หน้าแรก เรียนธุรกิจดิจิทัล อาชีพในอนาคต

ไปให้สุด อย่าหยุดแค่เล่นๆ กับ 6 อาชีพสุดเจ๋งที่ทำได้ หลังเรียนจบสาขา E-Sport

วันที่เวลาโพส 28 มิถุนายน 60 17:55 น.
อ่านแล้ว 0
P' แพว AdmissionPremium

เมื่อโลกเราเดินมาถึงยุคดิจิทัล “เกม” จึงไม่ใช่แค่เรื่องไร้สาระของเด็กๆ อีกต่อไป และ “กีฬาอิเลคทรอนิกส์” หรือ E-Sport (Electronic Sports) ที่คนทั่วโลกต่างยอมรับและเห็นมูลค่าของเรื่องเล่นๆ นี้ ซึ่งจะถูกบรรจุลงใน การแข่งขัน Asian Games 2022 ที่เมืองหางโจว ประเทศจีนในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ และในที่สุด วันที่ 27 ก.ค. 2560 การประชุมคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ได้เห็นชอบประกาศให้ E-Sport เป็นชนิดกีฬาที่สามารถจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกีฬาได้ และเปิดโอกาสให้เยาวชนที่มีความสามารถได้เข้าแข่งขันในเวทีระดับนานาชาติในนามของประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อย 


โดย กีฬา E-Sport ในประเทศไทย เริ่มจากการจัดแข่งขันเกมขึ้นเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว หลังจากนั้นก็มาถึงยุคแรกของการแข่งขันแบบจริงจังของเกมเคาเตอร์สไตร์ค จนมีทีมชาติไทยเกิดขึ้นจริงจังและสามารถคว้าแชมป์โลกที่เกาหลีใต้ได้ถึง 3 สมัย และด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาก ทำให้ปัจจุบัน E-Sport เริ่มได้รับการยอมรับและนักกีฬาอีสปอร์ตมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการแข่งขันที่ดีมากขึ้น สามารถดึงประสิทธิภาพของนักกีฬาออกมาได้สูง ทำให้ผู้คนในสังคมไทยได้เห็นถึงคุณค่าและมูลค่า เพื่อให้เป็นที่ยอมรับว่า E-Sport ก็เป็นกีฬาชนิดหนึ่ง
 
และจากข้อมูลล่าสุดของ Olympic Council of Asia (OCA) ที่ประกาศว่า ตลาดเกมในตลาดโลกมีมูลค่ากว่า 90,000 ล้านบาท สำหรับในประเทศไทยมีมูลค่าอยู่ที่ 9,000 ล้านบาท เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 5-15% ในทุกๆ ปี โดยเฉพาะ Mobile Game ยังเติบโตได้อย่างดีและต่อเนื่อง ส่วนตลาดเกม PC และ Notebookก็ยังเป็นตลาดที่มีความต้องการอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ส่งผลให้เติบโตเฉลี่ยปีละกว่า 12 -15%


ด้านภาคการศึกษาเองก็มีการส่งเสริมในส่วนนี้มากขึ้นเช่นกัน โดย อาจารย์บัญญพนต์ พูลสวัสดิ์ หัวหน้าหลักสูตรการออกแบบเชิงโต้ตอบและการพัฒนาเกม วิทยาลัยครีเอทีฟดีไซน์ แอนด์ เอนเทอร์เทนเมนต์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ พูดถึงการศึกษาด้านพัฒนาเกมว่า 

ตอนนี้ทางคณะเปิดสอนสาขาออกแบบเกมและพัฒนาเกม ซึ่งกำลังจะเปิดตัวคณะใหม่ คือ คณะ E-Sport ด้วยเทรนด์ของกีฬาชนิดนี้กำลังมาแรง และเป็นการส่งเสริมนักกีฬา E-Sport ที่ต้องใช้เวลาการซ้อมก่อนการแข่งขันที่แน่นอน ไม่ต่างจากนักกีฬาทั่วไปที่ไม่ได้ซ้อมและแข่งทั้งวันต้องมีเวลาส่วนตัวเช่นกัน ทั้งยังนำองค์กรภายนอกที่เกี่ยวข้องกับ E-Sport มาจัดระบบการเรียนการสอนร่วมกันเทื่อให้ตอบโจทย์กับผู้เรียนมากที่สุด และทางมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ยังมีการจัดการแข่งขันภายในมหาวิทยาลัยที่นำเกม LOL หรือ League of Legends เข้ามาเป็นเกมในการแข่ง โดยรางวัลเป็นทุนการศึกษามูลกว่า 1 ล้านบาท เป็นการส่งเสริมเยาวชนที่สนใจศึกษาต่อด้านนี้โดยเฉพาะและให้ผู้ใหญ่มองว่าต่อไปการเล่นเกมก็สามารถสร้างอาชีพได้  
 
และนี่คือ สายอาชีพที่เหล่าเกมเมอร์หรือน้องๆ เยาวชนจะสามารถทำได้หลังเรียนจบคณะ E-Sport
 

 
ที่มา :

คนอื่นๆอ่านเรื่องนี้ แล้วมักจะอ่านเรื่องต่อไปนี้ต่อ

หมวด