พักผ่อนไม่เพียงพอ
เราทุกคนรู้กันอยู่แล้วว่า การนอนหลับพักผ่อนน้อยย่อมมีผลต่อการเรียนรู้ เพราะเมื่อเรานอนพักผ่อนไม่เพียงพอ ในเวลากลางวันหลังกินข้าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว เมื่อเริ่มเรียนในช่วงบ่ายเราก็มักที่จะมีอาการง่วงนอนหรืออ่อนเพลีย (เรียกง่ายๆ ว่าอิ่มท้องหนังตาก็หย่อน ทำให้เราเกิดอาการง่วงนอนนั่นเอง) จนทำให้เราเกิดอาการขี้เกียจไม่อยากเรียนหรือเรียนไม่รู้เรื่องเลย ดังนั้น วิธีง่ายๆ ที่จะช่วยทำให้เราเข้านอนได้เร็วยิ่งขึ้นและเป็นเวลามากยิ่งขึ้น ก็คือการตั้งฬิกาเอาไว้นั่นเอง โดยที่เราอาจจะตั้งนาฬิกาเอาไว้ 30-45 นาทีก่อนเข้านอน เพื่อเป็นการเตรียมตัวเข้านอน เช่น เข้าห้องน้ำก่อน แปรงฟัน เป็นต้น และก็ห้ามลืม!! ที่จะตั้งนาฬิกาปลุกเอาไว้ตอนเช้าด้วย ไม่งั้นได้ตื่นสายแน่นอน ซึ่งเวลาที่เหมาะสมในการนอนให้ร่างกายได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ก็อยู่ที่ 7-8 ชั่วโมง
วางแผนในการเรียนผิด
เรามักที่จะชอบวางแผนหรือตั้งเป้าหมายในชีวิตมากจนเกินไป จนทำให้เราเครียดและโกรธตัวเองเวลาที่ทำตามแผนที่วางไว้ไม่ได้ ซึ่งเราต้องรู้ก่อนว่าการที่เราวางแผนการเรียนเอาไว้เป็นสิ่งที่ดี แต่เราก็ควรที่จะมองการณ์ไกลเอาไว้ด้วย ไม่ใช่ดูที่ผลระยะสั้นเท่านั้น และอีกหนึ่งเรื่องที่เราไม่ควรพลาดเลยก็คือ เรื่องของเวลา เช่น บางคนอาจจะวางแผนเอาไว้ว่า จะให้เวลาในการอ่านหนังสือและทบทวนบทเรียนวันละ 8 ชั่วโมง แต่เรากลับไม่คิดว่าจริงๆ แล้วเราอ่านได้เพียง 3-4 ชั่วโมงต่อวันเท่านั้น เพราะนอกจากที่เราจะต้องอ่านหนังสือทบทวนบทเรียนแล้ว ยังมีกิจกรรมอื่นๆ ให้ทำอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นเวลาของการกินข้าว ออกไปซื้อของ ออกกำลังกาย คุยกับเพื่อนๆ เป็นต้น ดังนั้น เราควรที่จะตัดเวลาออกไปหรือแบ่งเวลาใหม่ เช่น เราอาจจะลดการอ่านหนังสือ ทบทวนบทเรียน เหลือเพียง 4 ชั่วโมง ส่วนเวลาที่เหลือก็ไปทำกิจกรรมอย่างอื่น เป็นต้น ซึ่งการที่ทำแบบนี้จะยิ่งช่วยทำให้เราไม่เครียดจนเกินไป แถมยังทำให้เราได้พักผ่อนสมอง เตรียมการเรียนรู้ในวันถัดไปได้ดีอีกด้วย
วิธีการเรียนไม่เหมาะสมกับตนเอง
คนเรานั้นสามารถเรียนรู้ได้โดยวิธีการที่แตกต่างกัน บางคนอาจเรียนรู้ได้ดีจากการอ่าน บางคนอาจเรียนรู้ได้ดีจากการฟัง บางคนอาจเรียนรู้ได้ดีจากการลงมือปฏิบัติ ดังนั้นรูปแบบการเรียนที่เหมาะสมของแต่ละคนจึงแตกต่างกันออกไป คนที่เรียนรู้จากการฟังอาจจะใช้วิธีการตั้งใจฟังครูในห้องเรียน หรือให้เพื่อนที่เก่ง ๆ ช่วยติวให้ เพราะอ่านเองแล้วจะไม่รู้เรื่องเท่าไหร่ ส่วนเพื่อนที่เรียนรู้ได้ดีจากการอ่านแม้ว่าจะไม่ได้เพื่อนเก่ง ๆ ช่วยติวหนังสือ ก็สามารถที่จะมาอ่านเองแล้วรู้เรื่องได้ดีกว่าก็เป็นได้ ดังนั้นเลือกวิธีการเรียนให้เหมาะสมกับตนเอง แล้วการเรียนให้รู้เรื่องจะไม่ยากเลยละ !
เรามักจะรอเวลา ทำอะไรช่วงใกล้ๆ สอบ
บางคนอาจจะคิดว่า อ่านหรือทบทวนช่วงนี้ไป เดี๋ยวช่วงเวลาใกล้สอบก็ต้องลืม ต้องกลับมาอ่านใหม่อีกครั้งอยู่ดี ดังนั้น จึงค่อยมานั่งทบทวนบทเรียน หรืออ่านหนังสือใกล้ช่วงสอบกัน ซึ่งขอบอกเลยว่าเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำเลย เพราะอาจจะทำให้เราอ่านไม่ทันแล้ว ยังทำให้สิ่งที่อ่านเข้าไปไม่เข้าสมองอีกด้วย จำอะไรไม่ได้เลย สืบเนื่องมาจากที่เราอ่านหลายๆ วิชาในเพียงไม่กี่วันและรีบอ่านจนเกินไป วิธีการแก้ไขง่ายๆ เลยก็คือ ให้เราสร้างแรงผลักดันให้กับตัวเอง โดยที่ให้คิดอยู่เสมอว่า เราเรียนไปเพื่ออะไร? ต้องการเกรดเท่าไหร่? แล้วต้องการสอบเข้าเรียนต่อในคณะ/สาขาวิขชาไหน? เพียงเท่านี้ก็จะทำให้เรามีความอยากอ่านหนังสือ ตั้งใจเรียนแล้ว เพื่อทำตามในสิ่งที่หวังเอาไว้
ไม่ทบทวนบทเรียน
สาเหตุอีกหนึ่งอย่างที่ทำให้เรียนไม่รู้เรื่องคือการไม่ทบทวนบทเรียนครับ การทบทวนบทเรียนในที่นี้ไม่ได้ให้น้อง ๆ อ่านหนังสืออย่างกระหน่ำนะครับ แค่เมื่อเรียนเสร็จแต่ละวันก็เอาสมุดที่จดมาเปิดอ่านบ้างสัก 30 นาที - 1 ชม มีงานวิจัยจำนวนมากที่สนับสนุนว่าการเรียนในห้องเรียนเพียงอย่างเดียวโดยไม่ทบทวนบทเรียนนั้นจะทำให้ผู้เรียนลืมเนื้อหานั้นได้เร็วกว่าการทบทวนบทเรียนบ้าง อย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งเมื่อน้อง ๆ ไม่เคยทบทวนบทเรียนเลยเมื่อต้องเรียนคาบต่อที่ต้องใช้พื้นฐานของคาบก่อนหน้าก็อาจจะทำให้น้องเรียนไม่รู้เรื่องได้อีกด้วย ดังนั้นเสียเวลาสักวันละประมาณ 30 นาที – 1 ชมในแต่ละวันเพื่อทบทวนเนื้อหาวิชาที่เรียนคงไม่ยากเท่าไหร่นะครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก
www.top-atutor.com
campus.campus-star.com