มีปัญหาเรื่อง.... ติดต่อใครดี?
ในช่วงที่ผ่านมาน้องๆ บางคนอาจจะมึนๆ กับการติดต่อประสานงานเกี่ยวกับการศึกษาต่อ ว่าหน่วยงานไหนรับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องใด เพราะบางทีติดต่อไปที่หนึ่ง ก็บอกให้ติดต่อไปอีกที่ แล้วสรุปต้องติดต่อหน่วยงานไหนกันแน่ วันนี้เหล่าพี่ AdmissionPremium ได้เห็นถึงปัญหาที่น้องต้องเจอมาโดยตลอด จึงถือโอกาสรวบรวมหน่วยงานทางการศึกษามาให้น้องๆ ว่าหน่วยงานไหนผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องอะไร? และมีช่องทางการติดต่อทางใดบ้าง เอาเป็นว่าไปดูพร้อมๆ กันเลย !!!
1.กระทรวงศึกษาธิการ หรือ ศธ.
กระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่หลักในด้านการศึกษาการศาสนา และวัฒนธรรม โดยมีหน่วยงานระดับสำนักงานในสังกัด 5 หน่วยงาน และมีหน่วยงานที่เป็นองค์การมหาชน/หน่วยงานในกำกับ คือ
1. สำนักงานรัฐมนตรี
2. สำนักงานปลัดกระทรวง
3. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
4. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
5. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
6. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
7. องค์การมหาชน/องค์กรในกำกับ
ติดต่อ สอบถาม
ร้องเรียน ที่สายด่วนการศึกษา โทร 1579 หรือ กระทรวงศึกษาธิการ 319 วังจันทรเกษม ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กทม. 10300
>>>www.moe.go.th
2.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ.
มีภารกิจเกี่ยวกับการจัดและการส่งเสริมการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. จัดทำข้อเสนอนโยบาย แผนพัฒนาการศึกษา มาตรฐานการจัดการศึกษา และหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน
2. กำหนดหลักเกณฑ์ แนวทาง และดำเนินการเกี่ยวกับการสนับสนุนทรัพยากร การจัดตั้งจัดสรรทรัพยากร และบริหารงบประมาณอุดหนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. พัฒนาระบบการบริหารและส่งเสริม ประสานงานเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ ในการเรียนการสอน รวมทั้งส่งเสริมการนิเทศ การบริหารและการจัดการศึกษา
4. ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของเขตพื้นที่การศึกษา
5. พัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน และกำกับดูแลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาเพื่อคนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีความสามารถพิเศษ และประสาน ส่งเสริม การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นของเขตพื้นที่การศึกษา
6.ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ช่องทางการติดต่อ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 โทรศัพท์ 02-2885511, 02-288-5576, 02-2885582 Email:
smart@obecmail.obec.go.th
>>>www.obec.go.th
3.สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือ สกอ.
มีภารกิจเกี่ยวกับการจัดและส่งเสริมการศึกษาระดับอุดมศึกษาโดยคำนึงถึงความเป็นอิสระและความเป็นเลิศทางวิชาการของสถานศึกษาระดับปริญญา โดยให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. จัดทำข้อเสนอนโยบายและมาตรฐานการอุดมศึกษาและแผนพัฒนาการอุดมศึกษารวมทั้งดำเนินงานด้านความสัมพันธ์ระดับอุดมศึกษากับต่างประเทศ
2. จัดทำหลักเกณฑ์และแนวทางการสนับสนุนทรัพยากร และการจัดตั้ง จัดสรร งบประมาณอุดหนุนสถาบันอุดมศึกษาและวิทยาลัยชุมชน
3. ประสานและส่งเสริมการดำเนินงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และศักยภาพนักศึกษารวมทั้งผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีความสามารถพิเศษในระบบอุดมศึกษาและประสาน ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่และสนับสนุนการพัฒนาประเทศ
4. เสนอแนะเกี่ยวกับการจัดตั้ง ยุบ รวม ปรับปรุง และยกเลิกสถาบันอุดมศึกษาและวิทยาลัยชุมชน
5. ดำเนินการเกี่ยวกับการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการอุดมศึกษาตามที่คณะกรรมการการอุดมศึกษามอบหมาย รวมทั้งการรวบรวมข้อมูลและจัดทำสารสนเทศด้านการอุดมศึกษา
6. ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการการอุดมศึกษา
7. ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาหรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ช่องทางการติดต่อ
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 328 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์. 0-2610-5200 โทรสาร. 0-2354-5524-6 E-mail : pr_mua@mua.go.th ,
info@mua.go.th
>>>www.mua.go.th
4.สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ หรือ สทศ.
อำนาจหน้าที่ ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2548
มาตรา 7 ให้สถาบันมีวัตถุประสงค์เพื่อบริหารจัดการและดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษา วิจัย พัฒนา และให้บริการทางการประเมินผลทางการศึกษาและทดสอบทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเป็นศูนย์กลางความร่วมมือด้านการทดสอบทางการศึกษาในระดับชาติและระดับนานาชาติ หากกล่าวสรุปโดยง่ายให้มองเห็นภาพชัดเจน คือสถาบันการจัดการทดสอบ เกี่ยวกับ การทดสอบระดับชาติ, บริการการทดสอบ, สอบวัดสมรรถนะครูฯ, O-NET, V-NET, I-NET, B-NET, N-NET, GAT/PAT, วิชาสามัญ 9 วิชา
มาตรา 8 เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามมาตรา 7 ให้สถาบันมีอำนาจหน้าที่หลักดังนี้
1. ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำระบบ วิธีการทดสอบและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลตามมาตรฐานการศึกษา
2.ดำเนินการเกี่ยวกับการประเมินผลการจัดการศึกษาและการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ตลอดจนให้ความร่วมมือและสนับสนุนการทดสอบทั้งระดับเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา
3.ดำเนินการเกี่ยวกับการทดสอบทางการศึกษา บริการสอบวัดความรู้ความสามารถ และการสอบวัดมาตรฐานวิชาการและวิชาชีพ เพื่อนำผลไปใช้เป็นส่วนหนึ่งในการเทียบระดับและการเทียบโอนผลการเรียนที่มาจากการศึกษาในระบบเดียวกันหรือการศึกษาต่างระบบ
4.ดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษาวิจัย และเผยแพร่นวัตกรรมเกี่ยวกับการทดสอบทางการศึกษาตลอดจนเผยแพร่เทคนิคการวัดและประเมินผลการศึกษา
5.เป็นศูนย์กลางข้อมูลการทดสอบทางการศึกษา ตลอดจนสนับสนุน และให้บริการผลการทดสอบแก่หน่วยงานต่าง ๆ ได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
6.พัฒนาและส่งเสริมวิชาการด้านการทดสอบและประเมินผลทางการศึกษา รวมถึงการพัฒนาบุคลากรด้านการทดสอบและประเมินผล ด้านการติดตามและประเมินผลคุณภาพบัณฑิต รวมทั้งการให้การรับรองมาตรฐานของระบบ วิธีการ เครื่องมือวัด ของหน่วยงานการประเมินผลและทดสอบทางการศึกษา
7. เป็นศูนย์กลางความร่วมมือด้านการทดสอบทางการศึกษาทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ
ช่องทางการติดต่อ
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) 128 อาคารพญาไท พลาซ่า ชั้น 36 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร: +66 2-217-3800 โทรสาร: 02-219-2996 , 02-129-3866-67 E-mail:
webmaster@niets.or.th
>>>www.niets.or.th
5. ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย หรือ ทปอ.
ตามที่ระบุไว้ในข้อตกลงว่าด้วยการประชุมอธิการบดีฯ พ.ศ. 2515 ข้อความในข้อ 3 ระบุว่า ที่ประชุมอธิการบดีทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และติดต่อประสานงานที่อยู่ในขอบข่ายความสนใจร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัย/สถาบันต่างๆที่เข้าร่วมในข้อตกลง ที่ประชุมนี้ไม่เป็นองค์กรทางการเมือง เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2522 (ในการประชุมครั้งที่ 6/2522) ที่ประชุมได้พิจารณาทบทวนและกำหนดบทบาทของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ดังนี้
1.ที่ประชุมอธิการบดีฯ ควรเป็นแหล่งประสานงานส่งเสริมความช่วยเหลือ และการพัฒนามหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น การพัฒนาบุคลากร การร่วมมือพัฒนาคุณภาพ และคุณวุฒิอาจารย์มหาวิทยาลัย โดยไม่ดำเนินการซ้ำซ้อนกับงานของทบวงมหาวิทยาลัย (ทบวงมหาวิทยาลัย ปัจจุบันคือ สกอ.)
2.ที่ประชุมอธิการบดีฯ ควรเป็นองค์กรกลางระหว่างมหาวิทยาลัยของรัฐบาล ช่วยแนะนำให้คำปรึกษาแก่ทบวงมหาวิทยาลัย และรัฐบาลหรือแสดงท่าทีในด้านต่างๆ ให้รัฐบาลได้รับทราบ
ที่ประชุมอธิการบดีฯ ควรเป็นองค์กรกำหนดนโยบายในลักษณะการกำหนดท่าที หรือความคิดเห็นกว้างๆ เกี่ยวกับเรื่องที่เป็นผลประโยชน์หรือปัญหาร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัย และเสนอความคิดเห็นต่อรัฐบาล ส่วนเรื่องใดทำได้เองก็ร่วมมือร่วมใจให้
3.ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรอิสระไม่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเมือง เป็นศูนย์กลางการประสานความร่วมมือ ความคิด การสร้างสรรค์ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่เกี่ยวกับกิจการอุดมศึกษาของประเทศที่เป็นความสนใจร่วมกัน การดำเนินงานจะมุ่งที่ความคล่องตัวและยึดหลักความเป็นอิสระของแต่ละสถาบัน หลีกเลี่ยงไม่ให้มีการดำเนินงานซ้ำซ้อนกับทบวงมหาวิทยาลัย แต่จะเสริมและสนับสนุนกัน เพื่อประโยชน์โดยส่วนรวมของการอุดมศึกษาของประเทศ บทบาทของที่ประชุมอธิการบดีฯนั้นจึงขึ้นอยู่กับบทบาทของมหาวิทยาลัย/สถาบันสมาชิกเป็นหลักสำคัญ
หากกล่าวงง่าย หน้าที่ของ ทปอ. ที่น้องๆ รู้จักเป็นอย่างดีคือหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา หรือระบบ TCAS ที่น้องได้ใช้กันทุกวันนี้ และถ้าหากน้องๆมีปัญหาเกี่ยวกับข้อมูลในระบบ TCAS
ช่องทางการติดต่อ
หากน้องๆ คนไหนมีปัญหาเกี่ยวกับการศึกษา ก็ให้ดูหน้าที่หลักของหน่วยงานนั้นและสามารถติดต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ตามช่องทางที่พี่ AdmissomPremium ได้รวบรวมไว้ให้ได้เลย