6 ข่าวการศึกษาแห่งปี 2019 ข่าวไหนดี ข่าวไหนโดน
ผ่านไปอีกหนึ่งปี และกำลังก้าวเข้าสู่ปีใหม่ 2020 แน่นอนว่าเมื่อลองมองย้อมกลับไปแล้วทางแวดวงการศึกษาก็เกิดการเปลี่ยนแปลง และมีข่าวสารที่ต้องคอยจับตาดูกันเรื่อย ๆ บางเรื่องก็เป็นเรื่องที่น่าชื่นชมแต่บางเรื่องก็อยากทิ้งมันไว้และเริ่มต้นใหม่ในปีนี้ อย่างไรตามวันนี้พี่ AdmissionPremium จึงถือโอกาสรวมรวมข่าวสารที่น่าสนใจ เกิดขึ้นในช่วงปี 2019 มาฝากน้อง ๆ จะมีเรื่องไหนกันบ้างไปดูกันเลย
1. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศห้าม นักเรียน-นักศึกษา ก่อเหตุทะเลาะวิวาท, แสดงพฤติกรรมชู้สาว, กระทำลามกอนาจารและแต่งกายล่อแหลม, ในสถานศึกษา
เริ่มจากเรื่องแรกที่สร้างความฮือฮาไม่น้อยให้กับนักเรียน - นักศึกษา เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2562 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้มีการเผยแพร่ประกาศ กฎกระทรวง กำหนดความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 วรรคหนึ่ง และมาตรา 64 แห่งพระรำชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการออกกฎกระทรวงไว้ โดยสรุปใจความได้ว่า ห้ามนักเรียน - นักศึกษา ก่อเหตุทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกายผู้อื่น เตรียมการหรือกระทำการใดๆ อันน่าจะก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือรวมกลุ่มหรือมั่วสุมเพื่อกระทำการดังกล่าว รวมถึงการแสดงพฤติกรรมทางชู้สาวอันไม่เหมาะสม กระทำการลามกอนาจาร แต่งกายล่อแหลมหรือไม่เรียบร้อยในโรงเรียนหรือสถานศึกษา หรือแต่งเครื่องแบบนักเรียนหรือนักศึกษาไม่เรียบร้อย ตลอดจนการเที่ยวเตร่นอกสถานที่พัก รวมกลุ่ม หรือมั่วสุมอันเป็นการสร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น
ไฟล์แนบ
2. กฤษฎีกาเห็นชอบให้ยกเลิกใช้ชื่อตำแหน่ง ‘ผอ.ร.ร.’ ให้ใช้ ‘ครูใหญ่’ แทน
เมื่อน้อง ๆ ได้ยินข่าวนี้ก็คงแปลกใจไม่น้อย เพราะเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 รศ.ดร.เอกชัย กี่สุขพันธ์ ประธานคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ(กมว.) คุรุสภา เปิดเผยว่า คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ที่มี ดร.มีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นในส่วนที่เกี่ยวกับกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) ซึ่งมีข้อเสนอที่หลากหลาย โดยคณะกรรมการกฤษฎีกา ยังให้กำหนดไว้ในร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ฉบับใหม่ เปลี่ยนชื่อตำแหน่ง ‘ผู้อำนวยการสถานศึกษา’ เป็น ‘ครูใหญ่’ ทำหน้าที่บริหารสถานศึกษา เพื่อให้การทำงานมีความชัดเจน โดยจะใช้ชื่อตำแหน่งครูใหญ่ กับ สถานศึกษาทุกขนาด อย่างไรก็ตามทั้งหมดนี้ยังเป็นเพียงข้อเสนอ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง
ขอขอบคุณข่าวจาก >>>www.dailynews.co.th
3. กระทรวงศึกษาถูกปรับงบปี 63 ลดลง 386 ล้านบาท
อีกหนึ่งข่าวที่น่าสนใจเป็นอย่างมากเมื่อ ไทยพีบีเอสออนไลน์ได้จัด 10 อันดับ หน่วยงานที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ปี 2563 ที่อิงตามข้อมูลการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 สำนักงบประมาณ ของกระทรวงต่างๆ ตามข้อมูลการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย โดยพบกระทรวงที่ถูกปรับลดงบประมาณลงจากปี 2562 พบ 7 กระทรวง โดยที่กระทรวงศึกษาธิการ ถูกปรับลดงบลง 386,746,900 บาท
แต่อย่างไรก็ตามถึงมีการปรับลดงบประมาณลง แต่หลายกระทรวงที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของพรรคพลังประชารัฐและพรรคร่วมรัฐบาลก็ยังคงติด 2 ใน 10 อันดับ หน่วยงานที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณมากที่สุด โดย กระทรวงศึกษาธิการมาเป็นอันดับที่ 2. ที่ได้รับการจัดสรรงบจำนวน 368,660,344,500 บาท
ขอขอบคุณข่าวจาก >>>www.news.thaipbs.or.th
4. พบเด็ก 'บูลลี่ในโรงเรียน' ร้อยละ 40
ถือเป็นอีกหนึ่งข่าวที่ฮือฮาไม่น้อยอยู่เหมือนกัน เมื่อการล้อเล่นกันของนักเรียนที่ทำอยู่ประจำกลายเป็นการบูลลี่โดยไม่รู้ตัว เพราะตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมาเราจะได้ยินข่าวการบูลลี่ กันเป็นอย่างมากจนถึงขั้นลงไม้ลงมือ และเกิดการศูนย์เสีย
โดยในวันที่ 19 ธ.ค. 2562 สำนักข่าว คม.ชัด. ลึก. ได้เผยแพร่ข่าวเกี่ยวกับการบูลลี่ในโรงเรียน ความว่า
ผศ.ดร.สมบัติ ตาปัญญา นักจิตวิทยาคลินิก และนักวิชาการด้านคุ้มครองเด็ก กล่าวว่าเด็กที่ถูกรังแกต่อเนื่องจะแสดงอาการอยู่ 2 ประเภท คือ 1.เก็บกดจนมีอาการซึมเศร้าและทำร้ายตัวเอง และ 2.แสดงออกภายนอกด้วยการลงมือกระทำความรุนแรง ต่อสู้จนกลายเป็นอาชญากรเด็ก
ในช่วงเวลาที่ผ่านมา มีหลายเคสที่เกิดเป็นข่าวและไม่เกิดเป็นข่าว ที่เป็นความรุนแรงในโรงเรียนอย่างคาดไม่ถึง ซึ่งเกิดมาจากการกลั่นแกล้งกัน งานวิจัยที่ตนเคยทำเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งกันในโรงเรียนพบว่ามีเด็กถูกรังแกถึง 40% เพราะฉะนั้นที่ปรากฏเป็นข่าวอาจจะเป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็งเท่านั้
โดยที่ ดร.สมบัติ มีข้อเสนอเชิงนโยบาย โดยยกตัวอย่างการแก้ไขปัญหาของต่างประเทศ ที่มีการออกกฎหมายให้โรงเรียนต่างๆ ต้องมีกิจกรรมป้องกันการรังแกกัน มีบททดสอบ และการประเมินผล ซึ่งหากสถานศึกษาหรือโรงเรียนใดไม่ปฏิบัติตามก็จะมีบทลงโทษ เช่น การตัดงบประมาณ เป็นต้น และจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสอน ให้เด็กรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ว่าเวลาถูกทำร้ายต้องทนทรมานแค่ไหน ให้รับรู้ความเจ็บปวดของคนอื่น ถ้าเด็กเข้าใจคนอื่นก็จะไม่รังแกกัน หากรัฐยังปล่อยปละละเลยให้สถิติการรังแกกันในโรงเรียนมีเพิ่มสูงขึ้น ก็จะส่งผลกระทบไปยังเด็กที่ถูกรังแกให้เกิดความกังวล สูญเสียคุณค่าในตัวเอง ส่วนเด็กผู้รังแกก็จะกลายเป็นขาใหญ่ประจำโรงเรียน เมื่อโตขึ้นมา หากเป็นนักการเมืองก็จะไม่เห็นหัวประชาชน
ขอขอบคุณข่าวจาก >>> www.komchadluek.net
5. ปฏิรูป! การศึกษาไทยก้าวไกลสร้างคนไทยยุค 4.0
น้อง ๆ คงเริ่มคุ้นเคยกันบ้างแล้วกับคนไทยยุค 4.0 แล้วน้องเคยลองมองกลับไปบ้างไหมว่าคนไทย 4.0 นั้นจะเริ่มจากตรงไหน โดยหนึ่งในการเริ่มต้นที่น่าสนไม่น้อยก็คงหนีไม่พ้นการศึกษา ที่จะเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะสามารถสร้างคนไทยยุค 4. 0 ได้สำเร็จ
ดังนั้นเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2562 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์ ได้เผยแพร่ข่าวการปฏิรูป! การศึกษาไทนก้าวไกลสร้างคนไทยยุค 4.0 ความว่า ก้าวเข้าสู้ 128 ปี กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีนโยบายการปฏิรูปการศึกษา เชื่อมโยงการศึกษาทุกระดับทุกประเภท ตั้งแต่ระดับก่อนอนุบาล อนุบาล ประถมฯ มัธยมฯ อาชีวศึกษา อุดมศึกษา รวมทั้งการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย โดยมุ่งสร้างผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษาสำหรับผู้เรียน สร้างคนไทย 4.0
ที่จะต้อง “ธำรงความเป็นไทยและแข่งขันได้ในเวทีโลก”...รวมทั้งขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา มีเป้าหมายพัฒนาใน 4 ยุทธศาสตร์ ทั้งครู นักเรียน คุณภาพสถานศึกษา ด้านการบริหาร ด้วยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ช่วยกันยกระดับการศึกษา พัฒนาอย่างทั่วถึง เข้มแข็งวิชาการ พัฒนาพร้อมด้านจริยธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ และอีกงานสำคัญคือ...“โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่” ต่อเนื่องไปถึงโครงการ...“บัณฑิตพรีเมียม”
ขอขอบคุณข่าวจาก >>> www.thairath.co.th
6.TCAS รูปแบบใหม่ ลดรอบ ลดรูปแบบ และข้อสอบใหม่
และข่าวสุดท้ายที่มีความจำเป็นกับน้องอย่างมากเกี่ยวกับการศึกษาต่อ คงเป็นข่าวนี้เมื่อที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เผยรายละเอียดการปรับรูปแบบระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (TCAS) ซึ่งจะค่อยๆ ปรับไปทีละน้อย จนแล้วเสร็จใน TCAS66 โดยจะมีการลดรอบ ลดรูปแบบ ไปจนถึงการปรับรูปแบบข้อสอบใหม่ มีรายละเอียดดังนี้
TCAS63
รูปแบบการคัดเลือก : 5 แบบ
รอบการสมัคร : 5 รอบ (แต่ละแบบ คือ แต่ละรอบ)
TCAS64
รูปแบบการคัดเลือก : 5 แบบ
รอบการสมัคร : 4 รอบ (รวมรอบของแบบที่ 3 Admission 1 กับ แบบที่ 4 Admission 2)
TCAS65
รูปแบบการคัดเลือก : 5 แบบ
รอบการสมัคร : 4 รอบ (รวมรอบของแบบที่ 3 Admission 1 กับ แบบที่ 4 Admission 2)
TCAS66
รูปแบบการคัดเลือก : 4 แบบ (ยกเลิก รูปแบบที่ 4 Admission 2)
รอบการสมัคร : 4 รอบ (1.Portfolio 2.Quota 3.Admission(มีแต่แบบ Admission 1) 4.Direct Admission)
จะมีการปรับข้อสอบ GAT ใน ปี 64 คือ การมีข้อสอบ T-GAT เพิ่มเติมขึ้นมา เป็นตัวเลือกให้มหาวิทยาลัยที่ต้องการวัดด้านความถนัดและสมรรถนะใช้เป็นองค์ประกอบคัดเลือกใน รูปแบบที่ 2 โควตา , รูปแบบที่ 3 รับตรงร่วมกัน และ รูปแบบที่ 5 รับตรงอิสระ เพิ่มเติมจาก ข้อสอบ GAT/PAT ข้อสอบ 9 วิชาสามัญ และข้อสอบ O-NET ที่ยังคงใช้เป็นองค์ประกอบคะแนนคัดเลือกอยู่ ซึ่งเป็นการทดสอบ Aptitude & Competency Examination มี 3 Domains
ในส่วนของการปรับข้อสอบ PAT จะเกิดขึ้นใน TCAS66 (T-PAT) โดยมีการลดจำนวนสอบจาก 7 วิชา เหลือ 5 วิชา ได้แก่
- วิศวกรรมศาสตร์
- สถาปัตยกรรมศาสตร์
- ศิลปกรรมศาสตร์
- ครุศาสตร์
- แพทยศาสตร์ (รวม ทันตแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ และสัตวแพทยศาสตร์)
ขอขอบคุณข่าวจาก >>> www.admissionpremium.com
เป็นอย่างไรกันบ้างน้อง ๆ กับช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมาเราได้รับรู้และเป็นถึงการเปลี่ยนแปลงของวงการการศึกษาของไทยไปอย่างมาก และน้อง ๆ คิดว่าเรื่องไหนดี และเรื่องไหนโดนบ้าง โดยข่าวพี่ที่ได้หยิบขึ้นมานั้นนับว่าเป็นข่าวที่ข้อนข้างสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับการศึกษาของเราไม่น้อง แต่ก็ใช่ว่าสิ่งเหล่านี้เมื่อเปลี่ยนแล้วจะแย่ลง หรือจะดีขึ้น พี่คิดว่ามันคงอยู่ที่ตัวพวกเรา รวมถึงสังคมภายนอกด้วยหากเราสนใจและใส่ใจการศึกษาคงไม่ใช่เรื่องแค่ผู้บริหาร ผู้สอน และผู้เรียนเท่านั้น เพราะการศึกษานั้นเป็นเรื่องของทุก ๆ คน
สุดท้ายแล้วพี่ขอถือโอกาศนี้อำนวยอวยพรปีใหม่ให้กับน้อง ๆ ทุกคน มีสุขภาพแข็งแรง พบเจอแต่สิ่งดี ๆ สอบก็ขอให้ได้คะแนนอย่างที่ตั้งไว้ แอดมหาวิลยาลัยไหนก็ขอให้ได้ให้โดนมี ความสุขตลอดปี ตลอดไป....