เมนู
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
หน้าแรก
สอบเข้า
ม.ปลายติวฟรี
PRETCAS
BoostUP
รีวิวมหาวิทยาลัย
คณะแนะนำ
เรียนต่อ ป.โท
สำหรับคุณครู
กลับเมนูหลัก
ข่าว TCAS
ข่าวมหาวิทยาลัย
SchoolOntour
เล่าเรื่องรุ่นพี่ที่ 1
ค้นหาเปิดรับ TCAS/รับตรง
แคมป์/ค่าย Camp
วางแผนอนาคต Admission Planning
สำรวจอาชีพ Career Explore
สร้างพอร์ต Admission Portfolio
ถามตอบ AdmissionQ
บทความ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม
กลับเมนูหลัก
โปรแกรม U-Review
วีดีโอ U-Review
บทความ U-Review
แนะนำหลักสูตร U-Infographic
รวมค่าเทอม ม. ทั่วประเทศ U-life
จัดอันดับมหาวิทยาลัย
กลับเมนูหลัก
เรียนต่อต่างประเทศ
เรียนอินเตอร์
เรียนไอที
เรียนการบิน
เรียนบัญชี
เรียนนิเทศฯ
เรียนธุรกิจดิจิทัล
เรียนกีฬา
เรียนเป็นผู้ประกอบการ
เรียนการโรงแรม และการท่องเที่ยว
เรียนภาษาเพื่อธุรกิจ
โลจิสติกส์
เรือสำราญ
ดิจิทัลมีเดีย
สถาปัตยกรรมศาสตร์
วิศวกรรมศาสตร์
กลับเมนูหลัก
รีวิวหลักสูตร ป.โท
ข่าวบทความ ป.โท
แนะนำหลักสูตร U-Infographic
กลับเมนูหลัก
GIS ระบบงานแนะแนว 4.0
AdmissionPlanning สำหรับคุณครู
รายงาน Portfolio สำหรับคุณครู
สไลด์แนะแนวอาชีพ
ระเบียนนักเรียน
แบบประเมิน SDQ
แบบทดสอบ EQ
แบบทดสอบบุคลิกภาพ
ข้อมูลคณะสาขา
ข้อมูลอาชีพ
กลับเมนูหลัก
เรียนออนไลน์ U-Course
สมาชิก Gold
กลับเมนูหลัก
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 65
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 64
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 63
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 62
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 61
หน้าแรก
สอบเข้า
หลักสูตรแนะนำ
ข่าว TCAS
ข่าวมหาวิทยาลัย
SchoolOntour
เล่าเรื่องรุ่นพี่ที่ 1
รับตรงที่ไม่อยู่ใน TCAS
ค้นหาเปิดรับ TCAS/รับตรง
แคมป์/ค่าย Camp
วางแผนอนาคต Admission Planning
สำรวจอาชีพ Career Explore
สร้างพอร์ต Admission Portfolio
ถามตอบ AdmissionQ
บทความ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม
ม.ปลายติวฟรี
PRETCAS
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 65
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 64
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 63
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 62
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 61
BoostUP
รีวิวมหาวิทยาลัย
โปรแกรม U-Review
วีดีโอ U-Review
บทความ U-Review
แนะนำหลักสูตร U-Infographic
รวมค่าเทอม ม. ทั่วประเทศ U-life
จัดอันดับมหาวิทยาลัย
คณะแนะนำ
เรียนต่อ ป.โท
รีวิวหลักสูตร ป.โท
ข่าวบทความ ป.โท
แนะนำหลักสูตร U-Infographic
สำหรับคุณครู
GIS ระบบงานแนะแนว 4.0
AdmissionPlanning สำหรับคุณครู
รายงาน Portfolio สำหรับคุณครู
สไลด์แนะแนวอาชีพ
ข้อมูลคณะสาขา
ข้อมูลอาชีพ
เทคนิคและสื่อการสอน
คอร์สฟรี
เรียนออนไลน์ U-Course
สมาชิก Gold
สอบเข้ามหาวิทยาลัย
ข่าว TCAS
ค้นหาเปิดรับ TCAS/รับตรง
แคมป์/ค่าย
บทความ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม
โปรแกรมวางแผนอนาคต
โปรแกรมสร้างพอร์ตโฟลิโอ
โปรแกรมแอดมิชชัน
Previous
Next
Previous
Next
เขาเรียนอะไรกันบ้าง ในวิทยาศาสตร์ข้อมูล
แจ้งลบ
บันทึกเก็บไว้ใน List
วันที่เวลาโพส
09 พ.ค. 59 02:37 น.
09 พ.ค. 59 02:37 น.
อ่านแล้ว
483
จำนวน
แชร์
สิ่งสำคัญของวิทยาศาสตร์ข้อมูล คือ ผลลัพธ์สุดท้าย ซึ่งเป็นสิ่งที่ท่านค้นพบ จะมีประโยชน์ต่อท่าน ต่อองค์กรของท่าน หรือต่อสังคมมากเพียงใด ก็ขึ้นกับทักษะ ประสบการณ์ และการฝึกฝน
ในภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรามีการพูดคุยกันถึงคำว่าวิทยาศาสตร์ข้อมูลกันมาเรื่อย ๆ แถมพูดกันบ่อย ๆ จนในท้ายที่สุด ก็เกิดเป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์) ที่ภาควิชาครับ http://www.cp.eng.chula.ac.th/future/graduate/master- computerscience ตลอดช่วงปีที่ผ่านมา เรามีการประชุมร่วมกับคณะอื่น ๆ ในจุฬาฯ ภาคเอกชน รวมถึงมหาวิทยาลัยอื่น ๆ หลายรอบทีเดียวครับ ไม่เพียงเท่านั้น ความร่วมมือในการทำวิจัยและ “ผลลัพธ์” บางอย่างที่น่าสนใจก็เกิดขึ้นบ้างแล้ว (ก่อนหน้านี้ผมเคยเล่าถึงผลการวิเคราะห์ข้อมูลการโซเชียลเน็ตเวิร์กไปแล้ว)
หลังจากที่เราพยายามเรียนรู้จากการทำงานกับหลาย ๆ ฝ่าย ตอนนี้ก็ถึงช่วงที่กำลังนำกระบวนการทำงานที่เกิดประโยชน์เหล่านี้ กลับมาถ่ายทอดในรูปแบบทางวิชาการที่เราถนัดครับ จึงถึงเวลาที่จำเป็นต้องไปศึกษาอย่างละเอียดว่า การเรียนการสอนที่หลายสถาบันในต่างประเทศเตรียมไว้เพื่อสร้างนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล เขาสอนอะไรกันบ้าง
เริ่มจากที่มหาวิทยาลัยอันดับต้น ๆ อย่างเบิร์กลีย์ (UC Berkely) ซึ่ง School of Information ได้เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตร์ข้อมูลในระดับปริญญาโท โดยวิชาที่ต้องเรียน 9 วิชา 27 หน่วยกิต เป็นวิชาพื้นฐาน 5 วิชา ประกอบไปด้วย การออกแบบวิจัยและการประยุกต์ใช้ข้อมูลและการวิเคราะห์ ท่องโลกข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล การเก็บและเข้าถึงข้อมูล การเรียนรู้ของเครื่องประยุกต์ การแสดงข้อมูลและการสื่อสารเกี่ยวกับข้อมูล มีวิชาชั้นสูง 3 วิชา ให้เลือกจาก 5 วิชา ซึ่ง 5 วิชานี้ประกอบด้วย การทดลองและการอนุมานเหตุ การใช้ข้อมูลและคุณค่าของข้อมูล ข้อมูลขนาดใหญ่ การถดถอยประยุกต์และการวิเคราะห์ข้อมูลอนุกรมเวลา การเรียนรู้ของเครื่องบนข้อมูลขนาดใหญ่ ส่วนอีกหนึ่งวิชาเป็นแนวการทำโครงการเพื่อรวบรวมความรู้ ความคิด (เหมือนโครงการสำหรับการจบการศึกษาของน้อง ๆ ปริญญาตรี)
ในขณะที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียให้ความสำคัญกับวิทยาศาสตร์ข้อมูล ถึงขนาดเปิดเป็นสถาบันวิทยาศาสตร์ข้อมูล (http:// datascience.columbia.edu) และเปิดสอนหลักสูตรปริญญาโทเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ข้อมูลในสถาบันนี้ โดยเปิดในแนวทางคล้าย ๆ กับเบิร์กลีย์ แต่จะแตกต่างตรงที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย จะเพิ่มเนื้อหาทางด้านสถิติเข้ามาด้วย เหมือนเป็นจุดแข็งอีกทางหนึ่ง โดยมีเรียนทั้งความน่าจะเป็น สถิติ การวิเคราะห์ข้อมูล การสร้างแบบจำลองทางสถิติ ส่วนวิชาที่คล้าย ๆ กันกับทางเบิร์กลีย์ ก็มีอย่างระบบคอมพิวเตอร์สำหรับวิทยาศาสตร์ข้อมูล การเรียนรู้ของเครื่องสำหรับวิทยาศาสตร์ข้อมูล อัลกอริทึมสำหรับวิทยาศาสตร์ข้อมูล เป็นต้นครับ
ผมหยิบตัวอย่างการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลมาให้ท่านผู้อ่านลองดูสองที่ ซึ่งถึงตรงนี้หลายท่านคงพอวาดภาพการเรียนทางด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลได้บ้างแล้วนะครับ ว่าเมื่อจบหลักสูตรประมาณเกือบสองปี เราจะได้นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลที่มีความสามารถในแบบใด
สำหรับท่านที่สนใจ ก็ลองหาหลักสูตรที่เหมาะสมกับท่านเอง และที่สำคัญ เหมาะกับข้อมูลและการนำข้อมูลของท่านไปใช้ ข้อมูลบางแบบ อาจต้องเน้นทางสถิติ ข้อมูลบางแบบ อาจต้องเป็นการเรียนรู้ของเครื่อง ในขณะที่ข้อมูลหลายอย่าง อาจต้องเริ่มเน้นที่กระบวนการเก็บข้อมูล และการแสดงข้อมูล เพื่อให้มนุษย์เข้าไปช่วยกำหนดทิศทางการวิเคราะห์ต่อไป
สิ่งสำคัญของวิทยาศาสตร์ข้อมูล คือ ผลลัพธ์สุดท้าย ซึ่งเป็นสิ่งที่ท่านค้นพบ จะมีประโยชน์ต่อท่าน ต่อองค์กรของท่าน หรือต่อสังคมมากเพียงใด ก็ขึ้นกับทักษะ ประสบการณ์ และการฝึกฝน รวมถึงการทำงานร่วมกันเป็นทีม ซึ่งฝั่งหนึ่งฝั่งใด (ฝั่งเจ้าของข้อมูลและฝั่งเจ้าของเทคนิค) ไม่สามารถทำงานให้สำเร็จได้โดยลำพัง หวังว่าท่านผู้อ่านที่กำลังสนใจเรื่องวิทยาศาสตร์ข้อมูล คงมองเห็นภาพชัดขึ้นอีกเล็กน้อยนะครับ สำหรับท่านที่สนใจ และไม่อยากไปเรียนที่ต่างประเทศ ไว้ทางภาควิชาฯ (ซึ่งแน่นอนว่า เราร่วมมือกับหลาย ๆ ฝ่าย) เปิดหลักสูตรเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ข้อมูลเมื่อใด ผมจะรีบมาเล่าให้ทุกท่านได้ฟังครับ.
สุกรี สินธุภิญโญ ( sukree.s@chula.ac.th ) ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ที่มา : เดลินิวส์ออนไลน์
เขาเรียนอะไรกันบ้าง ในวิทยาศาสตร์ข้อมูล
วิทยาศาสตร์ข้อมูล
นักศึกษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิศวกรรมศาสตร์
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
จำนวน
แชร์
อ่านแล้ว
483
ตั้งกระทู้ใหม่
แจ้งลบ
คนอื่น ๆ อ่านเรื่องนี้ แล้วมักจะอ่านเรื่องต่อไปนี้ต่อ
เรียนหมอเอกชน ต้องใช้เงินเท่าไหร่? เปิดค่าเทอม แพทย์ เภสัช ทันตะ สัตวะ ม.เอกชน เช็กเลย!
105
เปิดโผ ที่สุดของปี!! การจัดอันดับ 10 มหาวิทยาลัยไทย ปี 2567 โดย Webometrics ม.ไหนครองแชมป์?
3K
ฐานเงินเดือนเริ่มต้น สำหรับสายงาน IT อ้างอิงจาก Adecco Salary Guide FY2016
3K
เตรียมอุดมฯ ปรับวิธีคัดเด็กโควตาปี 60
5K
Dek รุ่นไหนก็มาร่วมงานนี้ได้ ! วางแผนเตรียมตัว สู่รั้วมหาวิทยาลัย (รับจำนวนจำกัด)
5K
ถาม-ตอบ
ติดตามแฟนเพจ
ติดตาม TWITTER
ติวเจาะ A-Level ครบทุกวิชา สายแพทย์
บูสต์คะแนน 70 UP กับเคล็ดลับเพิ่มคะแนน A-Level แบบฉุดไม่อยู่
สาขาแนะนำ ตามคำเรียกร้อง
น่าเรียน มีที่ไหน เน้นอะไร มาดูกัน!!
TCASPortfolio ต้อนรับปี 2024
ใช้งานฟรี! ไปเลย...
ติวสอบติดหมอ ครบทั้ง 3 พาร์ท
พาร์ทเชาว์ พาร์ทจริยธรรม พาร์ทเชื่อมโยง โดยอันดับ1 กสพท ของประเทศ
ยื่นพอร์ตปุ๊ป สัมภาษณ์ปั๊บ
สมัครออนไลน์ได้เลย!!!
นับถอยหลัง ม.5 !! สอบติดหมอ ไม่ยาก
ติวเข้มข้น ครบทุกวิชา ที่ใช้ในการสอบติด แพทย์ กสพท
×
Close