สอบเข้ามหาวิทยาลัย

ต้นแบบหุ่นยนต์​อนาคต ผลงานจากการเรียนแบบ C+T จากคณาจารย์ และ #DekBU



กลับมาเจอกันอีกตอนแล้วนะครับ หลังจากที่พี่โดมได้พา น้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับการเรียนรูปแบบใหม่ C + T (Creativity + Technology) สำหรับใครที่ยังไม่ได้อ่าน สามารถย้อนอ่านได้ที่นี่ (คลิก) แต่วันนี้พี่โดมจะพาไปเจาะลึกการเรียน แบบ C + T ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.กรุงเทพ



​พี่โดมร่วมสัมภาษณ์สุดพิเศษกับ
ผศ.ดร.ปกรณ์ ยุบลโกศล
รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ


 

พี่โดม Admission Premium : เรียนวิศวกรรมแบบ “Creativity+Technology” และดีกว่าการเรียนวิศวะแบบปกติอย่างไร ?

 

ผศ.ดร.ปกรณ์ ยุบลโกศล : ในมุมของนักวิศวกรแล้ว เราใช้ Creativity หรือความคิดสร้างสรรค์ นักวิศวกรเราใช้อยู่แล้วครับ เราใช้ในการหา Solution ใหม่ ๆ โดยเราจะเอาความคิดสร้างสรรค์กลับมาแก้ไขปัญหาเดิม หรือจะนำไปต่อยอดสิ่งใหม่ ๆ เพราะฉะนั้นนนอกเหนือจากสื่อการเรียนการสอน หรือ เครื่องมือที่นักศึกษารู้จักกันอยู่แล้ว แต่ที่คณะวิศวกรรม เราเรียนแบบ C+T นักศึกษาเราจะได้รับการเรียนรู้ใน Skills แบบใหม่ เช่น นักศึกษาวิศวกรรมไฟฟ้า จะได้ไปเรียนรู้เครื่องมือของ Computer Engineering ทั้งด้านของ AI และ Robotics ซึ่งผลลัพธ์ของนักศึกษาก็จะสามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีใครคิดค้นมาเลยก็ได้ 

 

พี่โดม Admission Premium :  แตกต่างจากการเรียนแบบเดิมยังไงครับอาจารย์ ?

 

ผศ.ดร.ปกรณ์ ยุบลโกศล : การเรียนวิศวกรรมแบบเดิม พื้นฐานเราเป็นนักคิดค้น และประดิษฐ์ หากตอนนี้เรายังคงเรียนแบบเดิม ๆ เครื่องมือ อุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอน จะเป็นกรอบสีเหลี่ยมให้นักศึกษาได้เรียนรู้เท่านั้น ซึ่งปัจจุบันโลกของเราเปลี่ยนการเรียนการสอนจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม เช่น วิศวกรรมไฟฟ้า ต้องมีความรู้เกี่ยวกับวิศวกรรมโยธา เมื่ออุตสาหกรรมเกิดปัญญาอาจจะไม่สามารถใช้อุกรณ์ หรือเครื่องมือแบบเดิมได้ 

 

ยกตัวอย่างง่าย ๆ นะครับ เช่น วิศวกรโยธา เราอยากทราบว่าตอนนี้อาคารยังดีไหม มีการแตกหรือร้าวตรงไหนบ้าง เมื่อก่อนก็ต้องส่งวิศวกรโยธาไปวัด แต่ปัจจุบันเราสามารถออกแบบตึกโดยการฝังเซนเซอร์ไว้ที่ผนังในตึก พร้อมมอนิเตอร์สภาพอาคารออกมาได้ทันที 

 

พี่โดม Admission Premium : ยกตัวอย่าผลงานรุ่นพี่วิศวะ ม.กรุงเทพ ที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ในการพัฒนาเทคโนโลยี มีอะไรบ้างและตอบโจทย์ยุคดิจิตอลได้อย่างไร ?

 

ผศ.ดร.ปกรณ์ ยุบลโกศล : เมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว เรามีผลงาน Service Robot โดยหุ่นยนต์นี้เรานำไปใช้ในร้านอาหาร สามารถเสิร์ฟอาหาร เครื่องดื่ม ได้ตามโต๊ะอย่างแม่นยำและถูกต้อง แต่ในปัจจุบัน นักศึกษาเราได้เรียนรู้จากความคิดสร้างสรรค์ และสร้างเทคโนโลยี เพราะฉะนั้น Service Robot ที่เป็น Project Base ของนักศึกษาว่าผลลัพธ์ของ preoject นี้คือ “ทำอย่างไรให้หุ่นยนต์รู้จักลูกค้ามากยิ่งขึ้น” ต้องทราบข้อมูลลูกค้าก่อนว่า เพศอะไร อายุเท่าไหร่ 

 

โดยไอเดียแรก นักศึกษาจะทำเป็นคำถามให้ลูกค้าตอบ แต่ก็ยังไม่ตอบโจทย์เพราะเสียเวลา จึงการให้นักเรียนใช้เทคโนโลยีในการนำ AI หรือปัญญาประดิษฐ์เข้ามาใส่ โดยใช้การแสกนหน้าลูกค้า ต้องวิเคราะห์ได้ว่าลูกค้าอายุเท่าไหร่ ได้ยินเสียงลูกค้า ต้องวิเคราะห์ได้ว่าลูกค้าอายุเท่าไหร่ เพศอะไร เพราะฉะนั้น นักศึกษาเราจะต้องมีพื้นฐาน AI, Programing หรือแม้กระทั่ง UX, UI จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมต้องเรียนวิศวกรรมแบบ “C+T”

 

นอกจากนักศึกษาเราจะมีพื้นฐานของสาขา รู้จักเครื่องมือต่างสาขา มีความคิดสร้างสรรค์ และรู้จักการต่อยอดเทคโนโลยี อาจารย์ยังมีการกระตุ้นนักศึกษาเชื่อมโยงทุกอย่างเข้าด้วยกัน เพื่อให้นักศึกษาสร้าง Project base learing ที่มีผลลัพธ์ตามที่หลักสูตรต้องการ 

 

พี่โดม Admission Premium : จุดแข็งของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.กรุงเทพ ที่ไม่เหมือนใคร ?

 

ผศ.ดร.ปกรณ์ ยุบลโกศล : เราค่อย ๆ สร้าง Skills set ของนักศึกษา ให้สามารถปรับใช้ได้ในหลาย ๆ รูปแบบโดยจะเกิดจากการทำเทคโนโลยีมาแก้ปัญหาในมุมใหม่ ๆ ไม่ใช่ปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ แม้จะเป็นปัญหาเก่าที่ในตำรามีการแก้ปัญหาอยู่แล้ว เราก็จะให้นักศึกษาแก้ปัญหาเก่าด้วยวิธีใหม่ จึงจะเกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ โดยพื้นฐานของความคิดสร้างสรรค์ และขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยี




 กำหนดการ OPEN HOUSE 2019  
Workshop วันที่ 29-31 สิงหาคม 2562
ณ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ Main Campus แล้วเจอกันนะครับ

ลงทะเบียนเข้าร่วมงานล่วงหน้า  คลิกที่นี่