สอบเข้ามหาวิทยาลัย

ทำความรู้จักกับประเภทของข้าราชการไทย มีอะไรบ้าง?


1. ข้าราชการพลเรือนสามัญ
ตำแหน่งประเภทบริหาร ได้แก่ ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการ
และรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง กรม และตำแหน่งอื่นที่
ก.พ.กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทบริหาร

ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ได้แก่ ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการ
ที่ต่ำกว่าระดับกรม และตำแหน่งอื่นที่ ก.พ.กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการ
ตำแหน่งประเภทวิชาการ ได้แก่ ตำแหน่งที่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษา
ระดับปริญญาตามที่ ก.พ.กำหนดเพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของตำแหน่งนั้น
ตำแหน่งประเภททั่วไป ได้แก่ ตำแหน่งที่ไม่ใช่ตำแหน่งประเภทบริหาร
ตำแหน่งประเภทอำนวยการ และตำแหน่งประเภทวิชาการ ตามที่ ก.พ.กำหนด

2. ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
ข้าราชการผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีรวมตลอดถึงผู้ช่วยผู้พิพากษา
โดยตำแหน่งข้าราชการตุลาการมีดังนี้ เช่น ประธานศาลฎีกา รองประธานศาลฎีกา ผู้พิพากษา
หัวหน้าคณะในศาลฎีกา ผู้พิพากษาศาลฎีกา ประธานศาลอุธรณ์ รองประธานศาลอุธรณ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุธรณ์
อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ฯลฯ


3. ข้าราชการฝ่ายอัยการ
ข้าราชการฝ่ายอัยการ คือ ข้าราชการที่บรรจุและแต่งตั้งให้รับราชการในสำนักงานอัยการสูงสุด
เป็นคณะกรรมการกลางในการกำกับดูแล
ข้าราชการฝ่ายอัยการแบ่งออกเป็น
-ข้าราชการอัยการ
-ข้าราชการธุรการ ในหน่วยงานของอัยการ

4. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
คือ ข้าราชการที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง
ให้ปฏิบัติราชการในสถานศึกษา หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
ผู้สอนในหน่วยงานการศึกษา
เช่น ครู อาจารย์ ศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์
ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา
เช่น ผู้อำนวยการสถานศึกษา ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา ฯลฯ
บุคลากรทางการศึกษาอื่น
เช่น ศึกษานิเทศก์ และตำแหน่งที่เรียกชื่อตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

5. ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา คือ ข้าราชการพลเรือนในสังกัดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
แบ่งออกเป็นประเภทย่อย 3 ประเภท 
ประเภทวิชาการ
เช่น ศาสตราการย์ รองศาสตราจารย์ อาจารย์
ประเภทผู้บริหาร
เช่น อธิการบดี รองอธิการบดี คณะบดี
ประเภททั่วไป
วิชาชีพเฉพาะ หรือเชี่ยวชาญตามที่ ก.พ.อ. กำหนด

6. ข้าราชการรัฐสภา
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
ข้าราชการรัฐสภาสามัญ
คือ ข้าราชการซึ่งรับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประจำ
โดยได้รับเงินเดือนในอัตราสามัญ ใช้วิธีการจำแนก
และกำหนดประเภทตำแหน่งแบบเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญ
ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง 
คือ ข้าราชการซึ่งรับราชการในตำแหน่งการเมืองของรัฐสภา

7. ข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง
ข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง คือ ข้าราชการที่รับราชการและดำรงตำแหน่งในศาลปกครองและสำนักงานศาลปกครอง
มีคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครองเป็นคณะกรรมการบริหารงานบุคคล ข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง
แบ่งออกเป็น
ข้าราชการตุลาการศาลปกครอง
คือ ข้าราชการที่มีอำนาจพิจารณาและพิพากษาคดีในศาลปกครอง
ข้าราชการสำนักงานศาลปกครอง
คือ ข้าราชการที่ทำหน้าที่ด้านธุรการในสำนักงานศาลปกครอง

8. ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
ข้าราชการฝ่ายศาลรัฐธรรมนูญ
คือ ข้าราชการที่รับราชการและดำรงตำแหน่ง
ในศาลรัฐธรรมนูญและสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
ข้าราชการฝ่ายศาลรัฐธรรมนูญ แบ่งออกเป็น
ข้าราชการตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
คือ ข้าราชการที่มีอำนาจพิจารณาและพิพากษาคดีในศาลรับธรรมนูญ
ข้าราชการสำนักงานศาลปกครอง
คือ ข้าราชการที่ทำหน้าที่ด้านธุรการในสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ

9. ข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการป้องกัน
และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
เป็นข้าราชการซึ่งได้รับบรรจุ และแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการ
มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบ
ในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
ข้าราชการในสายกระบวนการยุติธรรม
ได้แก่ ข้าราชการซึ่งปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมาย
และข้าราชการทั่วไป 
ซึ่งแบ่งเป็น ประเภทวิชาการ และประเภททั่วไป


10. ข้าราชการทหาร
ข้าราชการทหาร คือ บุคคลที่เข้ารับราชการทหารประจำการ
ข้าราชการกลาโหมและพลเรือนที่บรรจุในอัตราทหาร
ในหน่วยงานทางการทหารซึ่งสังกัดกระทรวงกลาโหมหรือกองทัพไทย
ข้าราชการฝ่ายทหารแบ่งออกเป็น
ข้าราชการทหาร คือ ข้าราชการที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง
เพื่อปฏิบัติราชการทหารแบ่งชั้นยศออกเป็นชั้นประทวนและชั้นสัญญาบัตร
ซึ่งจะมีชื่อเรียกยศต่างกันตามกองทัพที่สังกัด
ข้าราชการกลาโหมพลเรือน คือ ข้าราชการที่ได้รับการบรรจุ
และแต่งตั้งเพื่อปฏิบัติราชการในกระทรวงกลาโหม
แต่ไม่ได้มียศแบบข้าราชการทหาร

11. ข้าราชการตำรวจ
ข้าราชการตำรวจ คือ ข้าราชการในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งเป็นส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
กระทรวงหรือทบวงมีฐานะเป็นกรมและอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี
ข้าราชการฝ่าทหารแบ่งออกเป็น
ชั้นประทวนและชั้นสัญญาบัตร


12. ข้าราชการส่วนท้องถิ่น
ข้าราชการส่วนท้องถิ่น คือ ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด พนักงานเทศบาล พนักงานเมืองพัทยา พนักงานส่วนตำบล
ตำแหน่งของข้าราชการส่วนท้องถิ่น มี 4 ประเภท ประกอบด้วย
ประเภทบริหารท้องถิ่น และ ประเภทอำนวยการท้องถิ่น
มี 3 ระดับ ได้แก่ ระดับต้น ระดับกลาง ระดับสูง

ประเภทวิชาการ มี 4 ระดับ ได้แก่
ระดับปฏิบัติการ ระดับชำนาญการ
ระดับชำนาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ

ประเภททั่วไป มี 3 ระดับ ได้แก่
ระดับปฏิบัติงาน ระดับชำนาญงาน ระดับอาวุโส

13. ข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินมีอำนาจหน้าที่ ในการตรวจสอบเงินของแผนดิน เช่นการตรวจสอบรายรับจ่ายตรวจสอบจัดซื้อจัดจ้าง ตรวจสอบการทุจริต ฯลฯ
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบใคร?
-กระทรวง ทบวง กรม
-ราชการส่วนภูมิภาค
-ราชการส่วนท้องถิ่น
-รัฐวิสาหกิจ
-กองทุนเงินหมุนเวียน
-หน่วยงานอื่นๆของรัฐ

15. ข้าราชการการเมือง
ข้าราชการการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
คือ ข้าราชการและผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามมติของคณะรัฐมนตรี
ข้าราชการการเมืองกรุงเทพมหานคร
คือ ข้าราชการและผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ในการปกครองท้องถิ่นของกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองท้องถิ่นและผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองท้องถิ่น
คือ ข้าราชการและผู้ที่ดำรงตำแหน่งราชการทางการเมือง
ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น