สอบเข้ามหาวิทยาลัย

คณะที่ต้องการในอนาคต ! ม.สยามเสิร์ฟแบบจัดเต็ม! เปิดรับ TCAS68 "คณะทัศนมาตรศาสตร์" รอบรับตรง 40 ที่นั่ง สมัครตั้งแต่วันนี้- 13 มี.ค.68 !

   คณะที่ต้องการในอนาคต ! ม.สยามเสิร์ฟแบบจัดเต็ม! เปิดรับ TCAS68 "คณะทัศนมาตรศาสตร์" รอบรับตรง 40 ที่นั่ง สมัครตั้งแต่วันนี้- 13 มี.ค.68 !
   
       ม.สยามมาแล้ว! สำหรับน้องๆ ที่สนใจศึกษาต่อในคณะทัศนมาตรศาสตร์ โอกาสดีมาถึงแล้ว เพราะรอบรับตรง #TCAS68 เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้จนถึง 13 มี.ค. 68 รายละเอียดไปดูกัน
 





   ชื่อหลักสูตร


    หลักสูตรทัศนมาตรศาสตรบัณฑิต (ทศ.บ.)
    Doctor of Optometry Program (O.D.)


 จุดเด่นของหลักสูตร
  1. หลักสูตรทัศนมาตรศาสตรบัณฑิตเป็นหลักสูตรแรกและหลักสูตรเดียวในประเทศไทยที่มุ่งเน้นให้ผู้สำเร็จการศึกษาเป็นผู้ประกอบการทางทัศนมาตร โดยเน้นการพัฒนาทักษะด้านวิชาชีพควบคู่ไปกับกับการเป็นผู้ประกอบการเพื่อดำเนินธุรกิจทางทัศนมาตร
  2. มีความร่วมมือ (MOU) กับโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) และโรงพยาบาลจักษุบ้านแพ้วเพื่อเป็นแหล่งฝึกปฏิบัติทางคลินิกแก่นักศึกษา

   ระยะเวลาในการศึกษาและหน่วยกิต
    ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตร 6 ปี จำนวนหน่วยกิตรวม 202 หน่วยกิต
 
    หมอสายตาหรือนักทัศนมาตร เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง
  • ปีที่ 1-2 เรียนวิชาพื้นฐานทางวิชาชีพ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากคณะแพทย์ คณะเภสัช และคณะวิทย์ มหาวิทยาลัยสยามมาสอนในรายวิชาพื้นฐานทางวิชาชีพ
  • ปีที่ 3-4 เรียนวิชาชีพเฉพาะ ซึ่งจัดการเรียนการสอนโดยคณาจารย์จากคณะทัศนมาตรศาสตร์ และอาจารย์พิเศษจากโรงพยาบาลจักษุบ้านแพ้ว
  • ปีที่ 5 ฝึกปฏิบัติติงานภายใน ณ คลินิกทัศนมาตรศาสตร์ คณะทัศมาตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
  • ปีที่6 ฝึกงานปฏิบัติติงานภายนอก รอบที่ 1 ส่งฝึก ณ โรงพยาบาลจักษุบ้านแพ้ว และแผนกจักษุในโรงพยาบาลทั่วประเทศ รอบที่ 2 คลินิกสายหรือร้านแว่นตาที่มีนักทัศนมาตรประจำ และรอบที่ 3 ส่งฝึก ณ บริษัทเลนส์ชั้นนำในประเทศ
  • หลังจากจบการศึกษาตลอดหลักสูตร บัณฑิตจะต้องสอบใบประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์ จากกระทรวงสาธารณสุข
 
     บทบาทหน้าที่ของ หมอสายตาหรือนักทัศนมาตร
       ทำหน้าที่ ตรวจ วัด วินิจฉัย แก้ไขปัญหาด้านการมองเห็น ตลอดจนการป้องกันและการฟื้นฟูความผิดปกติโดยการใช้แว่นตา เลนส์สัมผัส หรือคอนแท็คเลนส์ และการฝึกการบริหารกล้ามเนื้อตา ซึ่งไม่รวมถึงการแก้ไขความผิดปกติทางระบบประสาทตาหรือโรคตาที่ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติจากการหักเหแสง การใช้ยา และการผ่าตัด
  
    ปรัชญาของหลักสูตร
       หลักสูตรทัศนมาตรศาสตรบัณฑิตมุ่งพัฒนาบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และทักษะทางวิชาการในสาขาทัศนมาตรศาสตร์ โดยเน้นการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่ยึดผู้เรียนมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ (active Learning) ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ทางปัญญา (Constructivism) เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ หรือสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นในตนเอง ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงผ่านสื่อหรือกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อนำสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ไปประมวลผลอย่างเป็นระบบ และนำไปวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประยุกต์ใช้ในการบริการด้านการตรวจวัดสายตา ประเมินสุขภาพตา ภาวะความผิดปกติของการมองเห็นได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม สร้างงานวิจัยหรือนวัตกรรมทางการแพทย์ รวมถึงการบริหารจัดการทางคลินิกทัศนมาตรศาสตร์ได้อย่างเป็นระบบ หลักสูตรยังเน้นพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบต่อสังคมและมีความพร้อมในการทำงานร่วมกับสหวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในระดับประเทศ
 
    วัตถุประสงค์ของหลักสูตร เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะดังนี้
  1. มีความรู้และทักษะทางทัศนมาตรศาสตร์
  2. มีแนวคิดสร้างงานวิจัยหรือนวัตกรรมทางทัศนมาตร
  3. มีแนวคิดการเป็นผู้ประกอบการทางทัศนมาตรศาสตร์
  4. มีทักษะการเรียนรู้ การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเหมาะสม
  5. มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
  
    ค่าเล่าเรียน
  • เหมาจ่ายเทอมละ 63,000 บาท รวมทั้งสิ้นตลอดหลักสูตร 792,300 บาท
  • มีทุนการศึกษา สำหรับนักศึกษาปี 2568 เท่านั้น ทุนยกเว้นค่าเทอมในเทอมสุดท้ายของหลักสูตร (๖๓,๐๐๐ บาท) คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์ได้รับทุนเป็นไปตามที่มหาวิทยาลัยสยามกำหนด
 
    อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา



 
  1. ทำงานในโรงพยาบาลรัฐและเอกชน คลินิกเฉพาะทาง ร้านแว่นตา หน้าที่การทำงาน เช่น ตรวจวัดสายตา วินิจฉัย และแก้ไขปัญหาสายตา สั่งจ่ายเลนส์สายตา เลนส์สัมผัส และอุปกรณ์ช่วยการมองเห็น ให้คำปรึกษา และดูแลสุขภาพดวงตา
  2. ทำงานในบริษัทเลนส์สายตา บริษัทคอนแทคเลนส์ บริษัทเครื่องมือแพทย์หรือเครื่องมือเฉพาะทางตา
  3. เป็นผู้ประกอบการธุรกิจร้านแว่นตา
  4. เป็นนักวิทยาศาสตร์หรือนักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษา สถาบันวิจัยและหน่วยงานต่าง ๆ
  5. เป็นอาจารย์หรือผู้ช่วยสอนในมหาวิทยาลัย
 
   การเปิดรับสมัคร TCAS 68 (รับนักศึกษาจำกัดเพียง ปีละ 40 คนเท่านั้น)
  1. รอบที่ 1 Portfolio รับสมัครตั้งแต่บัดนี้ จนถึง 9 มกราคม 2568
  2. รอบที่ 2 รับตรง    รับสมัครตั้งแต่ 9 กุมภาพันธ์ - 9 มีนาคม 2568
  3. รอบที่3 TCAS3.   รับสมัครตั้งแต่ 6-12 พฤษภาคม 2568
 
  คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา



 
  1. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการหรือเทียบเท่า และมหาวิทยาลัยพิจารณาแล้วเห็นสมควรรับเข้าศึกษา เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.50 สายวิทย์-คณิต หรือ สายศิลป์-คำนวณ
  2. ผ่านการคัดเลือกเข้าเป็นนักศึกษาตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยสยาม โดยผ่านการสอบรับตรง และ TCAS
  3. เป็นผู้ที่มีความประพฤติดี สุขภาพสมบูรณ์ สุขภาพจิตปกติ
  4. ไม่เคยต้องโทษจำคุก เว้นแต่ความผิดอันกระทำโดยประมาทหรือความผิดอันเป็นลหุโทษ
  5. ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรง หรือโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
  6. ไม่เป็นผู้พร่องการเห็นสี ในระดับรุนแรง ความสมบูรณ์ของการทำงานกล้ามเนื้อตา ความสามารถ ในการมองเห็นภาพสามมิติ และค่าความเห็นชัดเจนเป็นปกติ สามารถที่จะใช้ตาทั้งสองข้างรวมกันได้เป็นปกติ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่สถาบันการศึกษาประกาศกำหนดตามความเหมาะสม
 
   ช่องทางการสมัคร



 
  1. สมัครผ่านระบบออนไลน์ https://apply.siam.edu/
  2. สมัครด้วยตนเอง ณ ศูนย์รับสมัครนักศึกษาใหม่อาคาร 19 ชั้น 1 มหาวิทยาลัยสยาม
 
   สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
   ศูนย์รับสมัครนักศึกษาใหม่อาคาร 19 ชั้น 1 เปิด​วันจันทร์ - วันเสาร์ ​เวลา ​8.30-16.30 ​น.
   โทร: 02 686 6000 ต่อ 5306
   หรือที่เว็บไซต์ https://admission.siam.edu/
   Facebook: มหาวิทยาลัยสยาม Siam University