สอบเข้ามหาวิทยาลัย

วงการสื่อกว้างใหญ่ สายงานกว้างไกล รู้จัก 10 สาขาน่าเรียนของคณะนิเทศศาสตร์!


บทความนี้ พี่ๆ ทีมงาน Admidsion premium จะขอนำเสนอ สาขาน่าเรียนของคณะนิเทศศาสตร์ ซึ่งถือเป็นอีกคณะที่น้องๆ ให้ความสนใจไม่เป็นสองรองคณะไหนเลย เอาล่ะ สำหรับน้องคนไหนที่สนใจและกำลังตัดสินใจว่าอยากจะเรียนต่อในคณะนิเทศศาสตร์ อย่ารอช้า รีบตามมาดูไว้เป็นแนวทางกันได้เลย



1. สาขาศิลปะการแสดง
สาขาที่น้องๆ หลายคนสนใจอยากเรียน ส่วนหนึ่งเพราะเชื่อว่าหากเรียนสาขานี้ มีโอกาสที่จะได้เข้าสู่วงการบันเทิงไม่ว่าจะเป็นเบื้องหน้าหรือเบื้องหลัง สาขานี้จะสร้างให้นักศึกษาเข้าใจและก้าวไปสู่ความเป็นหนึ่งในวงการภาพยนตร์ 
มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขานี้ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยสยาม มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นต้น ดูรายละเอียดสาขานี้เพิ่มเติมที่นี่

 
2. สาขาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ 
แค่ชื่อก็น่าเรียนแล้วใช่ไหม เรียกว่าสาขานี้เป็นสาขายอดนิยมสำหรับน้องๆ ที่อยากทำงานเบื้องหลังในสายการสื่อสารมวลชนทั้งวิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ น้องๆ ที่เรียนจบสาขานี้ สามารถทำงานได้หลายด้านหรือแทบจะทุกด้านก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็น นักจัดรายการวิทยุ (DJ), ช่างตัดต่อเสียง, ช่างตัดต่อภาพ, นักเขียนบทรายการ, โปรดิวเซอร์
หรืออาชีพในอุตสาหกรรมภาพยนตร์และอุตสาหกรรมบันเทิง ตลอดจนธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารมวลชน  มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขานี้ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยสยาม มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย เป็นต้น  ดูรายละเอียดสาขานี้เพิ่มเติมที่นี่
 

3. สาขาภาพยนตร์/เทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์
อีกสาขาที่โดดเด่นและน่าสนใจ ทุกคนที่อยากเรียนคณะนิเทศศาสตร์จะต้องรู้จัก นั่นคือ สาขาภาพยนตร์ จะเน้นการสอนในด้านการผลิตภาพยนตร์ พื้นฐานของการผลิตสื่อที่ให้ทั้งเสียงและภาพ โดยน้องๆ ที่จบสาขานี้สามารถทำงานได้หลายตำแหน่ง เช่น ผู้กำกับภาพยนตร์, ผู้กำกับศิลป์, ผู้กำกับภาพ, ผู้ผลิตรายการ, นักเขียนบท, ผู้ควบคุมการผลิต, ผู้จัดการกองถ่าย, ผู้อำนวยการสร้าง, อาจารย์ด้านภาพยนตร์, นักเขียน, นักวิจารณ์ภาพยนตร์ และอาชีพในอุตสาหกรรมภาพยนตร์และอุตสาหกรรมบันเทิง ตลอดจนธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารมวลชนและการตลาด  มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขานี้ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สถาบันราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เป็นต้น  ดูรายละเอียดสาขานี้เพิ่มเติมที่นี่


4. สาขาประชาสัมพันธ์ 
สาขานี้จะเน้นไปในเรื่องของงานบริการ การวางแผนและจัดกิจกรรม เหมาะสำหรับคนที่มีความคิดสร้างสรรค์และมีทัศนคติที่ดีต่องานบริการ น้องๆ จะได้เรียนรู้เรื่องการวางแผนสื่อสาร หลักการจูงใจ การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย การผลิตและการใช้สื่อทุกรูปแบบ และสาขาการประชาสัมพันธ์ในปัจจุบันนี้ ถือว่ามีความสำคัญมากในการทำธุรกิจ เพราะไม่ว่าจะองค์กรเล็กใหญ่แค่ไหน ก็จะต้องอาศัยการประชาสัมพันธ์เพื่อให้การดำเนินงานขององค์กรเป็นไปอย่างราบรื่นและเกิดประสิทธิผลสูงสุด 
มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขานี้  เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยนเรศวร สถาบันราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล มหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นต้น  ดูรายละเอียดสาขานี้เพิ่มเติมที่นี่


5. สาขาการโฆษณา 
เรียนเกี่ยวกับการวางแผนเชิงกลยุทธ์ การสื่อสาร การตลาด การสร้างสรรค์งานโฆษณา การวางแผนการซื้อสื่อโฆษณา ตลอดจนการประเมินผล สำหรับอาชีพที่น่าสนใจถ้าน้องๆ เรียนจบแล้ว ได้แก่ นักสร้างสรรค์โฆษณา, ผู้กํากับศิลป์, ผู้เขียนบท, ผู้บริหารงานลูกค้า, ผู้วางแผนกลยุทธ์, ผู้วางแผนสื่อโฆษณา และผู้ขายสื่อโฆษณา หรืออาชีพในอุตสาหกรรมภาพยนตร์และอุตสาหกรรมบันเทิง ตลอดจนธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารมวลชน เป็นต้น มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขานี้  เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล มหาวิทยาลัยหอการค้า มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย เป็นต้น  ดูรายละเอียดสาขานี้เพิ่มเติมที่นี่


6. สาขาวารสารศาสตร์/วารสารสนเทศ/วารสารศาสตร์ดิจิทัล
เรียนเกี่ยวกับการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากบุคคลและสิ่งพิมพ์ต่างๆ จากนั้นนำข้อมูลมาประเมินคุณค่าเพื่อนำเสนอต่อผู้อ่านอย่างมีสาระและสร้างสรรค์ อาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขานี้ ได้แก่ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์/วิทยุโทรทัศน์, ผู้ประกาศข่าว, บรรณาธิการ, นักเขียน, พิสูจน์อักษร, ช่างภาพ, กราฟิกดีไซเนอร์, สไตลิสต์, เจ้าหน้าที่ตัดต่อ, นักพากย์กีฬา, ผู้สื่อข่าวกีฬา, บล็อกเกอร์, นักรีวิวสินค้า, สถานที่ท่องเที่ยวหรืออาหาร หรืออาชีพในอุตสาหกรรมภาพยนตร์และอุตสาหกรรมบันเทิง ตลอดจนธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขานี้ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นต้น  ดูรายละเอียดสาขานี้เพิ่มเติมที่นี่


7. สาขาสื่อดิจิทัล/นิเทศศาสตร์ดิจิทัล
เรียนรู้การสร้างสรรค์งานด้าน 3D Animation, Visual Effects เรียนรู้ทักษะการสร้างแอนิเมชันและภาพยนตร์ ตลอดจนการบริหารจัดการการผลิตสื่อดิจิทัล การถ่ายภาพเพื่อใช้ในงานเชิงพาณิชย์หรือผลงานศิลปะ รวมถึงการใช้เครื่องมืออุปกรณ์เพื่อสร้างสรรค์เสียงและดนตรีในสื่อดิจิทัล รวมทั้งการเป็นผู้ประกอบการ อาชีพที่สามารถทำด้ เช่น Producer, Film Director, Production Crew, Web and Interactive Designer หรืออาชีพในอุตสาหกรรมภาพยนตร์และอุตสาหกรรมบันเทิง ตลอดจนธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารมวลชนและการตลาด เป็นต้น มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขานี้ เช่น สถาบันราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยศรีปทุม เป็นต้น  ดูรายละเอียดสาขานี้เพิ่มเติมที่นี่


8. สาขาสื่อสารมวลชน 
เรียนเกี่ยวกับภาพรวมของนิเทศ ไม่ได้เจาะไปด้านใดด้านหนึ่ง สำหรับสิ่งที่แตกต่างจากคณะนิเทศศาสตร์ ก็คือพวกวิชาพื้นฐาน ที่เป็นพื้นฐานของคณะมนุษย์ศาสตร์ เช่น ประวัติศาสตร์ชาติไทย ปรัชญาและศาสนา ส่วนวิชาของสื่อสารมวลชลที่ต้องเรียน เช่น  การประชาสัมพันธ์ การโฆษณา การเขียนข่าว เขียนบทโฆษณา การตลาด อาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขานี้ ได้แก่ นักข่าว นักจัดรายการ กองบรรณาธิการ คนเขียนสคริป นักประชาสัมพันธ์ บรรณาธิการ นักเขียน พิสูจน์อักษร ช่างภาพ หรืออาชีพในอุตสาหกรรมภาพยนตร์และอุตสาหกรรมบันเทิง มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขานี้  เช่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร สถาบันราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล มหาวิทยาลัยปทุมธานี มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นต้น  ดูรายละเอียดสาขานี้เพิ่มเติมที่นี่


9. สาขาการสื่อสารการตลาด/การตลาดดิจิทัล
การสื่อสารการตลาดเป็นรูปแบบการสื่อสารที่ช่วยให้เกิดการสื่อสารระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค ช่วยสร้างคุณค่าต่อองค์กร เช่น การสร้างแบรนด์ การเพิ่มยอดขายและผลกำไรให้กับองค์กรต่างๆ งานด้านสื่อสารการตลาดจึงจำเป็นต้องมีบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์ การวางแผนกลยุทธ์ทางการสื่อสารการตลาด อาชีพที่เกี่ยวข้องกับการเรียนสาขานี้ ได้แก่ นักการตลาด นักสื่อสารการตลาด นักโฆษณา นักประชาสัมพันธ์ ทั้งในองค์กรภาครัฐและเอกชน ตลอดจนธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารมวลชนและการตลาด มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขานี้ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เป็นต้น ดูรายละเอียดสาขานี้เพิ่มเติมที่นี่


10. สาขาการสร้างสรรค์และออกแบบสื่อ/การออกแบบสื่อสารออนไลน์ 
สาขานี้คือการรวมศาสตร์ที่สำคัญเอาไว้ 3 อย่างคือ การสื่อสาร การออกแบบ และการตลาด เป็นการเรียนเพื่อนำศาสตร์ทั้งหมดผสมผสานประยุกต์ออกแบบให้เป็นงานที่สื่อสารกับสังคมอย่างสร้างสรรค์ สามารถออกแบบการสื่อสารได้กับทุกรูปแบบการนำเสนอ ที่มีความรู้ความชำนาญรอบด้าน และสามารถทำงานเบ็ดเสร็จได้ทุกตำแหน่งในคนคนเดียว มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขานี้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยหอการค้า มหาวิทยาลัยศรีปทุม เป็นต้น ดูรายละเอียดสาขานี้เพิ่มเติมที่นี่
 

ข้อมูลคณะ/สาขาเพิ่มเติม :  Admission Planning
ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก : SPU