เวลานี้น้องๆ หลายคนคงได้ทำ Portfolio เพื่อเตรียมสมัครTCAS รอบที่1 ที่จะเปิดรับสมัครเรียบร้อยแล้ว หรือน้องๆ บางคนอาจกำลังลังเลอยู่ว่าจะทำแบบไหนให้โดนใจกรรมการ วันนี้พี่ Admission Premium มีคำแนะนำเล็กๆน้อยๆ เกี่ยวกับเรื่องที่ควรรู้ในการทำ Portfolio ที่จะมาช่วยไกด์แนวทางให้โดนใจกรรมการมากยิ่งขึ้น
1. “รู้จักตัวเอง สำรวจตนเองให้รอบด้าน“
ก่อนที่น้องๆ จะยื่น Portfolio ในคณะ สาขาไดแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดนั้นคือน้องๆ ต้องรู้จักตนเองให้ดีเสียก่อน ว่าเราต้องการที่จะเรียนคณะ สาขานี้จริง? ไม่ได้ตามเทรน ไม่ตามเพื่อน สำรวจตนเองให้รอบด้านอย่างคิดเข้าข้างตัวเองว่าเหมาะสมแล้ว เพราะนี้คือเส้นทางที่น้องเลือกเดิน ให้ไปสู่ความใฝ่ฝันในการประกอบอาชีพในอนาคต และถือเป็นก้าวแรกที่ยิ่งใหญ่อีกก้าวหนึ่งของชีวิต
2. “เช็ก!! เพื่อ ชัวร์ 10 หน้ามีอะไรบ้าง“
แน่นอนตามระเบียบแล้ว Portfolio ในรอบที่1 นี้มีเกณฑ์กำหนดไม่เกิน 10 หน้า ไม่รวมหน้าปก แต่บางมหาวิทยาลัย คณะ สาขา อาจจะมีข้อกำหนดเฉพาะที่ต้องการให้ระบุเพิ่มเติมขึ้นมา ดังนั้นน้องๆ ควรหาข้อมูลของแต่ละมหาวิทยาลัย คณะ สาขา ให้แน่นอน เพื่อความชัวร์ และจะได้ไม่พลาดไม่เสียโอกาสดีๆไป ก่อนทำ Portfolio
3. “แสดงให้เห็นว่าเราเหมาะสม”
เมื่อรู้จักตนเอง และเช็คตรวจสอบระเบียบในการทำ Portfolio แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่น้องๆ ควรทำนั้นคือความเหมาะสม น้องๆต้อง Present ตนเองให้มากที่สุดว่าเหมาะสมที่สุด และเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติที่ตรงกับความต้องการของคณะ สาขาที่เลือก รวมถึงแสดงความต้องการของตัวเองให้ชัดเจนว่าจะเข้าเรียนในคณะ สาขานั้นจริงๆ รวมถึงความใฝ่ฝันในการประกอบอาชีพในอนาคต ที่ตรงกับองค์ความรู้ของสาขาที่สมัครเข้าคัดเลือก
4. “First impression“
"ความรู้สึกประทับใจเมื่อแรกพบ" สิ่งนี้ยังใช้ได้เสมอกับทุกๆสิ่ง น้องๆหลายคนอาจจะมึนๆ ว่าจะสร้าง First impression ได้ยังไง ในเมื่อยังไม่ได้เจอหน้ากัน อ๊ะๆ น้องอาจจะลืมไปว่าความจริงแล้วน้องสามารถสร้างความประทับใจเหล่านี้ได้ด้วยหน้าปกของ Portfolio ที่นำเสนอตัวตนเองได้ดีที่สุด ให้ดูแล้วรู้เลยว่าเราเหมาะสมกับคณะ สาขานี้มากๆ และนำไปสู่การเปิดหน้าถัดไป ก็เปรียบเสมือนหนังสือ เมื่อน้องๆ เลือกจะอ่านหนังสือสิ่งแรกที่จะทำให้น้องหยิบหนังสือนั้นมาอ่าน คือหน้าปก ก่อนที่น้องจะเข้าไปอ่านเนื้อหาในหนังสือ
5. “ส่วนประกอบครบ”
แม้มีหน้าปกที่สร้างสรรค์ให้ดูโดดเด่น สะดุดตา จนสามารถทำให้กรรมการเห็นแล้วอยากหยิบขึ้นมาอ่าน แต่องค์ประกอบต่างๆ ที่กำหนดนั้นไม่ครบก็อดนะ น้องต้องเช็คให้ดีว่าสิ่งที่คณะสาขา กำหนดและต้องการให้มีนั้นน้องๆ ใส่ลายละเอียดลงไปแล้วหรือยัง? เพราะนั้นแสดงให้เห็นถึงความใส่ใจ ความละเอียดรอบคอบ และความพร้อม
6. “ชัดเจน แจ่ม แจ๋ว”
ในแต่ละส่วนของ Portfolio ควรระบุให้ชัดเจน เช่น ในหน้าประวัติส่วนตัวควรใส่ข้อมูลพื้นฐาน เช่น ชื่อ-สกุล ชื่อเล่น อายุ คติประจำใจ ความสามารถพิเศษ งานอดิเรก ความสนใจที่เกี่ยวข้องกับคณะ สาขา และควรมีรูปตนเองเอาไว้ด้วย หรืออย่างในส่วนของหน้าประวัติการศึกษา น้องๆ ควรระบุว่าเรียนโรงเรียนไหน สายการเรียนอะไร เกรดเฉลี่ยรวมเท่าไหร่ และลำดับการศึกษาให้ดี
7. “เลือกอย่างมี strategy คัดเนื้อๆ เน้นๆ”
เดินทางมาถึงตรงนี้ สิ่งที่สำคัญและถือเป็นใจความหลักของ Portfolio เลยก็ว่าได้ นั้นคือ น้องๆควรคัดเลือกสุดยอดผลงาน ที่สร้างความโดดเด่นของตนเองให้แตกต่างจากผู้อื่นได้ ไม่ควรนำกิจกรรมหรือรางวัลที่ไม่เกี่ยวข้องกับคณะ สาขาที่ต้องการเข้าเรียนมาใส่ อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ “การบอกให้คณะกรรมการเข้าใจ ว่าทำไมเราถึงอยากเรียนสาขา คณะ หรือสถาบันนี้มากที่สุด ” อย่าลืมบอกสิ่งที่ตนเองถนัด แรงบันดาลใจของตนเอง
8. “เรียงลำดับ ให้ชัดเจน”
การเรียงลำดับว่าข้อมูลใน Portfolio เป็นสิ่งที่สำคัญอีกสิ่งหนึ่งจะทำให้กรรมการรู้จักเราได้ง่ายขึ้น เข้าใจลำดับความเป็นมาเป็นไป และ อาจจะมีนัยแอบแฝงอยู่ “คือสิ่งที่ จะทำให้เห็นถึงการเรียงลำดับความสำคัญต่างๆ ในชีวิต ” ดังนั้นน้องๆ ควรรู้ว่าสิ่งใดควรจัดวางไว้ก่อน-หลัง สิ่งเหล่านี้อาจจะขึ้นอยู่กับสิ่งที่น้องต้องการบอก ถ้าทั่วไปสิ่งที่ควรนำเสนอให้คณะกรรมการรู้จักคือ ประวัติของน้องเอง เพราะเป็นสิ่งแรกของการทำความรู้จัก จากนั้นก็จะเรียงลำดับหน้าตามที่น้อง ๆ ร้อยเรียงเรื่องราว หรือบางคณะ สาขา อาจจะมีการกำหนดความต้องการไว้แล้ว ว่าต้องการให้เราเรียงข้อมูลแบบไหน ดังนั้น้องๆ ควรเช็คในรายละเอียดของแต่ละคณะ สาขาด้วยนะ
9. ”เก็บให้หมดทุกเม็ด”
รายละเอียดเล็กๆน้อยๆ น้องควรเก็บให้หมด เพราะนั้นคือสิ่งที่บ่งบอกความใส่ใจในการทำงาน และอาจจะกลายเป็นสิ่งเรื่องที่จะใช้ในการตัดสินเลยก็ได้ นอกจากองค์ประกอบที่ครบถ้วนแล้ว บางคณะ สาขา อาจมีรายละเอียดจุกจิกยิบย่อยที่แตกต่างไปไม่เหมือนใคร ซึ่งถ้าน้องๆ คนไหน สามารถทำแฟ้มออกมาได้ตรงตามเงื่อนไขได้อย่างครบถ้วน ก็ยิ่งสะท้อนความตั้งใจและทำให้คณะกรรมการประทับใจในความพยายาม
10. “ใส่ความเป็นตัวเองลงไปอย่างสร้างสรรค์”
ทุกคนก็คงทำ Portfolio ออกมาสวยงานอยู่แล้ว แล้วกรรมการจะเลือกยังไง ? ดังนั้นข้อนี้ก็สำคัญไม่แพ้กัน คือ ใส่ความเป็นตัวเองลงไปอย่างสร้างสรรค์ เพราะแต่ละคนย่อมมีเอกลักษณ์เป็นของตนเองที่แตกต่างกัน แต่ก็ควรให้อยู่ในขอบเขตที่พอดี ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป เท่านี้น้องๆก็จะมีอะไรเพิ่มขึ้นอีกเยอะ และแถบยังแตกต่างจากคนอื่นด้วยนะ
สุดท้ายแล้วขอเสริมอีกนิดหนึ่งนอกจาก 10 ข้อนี้แล้วสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ "การลงมือทำด้วยความตั้งใจ และความเชื่อมั่นในตัวเอง " เพราะพี่เชื่อว่า หากเราเราทำสิ่งไหนด้วยความตั้งใจแล้ว กรรมการจะเห็นแน่นอน เท่านั้นยังไม่พอ สิ่งนั้นคือความสำเสร็จที่ทำให้เราภูมิใจ อย่างน้อยที่สุดหากไปไม่ถึงฝันเราก็รู้แล้วว่าเราทำดีที่สุดแล้ว และจะได้ไม่ต้องมานั่งเสียใจ