สอบเข้ามหาวิทยาลัย

7 เรื่องต้องรู้ ก่อนตัดสินใจเรียนสถาปัตยกรรมศาสตร์

น้องๆ คนไหนกำลังสนใจเรียนต่อในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ พี่ๆ AdmissionPremium ชวนมาคดูและเช็กตัวเองให้แน่ใจอีกครั้ง ว่าเราสนใจและเข้าใจคณะนี้มากพอไหม เรารู้เรื่องเกี่ยวกับคณะนี้พอที่จะตัดสินใจเรียนจริงๆ แล้วใช่ไหม กับ 7 เรื่องต้องรู้ก่อนตัดสินใจเรียน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มาเช็กกันไว้จะได้ไม่พลาดเสียใจทีหลังนะ
 


1 ศิลป์คำนวณ ศิลป์ภาษา ก็มีสิทธิ์สอบเข้าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บทความ อยากเข้าคณะสถาปัตย์ ต้องเรียนสายอะไร? 

2 บางมหาวิทยาลัยมีหลักสูตรแบบ 4 ปี และ 5 ปี 
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บทความ ไม่รู้ไม่ได้ สถาปัตย์ หลักสูตร 4 ปี และ 5 ปีต่างกันอย่างไร? 

3 คณะสถาปัตย์ มีสาขาย่อยอีก 5-6 สาขา บางสาขาจบมาทำงานต้องมี ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
บางสาขาจบมาทำงานต้องมี ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม หรือเรียกย่อว่า ก.ส. เป็นเอกสารรับรองของสถาปนิกในการออกแบบและเซ็นรับรองแบบ ที่รับรองโดยสภาสถาปนิก
ในปัจจุบันมีอยู่ 4 สาขาด้วยกันได้แก่ สถาปัตยกรรมหลัก สถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ สถาปัตยกรรมผังเมือง และ ภูมิสถาปัตยกรรม 
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บทความ รู้ก่อนเรียน สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีสาขาอะไรบ้าง? 

4 เป็นสาขาที่ใช้ทักษะทั้งศิลปศาสตร์และคณิตศาสตร์
คนที่จะสามารถเข้าเรียนได้และไปต่อในสายงานได้ดีควรมีทักษะหรือผลงานทางด้านศิลปะเป็นพื้นฐาน และที่สำคัญไม่เกลียดคณิตศาสตร์
อ่านรายละเอียดเกี่ยวข้องเพิ่มเติมได้ที่บทความ นอกจากออกแบบ นี่คือ 7 สิ่งที่สถาปัตยกรรมศาสตร์จะสอนให้คุณเป็น 

5 ไม่ได้เรียนวาดรูปอย่างเดียว 
คนที่ชอบวาดการ์ตูนหรือวาดรูปตามอารมณ์ ไม่แน่ว่าจะเรียนสถาปัตย์ รอด 
อ่านรายละเอียดเกี่ยวข้องเพิ่มเติมได้ที่บทความ สิ่งที่หลายคนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับการเรียน "สถาปัตย์"

6 มีความอดทน ช่างสังเกต ช่างคิด ชอบแก้ปัญหา
คนจะเรียนสถาปัตย์ได้ดี คุณสมบัติพื้นฐานที่ต้องมีเลยก็คือ ความอดทน ช่างสังเกต ช่างคิด ชอบแก้ปัญหา และความคิดสร้างสรรค์ คือพื้นฐานสำคัญมากต่อการเรียนและทำงาน 

7 จบมามีอาชีพเฉพาะทางเป็น "สถาปนิก" หนี่งในสายงานอนาคตดี
จบมานอกจากมีสายงานหรืออาชีพเฉพาะทางรองรับแน่นอนอย่างอาชีพ "สถาปนิก" ก็สามราถต่อยอดไปสายอื่น ก็ได้เช่นกัน 
อ่านรายละเอียดเกี่ยวข้องเพิ่มเติมได้ที่บทความ "สถาปนิก" การเรียน การทำงาน ทักษะ ความก้าวหน้า เป็นยังไง?