มัธยม VS มหาวิทยาลัย ต่างกันอย่างไร
คงอีกไม่กี่เดือน หลาย ๆ มหาวิทยาลัยก็จะเริ่มทะยอยเปิดภาคการศึกษาอย่างเป็นทางการ น้องที่กำลังจะเข้าเรียนในรั้วมหาวิทยาลัยคงต้องอาศัยการปรับตัวอยู่อีกพักหนึ่ง แต่จะดีกว่าไหม? ถ้าเรารู้ว่ามหาวิทยาลัยกับมัธยมนั้นมีความแตกต่างกันอย่างไรก็คงจะ เพราะเราจะได้เตรียมตัว เตรียมความพร้อมรับมือได้อย่างง่ายดาย วันนี้พี่ Admission Premium จึงได้รวบรวมข้อมูลความแตกต่างของ มัธยม VS มหาวิทยาลัย มาฝากน้อง ๆ จะมีอะไรแตกต่างกันบ้างเอาเป็นว่าเราไปดูกันเลย !!!
1. ตารางและเวลาเข้าเรียน
มัธยมเราเคยเรียนเป็นชั่วโมง หรือประมาณวันละ 6- 8 วิชา แต่การเรียนในมหาวิทยาลัยในหนึ่งวันเรียนประมาณ 3 – 4 วิชา วิชาประมาณ 2- 3 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังแบ่งเรียนแต่ละวันไม่เหมือนกัน บางวันเรียนแค่ช่วงเช้า หรือบางวันเรียนแค่ช่วงบ่าย หรืออาจจะมีเรียนเสาร์ – อาทิตย์ ในส่วนของตารางเรียนน้อง ๆ เคยต้องเรียนตามตารางที่โรงเรียนจัดวางไว้ให้ แต่ในมหาวิทยาลัยสามารถเลือกเรียนวิชาต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง แต่ต้องตามหลังสูตรเก็บหน่วยกิตให้ครบตามหลักสูตร
2. ข้อสอบปรนัยและอัตนัย
ตอนเรียนมัธยมเจอข้อสอบแบบปรนัย (กากบาท) เป็นส่วนใหญ่ แต่พอเข้าเรียนมหาวิทยาลัยแล้วข้อสอบส่วนใหญ่เป็นเป็นอัตนัย (ข้อเขียน ) เขียนอธิบายความเข้าใจ ในเนื้อหาที่เรียนรู้ให้ได้ ถือเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างมากในระดับมหาวิทยาลัย ที่สำคัญการเขียนควรเขียนตัวหนังสือให้อ่านออก ไม่ใช่เราอ่านได้คนเดียว
3. ไม่มีเกรด 0 – 4 มีแต่ A - F
การตัดเกรดในมหาวิทยาลัยก็จะมีความแตกต่างออกไปจากที่น้อง ๆ คุ้นเคยจากเกรด 0- 4 มาเป็น A - F เกรดในมหาวิทยาลัยแต่ละรายวิชา จะออกมาเป็นตัวอักษร ดังนี้
A = 4.00, B+ = 3.5, B = 3.00, C+ = 2.5, C = 2.00, D+ = 1.5, D = 1.00, F = สอบตก/ขาดสอบ หรือคะแนนไม่ถึงเกณฑ์ ในกรณีติด F นั้นน้อง ๆ สามารถลงเรียนใหม่ได้อีกเพื่อแก้ไขเกรดคล้ายกับการแก้ 0 ร. หรือ มส. ในช่วงมัธยม
4. การสอนและอุปกรณ์การเรียน
น้อง ๆ อาจจะเคยชินกับการสอนบนกระดานหรือเนื้อหาในหนังสือ มีคุณครูที่สอนเนื้อหาต่าง ๆ ตามในหนังสืออาศัยการเรียนรู้จากตำราเรียนของกระทรวงศึกษา มีหนังสือสมุดหลาย ๆ เล่มแยกเป็นรายวิชา แต่ในมหาวิทยาลัยนั้นเปรียบเสมอแหล่งเรียนรู้ที่น้อง ๆ ต้องเรียนรู้และเก็บเกี่ยวความรู้ด้วยตนเอง อาศัยการเรียนรู้จากทฤษฏี เพื่อนนำมาเรียนรู้ปรากฏการทางสังคม และจะไม่มีอาจารย์มานั่งสอนหรือคอยตามงาน โดยส่วนมากจะไม่ค่อยมีหนังสือมากนักแต่จะมีสมุดเพื่อจดบันทึกความรู้เท่านั้น หรือจะพูดง่าย ๆ แค่ปากกาหนึ่งด้ามกับสมุดหนึ่งเล่ม ก็โอละนะ
5. ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต
พอพูดเข้าจริง ๆ มัธยมถือว่าเป็นช่วงชีวิตที่มีความสุขมาก ๆ เริ่มจากการตื่นนอนที่มีคนปลุก การกินที่มีคนเตรียมกับข้าวไว้ให้ อาจจะน่ารำคาญตอนเขาแถวหน้าเสาร์ธงหรือจะมองซ้ายก็เห็นรั้วโรงเรียน มองขวาก็เห็นครูปกครอง เวลาเรียนเสร็จมีเสียงกริ่งบอกเวลาเลิกเรียน แต่เมื่อน้องได้เข้าเรียนมหาวิทยาลัยแล้ว สิ่งที่ต้องมีให้มากที่สุด คือ ความรับผิดชอบต่อตนเอง เพราะจะไม่มีใครปลุก ไม่มีคนเตรียมกับข้าวให้ เวลาเรียนไม่มีเสียงกริ่งบอกเวลา หรือแม้แต่การส่งงานก็จะไม่มีคนมาคอยตาม ฉนั้นอย่างที่พี่บอกไป ชีวิตในมหาวิทยาลัยต้องมี " ความรับผิดชอบ "
เป็นยังไงกันบ้างน้อง ๆ กับความแตกต่างระหว่างมัธยม และมหาวิทยาลัย 5 สิ่งที่พี่นำมาฝากนี้เป็นเพียงแค่ส่วนที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดเจนเท่านั้น แท้จริงแล้วชีวิตในช่วงวัยมหาวิทยาลัยยังมีความแต่ต่างอีกมากมาย หากจะเปรียบเทียบให้เห็นได้ชัดนั้น คือ การทดลองใช้ชีวิตเพื่อที่จะก้าวเข้าสู่วัยทำงาน ดังนั้นเราควรเรียนรู้และประคับประคองชีวิตให้ดีเท่าที่เราจะทำได้ แล้วน้อง ๆ จะรู้ว่ามหาวิทยาลัยมีอะไรให้เรียนรู้อีกเยอะ
อ้างอิง >>> www.scholarship.in.th