การเรียนการสอนในหลักสูตรปริญญาตรี จำนวน 4 หลักสูตร คณะอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
โดยทุกหลักสูตรสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท
1.หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ (หลักสูตร 4 ปี)
2.หลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าทางวิชาการ (โครงการแววนวัตกร 4+1)
ได้2ปริญญาทั้งปริญญาตรีและโท
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
ใช้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารในการคิดวิเคราะห์พัฒนาและแก้ปัญหาด้านอุตสาหกรรมอาหารได้
โอกาสการทำงานหลังสำเร็จการศึกษา
1. เจ้าหน้าที่ฝ่ายการผลิต เจ้าหน้าที่ฝ่ายการวางแผนการผลิต เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายควบคุมและประกันคุณภาพ เจ้าหน้าที่ฝ่ายสุขาภิบาลและความปลอดภัยอาหารในโรงงานและพนักงานขายผลิตภัณฑ์อาหารหรือสินค้าอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทางด้านอุตสาหกรรมอาหารและ/หรือการบริการอาหารและการจัดการ
2. นักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ นักวิจัยและพัฒนา รวมทั้งเป็นเจ้าหน้าที่วิเคราะห์โครงการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร ในหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหาร
3. สามารถประกอบอาชีพอิสระที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารหรือธุรกิจการบริการอาหารและการจัดการ
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมแปรรูปอาหาร
ใช้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับงานด้านวิศวกรรมแปรรูปอาหารในการจัดการพัฒนาและแก้ไขปัญหางานด้านวิศวกรรมแปรรูปอาหารเพื่อที่จะเป็นผู้ประกอบอาชีพหรือผู้ประกอบกิจการอุตสาหกรรมอาหารได้
โอกาสการทำงานหลังสำเร็จการศึกษา
1. นักวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร
2. นักวิชาการด้านอาหาร
3. นักวิจัยด้านอาหาร
4. พนักงานประจำด้านอุตสาหกรรมอาหารทั้งภาครัฐและเอกชน
- สามารถประกอบอาชีพในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหาร ได้แก่ โรงงานแปรรูปอาหาร โรงงานผลิตอาหาร เป็นต้น
- สามารถประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอาหาร ผู้จำหน่ายวัสดุอุปกรณ์เกี่ยวกับอาหาร รวมถึงอาชีพอื่น ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการด้านอาหาร
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการหมักในอุตสาหกรรมอาหาร
ใช้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพที่สามารถเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรมรวมถึงระบบการควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยทางอาหาร มีทักษะในการแก้ปัญหาและพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสมและยั่งยืน
โอกาสการทำงานหลังสำเร็จการศึกษา
1. สามารถประกอบอาชีพในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตอาหาร หรือโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการหมัก โดยทำหน้าที่ในฝ่ายการผลิต ฝ่ายการวางแผนการผลิต ฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ฝ่ายควบคุมและประกันคุณภาพ ฝ่ายสุขาภิบาลและความปลอดภัย และฝ่ายขาย
2. สามารถประกอบอาชีพในหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ โดยทำหน้าที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ นักวิจัยและพัฒนา เป็นเจ้าหน้าที่วิเคราะห์โครงการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ในอาหารและเทคโนโลยีการหมักและระบบคุณภาพ3. สามารถประกอบอาชีพอิสระที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหารหมักและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การประกอบอาหารและการจัดการการบริการอาหาร
(หลักสูตรนานาชาติ)
The Culinary Science and Foodservice Management Program provides in-depth knowledge in the food science and art of culinary and food service, which promotes high levels of culinary and foodservice skills with food science technology, especially on Thai food. The program presents up to date information on technology appropriate to run food service institutes, in which facilitates successful internships to acquire contemporary industry experience. Thus student can apply theory to practice and adapt knowledge to new situation.
Future careers
1. Technical/Exclusive chef in foodservice units in both national and international levels
2. The owner or participant in foodservice units.
3. The food researcher and food scientist who develops and solves the problems related to food products in food research institutes, food industry or other foodservice units.
4. The expert or consultant in food area which covers culinary arts and foodservice technology.
คณะอุตสาหกรรมอาหาร สจล.
(http://foodindustry.kmitl.ac.th/)
(https://www.facebook.com/food.industry.kmitl)
เทคโนโลยีการหมัก KMITL
(https://www.facebook.com/FermentTech)
Culinary Science and Foodservice Management (International Program)
(www.facebook.com/culinarykmitl)