สำหรับใครทีกำลังเตรียมตัวจะยื่น Portfolio (แฟ้มสะสมงาน) เพื่อขอทุนเรียนต่อ นั้นควรศึกษาขั้นตอนการทำให้ดี เพราะสิ่งนี้จะบ่งบอกทุกอย่างที่เป็นตัวเรา เพื่อสื่อสารให้คนอ่านได้พิจารณาง่ายขึ้น โดยพื้นฐานของพอร์ตฟอลิโอโดยทั่วไปแล้วควรประกอบไปด้วย หน้าปก ประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษากิจกรรมที่เคยเข้าร่วม รางวัลที่เคยได้รับและผลงานต่างๆ และ ภาคผนวก เราไปดูรายละเอียดของแต่ละองค์ประกอบกันได้เลย
1. หน้าปก : เทคนิคการทำหน้าปก ควรบอกข้อมูลให้ชัดเจนในหน้าปก พยายามเลือกฟอนต์ที่อ่านง่าย เห็นชัดเจน รูปภาพควรบ่งบอกถึงตัวเรามากที่สุด โดยการแต่งกายต้องเป็นชุดสุภาพ
2. ประวัติส่วนตัว : บอกประวัติส่วนตัวให้ละเอียด อย่างเช่น ชื่อ-นามสกุล, ชื่อเล่น, อายุ, วันเกิด, กรุ๊ปเลือด, นิสัย, ความชอบ หรืองานอดิเรก, สิ่งที่สนใจ หรือแม้กระทั่งว่าเรามองอนาคตอย่างไรก็สามารถใส่เข้าไปในส่วนนี้ได้ หรืออาจโชว์ความสามารถโดยการทำประวัติส่วนตัวที่เป็นภาษาต่างประเทศ หรือ มากกว่า 1 ภาษาในเนื้อหาเรื่องเดียวกัน
3. ประวัติการศึกษา : ต้องบอกประวัติการศึกษาของตนเองให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย มีการลำดับความสำคัญได้ดี
ควรหลีกเลี่ยงการใช้ตัวย่อ เพื่อให้เข้าใจง่ายคุณสามารถเลือกใช้เทคนิคการอธิบายด้วยรูป สถิติ หรือ ตาราง ซึ่งจะช่วยแสดงให้เห็นความคิดสร้างสรรค์ของคุณต่อกรรมการคัดเลือกได้
4. กิจกรรม : ส่วนนี้ถือว่าเป็นหัวใจหลักของพอร์ตฟอลิโอ เลยก็ว่าได้ ดั้งนั้นควรเลือกกิจกรรมเด่นๆ ของเรามาใส่โดยอาจจะเลือกการจัดเรียงแบบระดับชั้น และควรเลือกกิจกรรมมีความเกี่ยวข้องกับคณะที่เราอยากจะเข้าเรียนด้วย
5. รางวัลและผลงาน : ควรเลือกแค่ผลงาน หรือรางวัลเด่นๆ ที่สามารถบอกว่าตัวเราเองนั้นมีความสามารถอะไรบ้างโดยการใส่ภาพผลงานนั้นๆ ลงไป และเขียนอธิบายความภูมิใจในผลงานต่างๆ ที่เคยได้ทำไว้ว่าดีอย่างไร
6. ภาคผนวก : ส่วนนี้คือส่วนปิดท้าย ที่จะรวบรวมเอาเอกสารและภาพกิจกรรมต่างๆ ที่นอกเหนือจากข้ออื่นๆ พร้อมทั้ง สำเนาใบทรานสคริป ที่จะเป็นตัวบ่งบอกความสามารถเพิ่มเติมของเราด้วยการจะสร้างสรรค์งานงานหนึ่ง ถือเป็นเรื่องที่ต้องพิถีพิถันอย่างมาก โดยเฉพาะงานออกแบบกราฟฟิค ต้องใช้จินตนาการ ความสามารถและความเข้าใจในเนื้อหาของงานให้ดี ตัวอย่างการออกแบบ พอร์ตฟอลิโอ ต้องสามารถสะท้อนความพิเศษเจ้าของผลงานให้โดดเด่น ออกไปแลกเปลี่ยนไอเดีย ทำพอร์ตฟอลิโอกันได้ที่ Coworking Space
หากอยากสร้างสรรค์ พอร์ตฟอลิโอ ให้สวยงาม และหลากหลาย ลองใช้บริการ Coworking Space ของ True Space ทุกสาขามีทีนั่งทำงาน ให้เลือกใช้บริการที่หลากหลาย จะเช่าห้องทำงานส่วนตัว หรือนัดเพื่อนมาระดมพลังสร้างสรรค์ก็สามารถทำได้
โดยปัจจุบัน True Space พร้อมเปิดให้บริการแล้ว 6 สาขา
Coworking Space ม.หอการค้า ที่ติวหนังสือ สอนพิเศษ เช่าห้องประชุม
Coworking Space มมส. ที่ติวหนังสือ สอนพิเศษ เช่าห้องประชุม
Coworking Space ม. มหิดล ศาลายา ที่ติวหนังสือ สอนพิเศษ เช่าห้องประชุม
Coworking Space สยามสแควร์ ซอย 2 ที่ติวหนังสือ นั่งทำงาน จัดกิจกรรม เช่าห้องประชุม