หน้าแรก เรียนธุรกิจดิจิทัล ข่าว/บทความ

องค์กรรู้ทัน ตอบโจทย์คนทำงานรุ่นใหม่ เตรียมรับมือรูปแบบการทำงานในอนาคต

วันที่เวลาโพส 17 กุมภาพันธ์ 60 16:04 น.
อ่านแล้ว 0
P' แพว AdmissionPremium

ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างทางสังคมกำลังส่งผลอย่างยิ่งต่อการทำงานในอนาคต และนำมาซึ่งกระแสที่เรามักจะได้ยินกันบ่อยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อย่างเช่น แนวคิดการขยายอายุเกษียณ การนำหุ่นยนต์หรือระบบอัตโนมัติมาใช้แทนแรงงานระดับพื้นฐาน การกำหนดช่วงเวลาและวิธีการทำงานให้มีความยืดหยุ่น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนสร้างความท้าทายให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนในการเตรียมรับมือกับคลื่นแห่งการเปลี่ยนแปลง และในบทความนี้ จะนำเสนอแนวคิดสำคัญที่องค์กรต่างๆ ที่รู้ทันและตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนทำงานรุ่นใหม่ ทำให้ผู้บริหารหรือองค์กรสามารถนำไปปรับใช้ในการบริหารจัดการกำลังคนได้อย่างเหมาะสมในอนาคต ดังนี้


UploadImage
1. ผลิตคนให้เหมาะกับงาน
การทำงานยุคใหม่ต้องการบุคลากรที่มีทักษะเฉพาะทางมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากที่หลายองค์กรทั้งรัฐและเอกชนส่งเสริมโครงการที่ดึงคนมีความรู้ความสามารถเข้าสู่องค์กรตั้งแต่เพิ่งจบการศึกษา เพื่อนำมาพัฒนาศักยภาพให้ตรงกับความต้องการขององค์กรและเรียนรู้ระบบการทำงานจริง เพื่อเตรียมขึ้นเป็นผู้บริหารหรือนักพัฒนาขององค์กรต่อไป
 
2. การโค้ชพนักงานรุ่นใหม่โดยผู้บริหารอาวุโส
การฝึกฝนและสร้างพนักงานรุ่นใหม่โดยผู้บริหารอาวุโส คือวิธีการที่หลายองค์กรชั้นนำในปัจจุบันนำมาใช้ นอกจากนี้ ทั้งภาครัฐและเอกชนควรร่วมมือสร้างสรรค์ “วัฒนธรรมสตาร์ทอัพ” (Startup Culture) ให้เกิดขึ้นอย่างเข้มแข็งในพื้นที่ต่างๆ โดยการใช้เครื่องมือและมาตรการทางกฎหมายในการช่วยอำนวยความสะดวกและลดอุปสรรคในการจัดตั้งและขยายขนาดบริษัทรูปแบบดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็น มาตรการทางภาษี การจัดโครงการบ่มเพาะธุรกิจ ที่ปรึกษา แหล่งเงินทุน ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เพราะถือว่า สตาร์ทอัพ คือเครื่องมือหนึ่งของการบรรลุเป้าหมายเศรษฐกิจสร้างสรรค์

UploadImage
3. รักษาคนเก่งให้อยู่กับองค์กร
การรักษาบุคลากรที่มีศักยภาพให้อยู่กับองค์กรไปนานๆ คือความท้าทายที่องค์กรทุกระดับกำลังเผชิญ และกรณีศึกษาที่น่าสนใจจาก “Google” ที่มีอัตราการลาออกของพนักงานต่ำและได้รับการจัดอันดับให้เป็นองค์กรที่น่าทำงานด้วยที่สุดในโลก กูเกิลมีพนักงานกว่าห้าหมื่นคน หลายสัญชาติ หลากวัฒนธรรมจากทั่วโลก ซึ่งกุญแจสำคัญที่กูเกิลใช้ในการซื้อใจพนักงาน ไม่ใช่อัตราเงินเดือนที่สูงลิ่ว แต่เป็นการมีวัฒนธรรมองค์กรที่ชัดเจน เป็นเอกภาพ มีการสื่อสารที่ดี พนักงานแต่ละคนได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม สถานที่ทำงานและสภาพแวดล้อมมีความเอื้ออำนวยให้ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนมีการสนับสนุนอาชีพและกิจกรรมที่หลากหลาย และชั่วโมงการทำงานที่ยืดหยุ่น

4. นำกลยุทธ์ด้านดิจิทัล มาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร
การทำความเข้าใจและนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้กับการดำเนินงานขององค์กรอย่างเหมาะสมมีความสำคัญไม่แพ้การมีบุคลากรที่มีศักยภาพ เพราะถือว่าในยุคนี้ เรากำลังเผชิญกับยุคแห่งข้อมูลข่าวสารที่ท่วมท้นและไหลเวียนอยู่จำนวนมหาศาล ดังนั้น องค์กรควรจะหาวิธีจัดการข้อมูลนั้นให้เกิดประโยชน์ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า พยากรณ์แนวโน้มทิศทางการจัดทำกลยุทธ์การตลาดและการบริการลูกค้าได้อย่างมีชั้นเชิง ซึ่งปัจจัยเดียวที่จะทำให้องค์กรเข้าถึงความต้องการและเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าได้ นั่นก็คือ การเข้าใจข้อมูล หรือ “รอยเท้าดิจิทัล” (Digital Footprint) ที่ลูกค้าทิ้งเอาไว้นั่นเอง


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.marketingoops.com
 

คนอื่นๆอ่านเรื่องนี้ แล้วมักจะอ่านเรื่องต่อไปนี้ต่อ

หมวด