ใกล้เข้าสู่เทศกาลของการสมัคร TCAS รอบที่ 1 แล้ว ซึ่งการสมัครในรอบนี้เป็นการชิงตั๋วเข้าเรียนต่อสำหรับน้องๆ ที่มีผลงานทางด้านกิจกรรม วิชาการ ดนตรี หรือกีฬา เป็นต้น ในหลายๆ บทความ พี่ AdmissionPremium ได้แนะนำเทคนิกในการทำ Portfolio มาแนะนำบ้างแล้วทั้งข้อมมูลที่ควรใส่ ทั้งการจัดเรียงหน้าตามที่ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย(ทปอ.) ได้ประกาศไว้ เพื่อตอกย้ำความชัวร์วันนี้พี่จึงนำอีกหนึ่ง เคล็ดไม่ลับ ทำ Portfolio ยังไง? ให้โดนใจกรรมการ มาฝากน้องๆ ที่จะทำให้ Portfolio น้องๆ ได้ชิงตั๋วเข้าเรียนก่อนเพื่อนๆ จะเป็นยังไง ไปดูกันเลยดีกว่า!!
1. ใช้สีสร้างแรงดึงดูด
การใช้สีนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการดึงดูดและสร้างความหน้าน่าสนใจให้ผลงานของน้องๆ ไม่น้อย พี่ถึงพูดได้ว่าน้องๆ ควรใช้สีให้เป็น เพราะสีสื่อถึงความหมายได้หลายอย่าง โดยทั่วไปแล้วการทำ Portfolio มักจะมีการใช้สีที่เป็นสีประจำมหาวิทยาลัย หรือสีประจำคณะ/สาขา ที่ต้องการเข้าเรียนต่อ เพื่อแสดงออกถึงความสนใจการใส่ใจที่จะศึกษาหาข้อมูลของมหาวิทยาลัย หรือคณะ/สาขาก่อนที่จะเข้าเรียน หรืออาจจะเป็นสีที่เราชอบโดยเคล็ดลับอยู่ที่ไม่ควรใช้สีมากกว่า 3 สี เพราะจะทำให้ Portfolio ควบคุมสียากไม่โดดเด่น
2. "สัน กระชับ ตรงประเด็น"
สิ่งถัดมาที่กรรมการต้องการเลย คือ ต้องการทราบว่าน้องเป็นใคร? โดยในข้อมูลส่วนนี้น้องๆ ควรใส่ข้อมูลพื้นฐานให้ครบ เช่น ชื่อ - สกุล วันเดือนปีเกิด ชื่อเล่น ภูมินำเนา ผู้ปกครอง เป็นต้น รวมผลถึงเหตุผลที่น้องๆ อยากเข้าเรียนที่แสดง Passion รวมถึงทัษนคติที่สะท้อนตัวตนของน้องๆ ที่สอดคล้องกับความสามารถที่น้องๆ ส่งมา ควรเขียนเป็นเรียงความแบบย่อความยาวไม่เกิน 1 หน้า A4 แต่บางโครงการจะกำหนดหัวข้อมาให้ ดังนั้นน้องๆ ควรศึกษาระเบียบการอีกครั้งก่อนลงมือทำ
3. เรียงผลงานตาม Timeline จากล่าสุดไปอดีต
การเรียงลำดับจากล่าสุดไปอดีต เป็นการเขียนที่อาจจะไม่ได้ให้ความสำคัญกับเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวกับการทำกิจกรรม หรือ ผลงานของน้องๆ เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการเรียงข้อมูลและลำดับเหตุการต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิต เช่น เขียนจากประวิติส่วนตัวที่อยู่ปัจจุบัน การศึกษาจากปัจจุบันไปถึงอดีต การทำกิจกรรมต่างๆ ทักษะความสามารถ รวมถึงรางวัลและรูปภาพประกอบเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ
4. “เน้นทักษะ” โชว์ความสามารถ
การให้ความสำคัญกับความสามารถที่น้องๆมี จะเน้นให้มหาวิทยาลัย คณะ/สาขาที่น้องๆ ต้องการเข้าเรียน ได้เห็นถึงทักษะ และความสามารถของน้องๆ อย่างโดดเด่น ซึ่งลักษณะการเขียนหรือการจัดเรียงแฟ้มอาจจะไม่ต้องเขียนแบบเรียงลำดับเวลา แต่เน้นที่ “ทักษะในปัจจุบัน หรือรางวัลที่เป็นปัจจุบัน” ที่น้องๆ ได้รับจากประสบการณ์ทั้งหมดที่ผ่านมา
5. โชว์เก๋า ใส่ความเป็นเราลงไป
ทุกคนก็คงทำ Portfolio ออกมาสวยงานอยู่แล้ว แต่กรรมการจะเลือกยังไง ? ดังนั้นข้อนี้ก็สำคัญไม่แพ้กัน คือ ใส่ความเป็นตัวเองลงไปอย่างสร้างสรรค์ เพราะแต่ละคนย่อมมีเอกลักษณ์เป็นของตนเองที่แตกต่างกัน แต่ก็ควรให้อยู่ในขอบเขตที่พอดี ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป เท่านี้น้องๆก็จะมีอะไรเพิ่มขึ้นอีกเยอะ และแถบยังแตกต่างจากคนอื่นด้วยนะ
6. ใช้ Font ให้เหมาะสม
อีกหนึ่งเคล็ดลับที่ไม่อยากให้พลาด นั้นคือ การใช้ Font ให้เหมาะสม ควรใช้ไม่มากกว่า 2 - 3 รูปแบบและหากจะให้ดีควรออกแนวทางการ เพื่อให้กรรมการดูรู้ และเข้าใจ ในส่วนของหัวข้อใหญ่อาจจะใช้ตัวใหญ่ขนาดเดียวกันทั้งหมด หัวขอรองก็ใช้ขนาดเดียวกันทั้งหมด เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย เข้าใจง่าย ดูสบายตา
ทั้ง 6 เคล็ดไม่ลับนี้ ที่พี่AdmissionPremium นำมาฝากน้องก็อย่าลืมลองหยิบไปใช้ ใน
Portfolio ของตัวเองบ้าง รับรองว่าไม่ผิดหวังอย่างแน่นอน เพราะนี้อาจจะเป็นรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่น้องๆ สามารถดึงความสนใจให้กับ Portfolio ของตัวเองได้
อ้างอิง >>>www.blog.jobthai.com