หน้าแรก เรียนธุรกิจดิจิทัล อาชีพในอนาคต

ปี 2568 หุ่นยนต์แย่งงานคน 30% แนะเด็กไทยเร่งพัฒนาทักษะ

วันที่เวลาโพส 19 มีนาคม 61 12:38 น.
อ่านแล้ว 0
P' แพว AdmissionPremium
ไม่ว่าจะผ่านมากี่ปีกี่ยุค มีการปรับรูปแบบการเรียนการสอบบ่อยแค่ไหน การศึกษาของประเทศไทยก็ดูเหมือนยังเผชิญกับปัญหาและปราศจากผลตอบรับที่มีคุณภาพ เห็นได้จากข้อมูลของ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ที่เปิดเผยว่า

จากการทดสอบเด็กไทยอายุ 15 ปี พบว่า 50% อ่านหนังสือแล้วตีความไม่ได้ 53% ใช้คณิตศาสตร์พื้นฐานไม่ได้ และกว่า 47% ไม่มีความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ จึงต้องผลักดันให้เกิดหน่วยงานภาคีเพื่อการศึกษาไทย โดยเสนอแนวคิด "พื้นที่การศึกษาพิเศษ" หรือ "แซนด์บอกซ์" สำหรับการศึกษาร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการทดลองปฏิรูปการเรียนแบบใหม่ 


ขณะที่ ผู้จัดการกองทุน 500 Tuktuks กล่าวว่า ปี 2561-2563 อยู่ในยุคปัญญาประดิษฐ์ (AI) และหุ่นยนต์ เทคโนโลยีเติบโตแบบก้าวกระโดด ในขณะที่มนุษย์ยังปรับตัวแบบเส้นตรง คาดว่าในปี 2568 กว่า 30% ของงานจะแทนด้วยหุ่นยนต์ และอีก 12 ปี 90% จะทรานส์ฟอร์ม และ 47% ของการจ้างงานจะหายไป

ซึ่งสิ่งที่จะช่วยให้คนสามารถเปลี่ยนปรับเพื่อพร้อมรับกับอนาคตได้ดีที่สุดคือ “การศึกษา” ในอนาคตทักษะของมนุษย์ที่จะช่วยให้เอาตัวรอดได้จะเปลี่ยนทุกปี จากเดิมที่จะเปลี่ยนทุกๆ 5 ปี ทำให้ทักษะกว่า 35% ต้องเรียนรู้ใหม่ ดังนั้น การลงทุนขององค์กรที่ดีที่สุดคือ รีสกิลพนักงาน 

พร้อมกันนี้ยังมีความเห็นจาก เจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจ TCP กล่าวว่า "ทุกธุรกิจอยู่ในยุคดิสรัปชั่น (Disruption) จึงต้องเน้นพัฒนาคนในองค์กร โดยส่วนตัวมองว่าไทยมีความเหลื่อมล้ำทางรายได้เพราะความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ต้องทำให้คนไทยเข้าถึงการศึกษาที่ดีมีคุณภาพ ไม่น่าเบื่อ เรียนรู้ได้ตลอดเวลาในทุกเรื่องที่อยากรู้ ปัจจุบันการทำธุรกิจใช้เทคโนโลยีในการขับเคลื่อนข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลจึงสำคัญมาก ต้องรีสกิลใหม่ และต้องเรียนรู้ให้เร็ว ความรู้บางอย่างไม่มีในมหาวิทยาลัยต้องปูพื้นฐานเด็กไทยให้แข่งขันได้ในอนาคต"

ตัวเลขตลาดการศึกษาโลกมีมูลค่าถึง 1.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนการเรียนออนไลน์มีมูลค่า 6.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งมีการลงทุนสำหรับ EdTech กว่า 1 แสนล้านบาท ขณะที่สตาร์ตอัพไทยโตกว่า 100% แต่ยังขาดบุคลากรด้านเทคโนโลยี


จะเห็นได้ว่าหลายภาคส่วนทั้งภาคการศึกษาและภาคธุรกิจมีความร่วมมือกันเพื่อพัฒนาคนให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เช่น “กูเกิล” ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสร้างหลักสูตรให้คนที่เรียนและสอบผ่านเข้าทำงานกับบริษัทได้ทันที อีกโมเดลคือ ไมโครสกูลเรียนเป็นโปรเจ็กต์ หรือธนาคารกสิกรไทยมีการเตรียมพัฒนาคน โดยร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สร้าง CU Innovation District เพื่อรีสกิลพนักงานของธนาคาร

ดีแทค แอคเซอเลอเรท เตรียมจัดงาน Education Disruption Conference and Hackathon 2018 เพื่อสร้างนวัตกรรมผ่าน EdTech Startups “ปัญหาสตาร์ตอัพ EdTech ไทยคือ ไม่เห็นตัวอย่างที่สำเร็จ ทุกคนเลยทำสิ่งที่เป็นกระเเส เช่น ฟินเทค ซึ่งเรามองว่าฟินเทรนด์ฟินเทคกำลังตก”


ที่มา :  www.prachachat.net


 

คนอื่นๆอ่านเรื่องนี้ แล้วมักจะอ่านเรื่องต่อไปนี้ต่อ

หมวด