“ประเทศไทย 4.0” การปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ “Value-Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” ปัจจุบันเราอยู่ในโมเดลเศรษฐกิจแบบ “ทำมาก ได้น้อย” เราต้องการปรับเปลี่ยนเป็น “ทำน้อย ได้มาก”
ในส่วนของการจ้างแรงงานด้านงานธุรกิจแฟชั่นในส่วนของ การออกแบบการใช้อุปกรณ์ การผลิต การตัดเย็บ การสร้างแพทเทิร์นในภาคอุตสาหกรรม ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง แต่บุคลากรที่มีความสามารถยังไม่เพียงพอที่จะตอบสนองการขยายตัว ขณะที่ตลาดก็ยังขาดผู้เชี่ยวชาญด้านการให้บริการเกี่ยวกับสินค้าแฟชั่น การนำเสนอสินค้าแฟชั่น การให้คำปรึกษาทางด้านแฟชั่น รวมถึงการใช้งานคอมพิวเตอร์กราฟิกในงานออกแบบ ซึ่งในกลุ่มนี้มีอัตราผลตอบแทนที่ค่อนข้างสูง
ทางทีมงานได้มีโอกาสสัมภาษณ์ ผม ดร. วรากร เพ็ญศรีนุกุล หัวหน้าสาขาการออกแบบแฟชั่น คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมครับสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) สาขาศิลปศึกษา* (Art Education)
- นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต (นศ.ม.) สาขาสื่อสารการแสดง (Performing Arts)
- ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ศป.ด.) Doctor of Fine and Applied Arts (D.F.A.)
แต่โดยพื้นฐานผมเป็นชอบแฟชั่นมาก ระหว่างตอนที่เรียนก็ทำโชว์ เป็นกิจกรรมของมหาวิทยาลัยมาตลอด เมื่อผมสำเร็จการศึกษาดันไปทำงานเป็น สจ๊วต (steward) แต่ผมก็ยังไม่ทิ้งฝันโดยการสร้างแบรนด์ “Bro” เสื้อผ้าของสุภาพบุรุษ จนในปัจจุบันผมก็ได้ผันตัวมาเป็นหัวหน้าสาขาการออกแบบแฟชั่น
ถึงแม้ว่า “สาขาการออกแบบแฟชั่น” จะเป็นน้องใหม่ในคณะนิเทศศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผมกล้าการันตรีเลยว่าหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบแฟชั่น ออกแบบมาเพื่อให้บัณฑิตมีความรู้ความสามารถเพื่อออกไปทำงานในวงการแฟชั่นได้อย่างมืออาชีพและครบวงจร เพื่อเข้าไปขับเคลื่อนอุตสาหกรรมแฟชั่นในทุกภาคส่วน ตั้งแต่การผลิต การออกแบบ จนถึงส่วนต่างๆของการทำธุรกิจ สอนโดยอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านและอาจารย์พิเศษที่เป็นตัวจริงในวงการแฟชั่น มีผลงานและประสบการณ์ระดับนานาชาติ ผสมผสานการฝึกปฏิบัติงานจริงเพื่อเตรียมตัวบัณฑิตเข้าสู่ยุคดิจิตอล เสริมสร้างกระบวนการความคิดสร้างสรรค์ควบคู่การวางแผนการตลาดอย่างเป็นระบบ สู่การเป็นนักออกแบบและเบื้องหลังของวงการแฟชั่นมืออาชีพ
เนื่องจากสาขาพึ่งเปิดการเรียนการสอน อาจารย์เตรียมอะไรพิเศษไว้ให้น้องๆ บ้าง ?
อันดับแรกแน่นอนผมอยากให้นักศึกษาสัมผัสกับของจริงโดยจะเชิญวิทยากรพิเศษ (Guest Speaker) มาสอนในคลาสพิเศษ และที่สำคัญมั่นใจได้ว่าประสบการณ์ในการทำงานของอาจารย์ประจำหลักสูตรของเรารอบด้าน หลักสูตรของเรายังเพิ่มการเรียนการสอนด้านการนำเสนอสินค้าผ่านสื่อดิจิทัล โดยการใช้สื่อดิจิทัลในการนำเสนอผลงาน เพราะปัจจุบันตลาดผู้บริโภคอยู่ในโลกออนไลน์มากขึ้น ซื้อง่ายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Facebook หรือ Instagram
คุณสมบัติของน้องๆ ที่อยากศึกษาต่อสาขาการออกแบบแฟชั่น ?
“สาขาการออกแบบแฟชั่น” เปิดกว้างมากนะครับ สำหรับคนไม่มีพื้นฐานก็สามารถเรียนได้ ขออย่างเดียวคือ มีใจรักในงานด้านแฟชั่น เพราะงานในสายนี้เราต้องอัพเดตข่าวสาร และใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อผลิตผลงานใหม่ๆอยู่เสมอ
สำหรับน้องๆ ที่ไม่มีพื้นฐานการวาดรูปสามารถเรียนสาขาการออกแบบแฟชั่นได้หรือไม่ ?
ได้แน่นอนครับ บางคนวาดรูปไม่เป็น ผมเชื่อว่ารายวิชาในหลักสูตรการเรียนของเราสามารถฝึกฝน และเพิ่มทักษะให้น้องๆได้ขอแค่มีความพยายาม ด้วยวิวัฒนาการสมัยนี้มีโปรแกรมมากมายในคอมพิวเตอร์ ที่สามารถออกแบบได้ โดยไม่ต้องวาดมือ ซึ่งทางหลักสูตรเราก็มีสอนทั้งสองอย่าง เพื่อให้นักศึกษาที่จบจากเราไปสามารถนำไปประกอบใช้งานได้จริง
โอกาสงานในอนาคตของหลักสูตรนี้ ?
เป็นได้เยอะเลยครับ โอกาสงานในด้านนี้มีอยู่หลายส่วนมาก โดยอาจารย์ขอแบ่งเป็น 3 สายงาน สายงานการผลิตและการออกแบบ เป็นได้ทั้ง นักออกแบบแฟชั่น นักออกแบบคอสตูม นักสร้างแพทเทิร์น ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์แฟชั่น และฝ่ายบริหารสินค้าแฟชั่น ส่วนในสายงานการตลาดและการบริหารสินค้าแฟชั่น เป็นได้ตั้งแต่ ฝ่ายจัดซื้อสินค้าแฟชั่น ผู้จัดการร้าน ผู้ประสานงานแฟชั่น ฝ่ายบริหารสินค้าแฟชั่นค้าปลีก และฝ่ายนำเสนอและจัดแสดงสินค้าแฟชั่น สายงานสุดท้ายคือสายงานด้านสื่อและการทำประชาสัมพันธ์สินค้าแฟชั่น เช่น แฟชั่นสไตลิสต์ กองบรรณาธิการบทความแฟชั่น นักเขียนบทความแฟชั่น ช่างภาพแฟชั่น ประชาสัมพันธ์แฟชั่น นักวาดภาพประกอบแฟชั่น และนักออกแบบกราฟิกแฟชั่น อีกหนึ่งอาชีพหนึ่งที่น่าสนใจคือ “Personal Shopper” จริงๆแล้วอาชีพนี้มีมานานแล้วที่เมืองนอก เพราะทุกห้างก็จะต้องมีคนคอยบริการให้เราแต่งตัวดีขึ้น
U-Review เปิดมุมมองใหม่ เลือกคณะมหาวิทยาลัยด้วยข้อมูล
นิเทศศาสตร์ สาขาการออกแบบแฟชั่น มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ศึกษาข้อมูลสาขาได้เพิ่มเติม คลิกที่นี่
ข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
1.ทุนการศึกษา คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
2.เว็บไซต์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม