สอบเข้ามหาวิทยาลัย

วิธีรับมือกับความรู้สีก “ฉลาดไม่พอ”



การรู้สึกว่าตนเองนั้นด้อยกว่าคนอื่นนั้นเป็นโรคชนิดหนึ่ง ซึ่งถูกเรียกว่า Imposter Syndrome หรือแปลไทยว่า โรคไม่มีค่าในสายตาตัวเอง
 
ท่ามกลางสังคมที่เด็กนักเรียนเติบโตมาบนการประเมินผลและการสอบ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราจะเกิดความรู้สึกกดดัน หรือรู้สึกว่าเรานั้น “ไม่ฉลาดเอาเสียเลย” เมื่อเด็กนักเรียนที่เก่ง จะได้รับเลือกให้เข้าอยู่ในห้องของเด็ก “กิฟต์” และเป็นตัวเราที่มองพวกเขาเหล่านั้นด้วยความรู้สึกที่หลากหลาย และอาจจบที่การบอกกับตนเองว่า ‘เราคงไปไม่ถึงในจุดนั้น’
 
ในความเป็นจริง เราทุกคนล้วนอยู่บนค่าเฉลี่ยของความฉลาดทั้งนั้น และไม่ต้องสงสัยเลยว่าเราสามารถสร้างชีวิตในแบบของตัวเราเองได้ เพียงพิจารณาถึงเส้นทางที่สำคัญที่สุดของชีวิตเรา เพียงแต่ระหว่างทางนั้นอาจมีสิ่งเร้าที่อาจทำให้เกิดคำถามและความท้อแท้ได้ ซึ่งความรู้สึกเหล่านี้สามารถบรรเทาได้ หากลองทำตามแนวคิดเหล่านี้
 

การยอมรับความสำเร็จของตนเอง

วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการสร้างคุณค่าให้กับตนเอง โดยการย้ำเตือนถึงความสำเร็จที่เราเคยทำมา อาจเริ่มจากการบันทึกลงไปในสมุดบันทึก หรือวิธีที่โปรกว่านั้น คือการทำออกมาเป็น Resume ของตัวเราเอง การมีอยู่ของสิ่งนี้จะเป็นเครื่องย้ำเตือนให้เรากลับมามองและรู้สึกถึงสิ่งที่เราทำมาเพื่อให้มาถึงในจุดนี้ และแน่นอนว่าเราควรอัปเดตสิ่งนี้ตลอดเวลา
 
แน่นอนว่าเราควรเก็บสิ่งนี้ไว้ใกล้ตัว หรือไว้ในจุดที่เราเห็นได้ เพื่อเป็นเครื่องย้ำเตือนบางอย่างให้กับตัวเราตลอดเวลานั่นเอง
 

การมองภาพที่เราอยากเป็น

Impostor Syndrome อาจบอกกับตัวเราถึงตรรกะที่ว่า เราไม่สมควรที่จะประสบความสำเร็จในสิ่งที่เราต้องการ หรืออยากทำ อย่าไปฟังสิ่งนั้นเด็ดขาด หรืออย่าหวั่นไหวไปตามจนเกิดผลกระทบต่อการกระทำของตนเอง ให้มองภาพว่าเราสามารถเป็นอะไรได้ หากไม่ใช่สิ่งที่ในหัวเรากำลังกดเราอยู่ หลังจากนั้นจึงเริ่มนำบทบาทนั้นเข้ามาอยู่ในตัวเราเอง
 
นำภาพ คติ หรือสิ่งย้ำเตือนให้เราไปถึงจุดที่เราต้องการไว้กับตัว อาจจะเป็นในห้องนอน หัวเตียง ตามที่แต่ละคนสะดวก จะเป็นการบอกถึงคุณค่าของตัวเราเองในการเป็นสิ่งที่อยากเป็นได้
 

การรับความเสี่ยง

สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ยากที่สุดในการต่อสู้กับโรคนี้ แต่เป็นความคุ้มค่าที่จะลงทุน เมื่อเรารู้ในสิ่งที่เราอยากเป็น และเราสมควรได้รับมันมากแค่ไหนแล้ว ก็ถึงเวลาสำหรับการลงเสี่ยงเพื่อให้ถึงเป้าหมาย
 
สิ่งนี้อาจฟังดูน่ากลัว แต่มันจะแย่ได้แค่ไหนกันสำหรับการทำตามสิ่งที่เราเชื่อมั่นและต้องการ
 
ให้เสียงในหัวของตัวเองอยู่เหนือโรคนี้ที่กดเราอยู่ มองว่าสิ่งนี้กำลังโกหกเราและไม่เป็นจริงแต่อย่างใด และจำไว้ว่า แม้ความล้มเหลวก็ยังสำคัญแต่กระบวนการเรียนรู้ของเรา ที่สำคัญคือการเข้าไปมีประสบการณ์ร่วมกับเส้นทางนี้ มองถึงวิธีการในการพัฒนาต่อยอดต่อไป
สิ่งเหล่านี้ต้องใช้เวลาและการฝึกฝนความรู้สึก แม้คนที่มีความมั่นใจในตัวเองสูงก็อาจเกิดความรู้สึกนี้ได้

เมื่อเริ่มเกิดการตั้งคำถามกับตัวเอง เมื่อเกิดคำถามขึ้น และเริ่มกลับมากดดันตัวเองอีกครั้ง ให้หันกลับมามองถึงสิ่งที่เราทำสำเร็จ และเริ่มก้าวผ่านมันอีกครั้ง แม้มันจะอยู่ในระหว่างกระบวนการ แต่เราจะก้าวผ่านมันได้ในที่สุด
 



อ้างอิงจาก
everydayfeminism.com
- www.psychologytoday.com