สอบเข้ามหาวิทยาลัย

รีวิว "Google Trips" แอพฯ จัดทริปโดนใจ สำหรับนักท่องเที่ยวยุคดิจิทัล!!

Google ได้ปล่อยแอพ Google Trip สำหรับช่วยอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวยุคดิจิทัล ให้สะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งแอพฯ นี้ เป็นอีกแอพฯ หนึ่งที่ได้ใช้ศักยภาพเด่นๆ ของทาง Google ได้อย่างเต็มที่เลย

เชื่อว่า นักท่องเที่ยวดิจิทัลหลายๆ คน น้อยคนนัก ที่จะไม่ใช้บริการของ Google ช่วยอำนวยความสะดวกในการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นใช้ Google Map ค้นหาเส้นทาง ช่วยเหลือในการเดินทาง หรือค้นหาที่พัก ร้านอาหารต่างๆ ตรวจสอบเวลาเปิด-ปิดร้าน หรือหาช่องทางติดต่อกับทางร้าน ซึ่ง Google Trip ที่เราจะแนะนำให้รู้จักกันนี้ สามารถทำได้ในสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ตรวจเส้นทางการเดินทาง หาสถานที่เที่ยว รวมทั้งรายละเอียด ช่องทางการติดต่อต่างๆ ลองไปดูหน้าตาของแอพฯ กันเลย 


เริ่มกำหนดจุดหมาย

 
Image Slider Arrow LeftImage Slider Arrow Right
1 / 5
 
Google Trips แอพฯ จัดทริปสำหรับนักท่องเที่ยวยุคดิจิทัล
Google Trips แอพฯ จัดทริปสำหรับนักท่องเที่ยวยุคดิจิทัล
Google Trips แอพฯ จัดทริปสำหรับนักท่องเที่ยวยุคดิจิทัล
 
 
 
 
 
 
 
 
Google Trips แอพฯ จัดทริปสำหรับนักท่องเที่ยวยุคดิจิทัล
 
 
 
 
 
 
 
 
Google Trips แอพฯ จัดทริปสำหรับนักท่องเที่ยวยุคดิจิทัล
 
 
 
 

เมื่อเปิดมาหน้าแรกของแอพ Google Trips หลังจากการติดตั้งแล้ว เราต้องเริ่มกำหนดเป้าหมายของการจัดทริปในครั้งนี้ก่อน โดยแอพฯ จะแบ่งหมวดหมู่เป็นสถานที่เที่ยวต่างๆ เช่น กรุงเทพฯ, อยุธยา, พัทยา, หัวหิน, เกาะพงัน เป็นต้น ซึ่งภาษาสำหรับใช้งานหรือการค้นหานั้น จะเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด รวมทั้งในตอนนี้แอพฯ จะไม่มีการหาคำศัพท์ที่ใกล้เคียงเมื่อเราพิมพ์ไม่ถูกเหมือนกับตัว Search Engine บนเว็บไซต์ ทำให้ใช้งานได้ยากพอดูสำหรับส่วนนี้


เพิ่มรายการเที่ยวลงในทริป

Google Trips แอพฯ จัดทริปสำหรับนักท่องเที่ยวยุคดิจิทัล

เมื่อกำหนดสถานที่เรียบร้อยแล้ว ก็เข้ามาเพิ่มรายละเอียดของทริปกัน โดยเมนูต่างๆ จะแบ่งออกเป็น Reservations, Things to do, Food & Drink และ Saved places ซึ่งรายละเอียดของแต่ละเมนูมีดังนี้


Reservation (ข้อมูลที่พัก ตั๋วเดินทาง)

Google Trips แอพฯ จัดทริปสำหรับนักท่องเที่ยวยุคดิจิทัล

ในส่วนของ Reservation ตัวแอพฯ จะดึงข้อมูลของเราจาก Gmail เมื่อเราได้จองตั๋วโดยสารต่างๆ หรือที่พัก รายละเอียดต่างๆ จะมาปรากฏในหน้านี้


Things to do และ Food & Drink

Google Trips แอพฯ จัดทริปสำหรับนักท่องเที่ยวยุคดิจิทัล  Google Trips แอพฯ จัดทริปสำหรับนักท่องเที่ยวยุคดิจิทัล

สำหรับ Things to do กับ Food & Drink จะเป็นเมนูที่มีหน้าที่เหมือนกันก็คือ การหากิจกรรมให้กับทริปเที่ยว โดย Things to do จะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวหรือกิจกรรมต่างๆ มีการแบ่งหมวดให้ค้นหาได้อย่างสะดวก ทั้งแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม, กิจกรรมที่เหมาะกับคุณ, กิจกรรมกลางแจ้ง ฯลฯ ส่วน Food & Drink จะแบ่งออกเป็นร้านอาหาร คาเฟ่ บาร์และผับ

Google Trips แอพฯ จัดทริปสำหรับนักท่องเที่ยวยุคดิจิทัล  Google Trips แอพฯ จัดทริปสำหรับนักท่องเที่ยวยุคดิจิทัล

เมื่อกดเข้าไปแต่ละสถานที่ จะมีรายละเอียดแสดงให้ดูกัน ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งของสถานที่นั้นๆ ช่องทางการติดต่อต่างๆ เวลาเปิด-ปิดของร้าน (อ้างอิงตามข้อมูลบน Google) รวมทั้งเรตติ้งคะแนน และรีวิวจากลูกค้าทั่วไป หากต้องการตั้งให้สถานที่นั้นๆ อยู่ในทริป ก็สามารถกดที่รูปดาวด้านหลังชื่อสถานที่ เพื่อทำการบันทึก (Saved Places) ได้เลย


Saved places

Google Trips แอพฯ จัดทริปสำหรับนักท่องเที่ยวยุคดิจิทัล  Google Trips แอพฯ จัดทริปสำหรับนักท่องเที่ยวยุคดิจิทัล

เมนูนี้ จะเป็นการรวบรวมสถานที่ต่างๆ ที่เราได้ติดดาวเพื่อบันทึกเอาไว้ โดยสามารถดูในรูปแบบของ Google Maps รวมทั้งนำทางไปยังแอพ Google Maps เพื่อค้นหาเส้นทางไปยังที่ต่างๆ ได้


ใช้งานแบบ Offline

Google Trips แอพฯ จัดทริปสำหรับนักท่องเที่ยวยุคดิจิทัล  Google Trips แอพฯ จัดทริปสำหรับนักท่องเที่ยวยุคดิจิทัล

อีกหนึ่งฟีเจอร์สำคัญสำหรับนักท่องเที่ยวที่ขาดไม่ได้ เมื่อไปเที่ยวในสถานที่ที่ไม่มีอินเทอร์เน็ต หรือเน็ตไม่เสถียร ทำให้หาข้อมูลที่เตรียมไว้ไม่ได้ ซึ่งแอพ Google Trips ก็มีความสามารถในการดาวน์โหลดข้อมูลที่หาไว้ เก็บไว้บนสมาร์ทโฟนให้สามารถใช้งานแบบ Offline ได้อีกด้วย ซึ่งสามารถทำได้โดยกดปุ่มสวิตซ์ในหน้าแรกของทริปที่สร้างไว้ เพื่อทำการดาวน์โหลดข้อมูล

โดยรวมๆ แล้วแอพ Google Trip เป็นการนำฟีเจอร์ต่างๆ ของ Google มารวมไว้อยู่ในแอพฯ ให้นักท่องเที่ยวสามารถใช้งานได้สะดวกมากขึ้น จึงไม่มีฟีเจอร์อะไรที่หวือหวาสำหรับคนที่เคยใช้งานบริการของ Google ในการท่องเที่ยวกัน แต่ก็ทำให้สะดวกในการวางแพลนท่องเที่ยวขึ้นเยอะ ข้อเสียก็คือฐานข้อมูลของ Google ที่ยังไม่ค่อยครบถ้วน บางสถานที่ยังมีรายละเอียดการติดต่อไม่ครบ รวมทั้งการใช้งานภายในแอพฯ ยังรองรับเพียงภาษาอังกฤษเท่านั้น จึงใช้งานได้ยากสักหน่อย แต่คาดว่าอนาคตน่าจะมีการพัฒนาที่ดียิ่งขึ้น

ที่มา : http://review.thaiware.com/1070.html