู้เรียนและผู้สนใจได้ค้นพบศักยภาพที่แท้ภายในตนเอง และสามารถพัฒนาเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงให้แก่สังคมต่อไป นอกจากนั้นอาจารย์ของศูนย์ฯ ที่มีความแตกต่างหลากหลายในเชิงวิชาชีพและความเชี่ยวชาญแล้ว นักศึกษาในหลักสูตรมหาบัณฑิตของศูนย์ฯ จากอดีตจนถึงปัจจุบันก็ล้วนมีที่มาและประสบการณ์ด้านวิชาชีพที่แตกต่างกันออกไปเช่นกัน ทั้ง ครูอาจารย์ แพทย์ พยาบาล กระบวนกร ครูโยคะ วิศวกร นักประชาสัมพันธ์ นักเขียน นักสื่อสารมวลชน ผู้ประกอบการทางธุรกิจ เป็นต้น
จุดเด่นของที่นี่ คืออะไร
- เป็นหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นจากองค์ความรู้เชิงจิตวิญญาณที่แท้และไม่สังกัดศาสนาหรือความเชื่อเฉพาะทางใดๆ
จบมาทำงานอะไร
- ผู้ให้การดูแลทางจิตใจ/จิตตาภิบาล (Chaplaincy) แก่ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ หรือจิตตาภิบาล (Chaplaincy) ที่ทํางานกับองค์กรทางสาธารณสุข โรงพยาบาล หรือสถานบริบาลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
- ผู้สร้างสรรค์สื่อเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Media-art-Creater for Change) ที่ออกแบบและสร้างสรรค์งานด้านการสื่อสารสาธารณะ เพื่อสร้างจิตสํานึกเพื่อการเปลยนแปลงสู่สังคม
- ผู้นำองค์ความรู้ไปพัฒนาอาชีพเดิมของตนเอง
สมัครเรียนทำอย่างไร
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
ค่าหน่วยกิต หน่วยละ 1,800 บาท
ค่าวิทยานิพนธ์ 15,000 - 18,000 บาท
M.A. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตตปัญญาศึกษา
มหาวิทยาลัยมหิดล
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
1 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 10.0 ดีเยี่ยม
M.A. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ดีไหม?
GOOGLE MAP
ข้อมูลติดต่อ