สาขาธรณีศาสตร์ หรือ ธรณีวิทยา (Geology) ศาสตร์ที่หลายคนอาจเคยได้ยินชื่อมาบ้างในระดับมัธยมปลาย โดยหลัะกสูตรระดับปริญยาตรีเฉพาะสาขานี้จะเป็นการเรียนเกี่ยวกับองค์ประกอบ โครงสร้าง กระบวนการตามธรรมชาติของโลกที่เกิดขึ้นและมีการเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา จากหลักฐานที่ค้นพบในชั้นหินและซากดึกดำบรรพ์ ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ สามารถแบ่งสาขาความรู้ได้อีกหลายสาขา เช่น
ธรณีวิทยากายภาพ (Physical Geology)
ธรณีวิทยาโครงสร้าง (Structural Geology)
ธรณีวิทยาแปรสัณฐาน (Geotectonics, Tectonics)
ตะกอนวิทยา (Sedimentology)
ธรณีสัณฐานวิทยา (Geomorphology)
ธรณีเคมี (Geochemistry)
ธรณีฟิสิกส์ (Geophysics)
ธรณีอุทกวิทยา (Geohydrology)
บรรพชีวินวิทยา (Paleontology)เป็นต้น
นักธรณีวิทยา
นักธรณีวิทยาปฏิบัติการ
นักธรณีฟิสิกส์
นักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและอุตุนิยมวิทยา
ในหน่วยงานเอกชน บริษัทเกี่ยวกับพลังงานและเหมืองแร่ต่างๆ เช่น บริษัทปูนซิเมนซ์ไทย บริษัทปูนซิเมนซ์นครหลวง บริษัทเหมืองบ้านปู บริษัทอิตัลไทย บริษัทเชลล์ บริษัทชลัมเบอร์เจ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม บริษัทยูโนแคล
รวมทั้งหน่วยงานรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจต่างๆ เช่น กรมทรัพยากรธรณี กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมอุตุนิยมวิทยา กรมพัฒนาที่ดิน กรมชลประทาน กรมทางหลวง ศูนย์เตือนภัยพิบัติ สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม บริษัทการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นต้น
ธรณีวิทยาหรือธรณีศาสตร์ เป็นหลักความรู้ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการพัฒนาโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม ของประเทศ เพราะมีผลในเรื่องของการก่อสร้างเส้นทางในการคมนาคม เขื่อนเก็บน้ำ โรงผลิตกระแสไฟฟ้า การสำรวจหาแหล่งปิโตรเลียม การสำรวจหาแหล่งแร่ การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม และการกำหนดพื้นที่เสี่ยงต่อภัยธรรมชาติ เป็นต้น
สาขาเหมาะสำหรับน้องๆ ที่ชอบสำรวจ และไม่เบื่อวิชาคณิตศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา แม้ว่าหลักสูตรด้านธรณีศาสตร์ในแต่ละมหาวิทยาลัยจะชื่อเรียกหรือมีรายวิชาที่แตกต่างหลากหลาย แต่ทุกสถาบันข้างต้นจะให้ความรู้ในเนื้อหาหลักที่สำคัญของธรณีวิทยาแก่ผู้ศึกษาทุกคน รวมถึงการออกภาคสนาม