เตรียมตัวอย่างไร เมื่อจะเป็นพี่ใหญ่ในโรงเรียน
ช่วงนี้หลายคนคงกักตัวอยู่บ้าน มันช่างเป็นเทอมใหญ่ที่หนักหนาพอสมควร จะออกไปข้างนอกก็ต้องคอยระมัดระวังตัวเอง แต่จะให้อยู่บ้านเฉย ๆ คงจะเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ ดังนั้นเราใช้ช่วงเวลานี้วางแผนอนาคตให้เกิดประโยชน์กันดีกว่า นอกจากพี่ ๆ ม.6 ที่จบไปแล้วนั้นการเปลี่ยนชั้นก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะพี่ ม.5 ก็จะขึ้นมา ม.6 นับได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่ต้องเตรียมตัวเข้ามหาวิทยาลัยอย่างจริงจัง หากเราวางแผนตั้งแต่เนิ่น ๆ รับรองว่าเราจะพิชิตฝันอีกขั้นเราได้แน่ ๆ ว่าแต่จะต้องเตรียมตัวยังไงบ้างเรามาดูดีกว่า !!
1. เตรียมเปิดคอร์สเรียน เก็บเนื้อหาตั้งแต่ ม. 4
แน่นนอนว่าพอเราขึ้น ม.6 เราจะต้องเจอสนามสอบต่าง ๆ ทั้งการสอบเข้าเรียนมหาวิทยาลัย, การสอบวัดผลต่าง ๆ ฯลฯ ดังนั้นควรเตรียมตัวอ่านหนังสือโดยเน้นเก็บเนื้อหาที่เรียนมาตั้งแต่ ม. 4 – ม. 6 และวิชาที่จะต้องใช้สอบในคณะ, สาขาที่น้องอยากเข้าเรียนต่อ หรือหลังจากเลิกเรียนนัดรวมตัวกับเพื่อนทบทวนความรู้ มอบหมายให้แต่ละคนรับผิดชอบเป็นในแต่ละวิชา แต่ถ้าจำไม่ค่อยได้ก็ลองไปลื้อฟื้นวิชากับน้อง ๆ ดู เพราะว่าน้องเขากำลังเรียนกำลังร้อนวิชาจะได้ทบทวนและสอนน้องไปด้วย
2. เตรียมค้นหาตัวตนของตัวเองให้เจอ
ก่อนจะวางแผนอนาคดได้ เราควรรู้จักตัวเองให้มากขึ้นเสียก่อนกลับมาถามใจตัวเอง และหาคำตอบให้เจอว่าจริง ๆ แล้วเราชอบอะไรกันแน่ หากไม่แน่ใจในสิ่งที่กำลังจะต้องเลือกในอนาคตก็ลองทำแบบประเมินดู เพราะแบบประเมินเหล่านี้จะทำให้เรารู้จักตนเองมากขึ้น หรือลองทักแชทพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกับเพื่อน ๆ ให้เพื่อนของเราเป็นกจะจกสะท้อนตัวเรา บางทีเพื่อนอาจจะช่วยเราประเมินตนเองอีกทางก็ได้
3. เตรียมตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน
เมื่อรู้จักตัวเองได้คณะอยากเข้าเรียนแล้ว อันดับแรกเราจะต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าจะเราจะเรียน สาขาอะไร เพื่อเป็นเป้าหมายสูงสุดของเรา รวมถึงค้นหาข้อมูลมหาวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับเรา ตั้งเป้าหมายทั้งระยะสั้นไปจนถึงระยะยาว ควรมีเครื่องมือประเมินความสำเร็จเหล่านั้นเป็นขั้นตอนไป เช่น การตั้งคำถามตอบคำถามความคืบหน้าให้กับเป้าหมาย การประเมินความสำเร็จเป็นข้อ ๆ สิ่งที่สำคัญสำหรับการตั้งเป้าหมาย คือ อย่างทิ้งเป้าหมายนั้น เพียงเพราะไม่มีใครไปกับเรา
4. เตรียมวางแผนรับมือให้พร้อม
เมื่อเรามีเป้าหมายที่ชัดเจนแล้วเราควรวางแผนเป็นขั้นตอนต่อไป เริ่มจากวางแผนเตรียมตัวอ่านหนังสือไปจนถึงวางแผนการสมัครสอบ เพื่อจะได้มุ่งมั่นในทางนั้นตั้งแต่เนิ่น ๆ จะได้ไม่พลาดคณะหรือสาขา ที่ตั้งเป้าหมานไว้ แต่ถ้าน้อง ๆ ไม่รู้ว่าต้องทำอะไร?, เดินต่อไปทางไหน, หรือให้ความสำคัญกับเรื่องไหนพิเศษ อาจะทำให้หลงทางระห่างเดินตามฝัน ฉนั้นก่อนเปิดเทอม ม. 6 นี้ เป็นโอกาสดีที่น้อง ๆ จะได้วางแผนให้ชัดเจนแบบลำดับความสำคัญและเป็นขั้นตอน เป็นระบบ
5. เตรียมตัวรวบรวมผลงานทำ Portfolio
สำหรับน้องที่ทำกิจกรรมควรเตรียม Portfolio หรือแฟ้มสะสมผลงานไว้ใช้ยื่น TCAS รอบที่ 1 และประกอบการพิจารณาในการสัมภาษณ์รอบอื่น ๆ เตรียมตัวเก็บทั้งประวัติส่วนตัว, ใบแสดงผลการเรียน, เกียรติบัตร, ภาพถ่ายกิจกรรม, หนังสือทางราชการต่างๆ เป็นต้น กิจกรรมที่เรานำมาใส่ใน Portfolio ควรเรียงลำดับเวลา เริ่มจากปัจจุบันไปหาผลงานในอดีต หรือจะเป็นผลงานระดับโรงเรียนไปจนถึงระดับประเทศ เมื่อมีข้อมูลเหล่านี้เราก็จะทำแฟ้มได้ง่าย ๆ พร้อมส่งผลงานเสมอเมื่อโอกาสเข้ามาหาเราแบบไม่ต้องกังวล
6. เตรียมค่าใช้จ่าย ค่าสอบ ค่าสมัครต่าง ๆ
เมื่อ “การศึกษาคือการลงทุน” เพราะเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ก็ต้องเตรียมให้พร้อม เพราะต้องใช้จ่ายค่าสอบอีกมากมายทั้ง GAT/PAT, 9 วิชาสามัญ, ค่าสมัครต่าง ๆ อาจจะรวมถึงค่าเดินทาง, ค่าที่พัก, ซึ่งดูแล้วมีค่าใช้จ่ายไม่น้อยเลยทีเดียว ถ้าไม่ได้วางแผนการเงินไว้ปัญหาก็ตามมาให้ปวดหัวเข้าอีก ฉนั้นต้องเริ่มเก็บออมไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย น้อง ๆ จะได้มีเงินเหลือเก็บ ช่วยลดภาระของพ่อแม่, ผู้ปกครอง ไปอีกทาง
7. เตรียมศึกษาระบบ TCAS
เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคนยังไม่เข้าใจการรับเข้าเรียนต่อในระบบ TCAS ดังนั้นควรศึกษาระบบ TCAS ให้ดีเพราะระบบมีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ TCAS64 – 65 โดยมีรอบการคัดเลือก 4 รอบ ประกาศผล 5 ครั้งดังนี้ 1. Portfolio (แฟ้มสะสมผลงาน) 2. Quota (โควตา) 3.Combined Admission = รวม Admission 1 และ Admission 2 ให้สมัครพร้อมกัน โดยประกาศผล 2 ครั้ง มีการประมวลผลหลังการประกาศผลครั้งแรก เพื่อเรียกผู้ผ่านการคัดเลือก (ตัวสํารอง) เพิ่มถ้ามีผู้สละสิทธิ์ในสาขาที่ประกาศผลครั้งแรก
Direct Admission (รับตรงอิสระ) และการสอบ TGAT (Thai General Aptitude Test) เป็นทางเลือกเพิ่มเติม ยังไงข้อมูลในระบบ TCAS น้อง ๆ ควรศึกษษรายละเอียดด้วยตนเองอีกครั้งเพื่อป้องกันความผิดพลาด
จริง ๆ แล้วการเป็นพี่ใหญ่ในโรงเรียนก็ยังมีอีกหลายสิ่งที่ต้องเตรียมตัวกันไว้ที่พี่ Admission Premium ได้นำมาฝากนั้นเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น และที่สำคัญการเป็นพี่ใหญ่ในโรงเรียนไม่ใช่ว่าเป็นเพราะอายุหรือเรียนอยู่ชั้น ม.6 เท่านั้น แต่เป็นการเตรียมตัวเข้าสู่มหาวิทยาลัย รวมถึงการเป็นผู้นำและเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับน้อง ๆ นั้นเอง