สอบเข้ามหาวิทยาลัย

วิเคราะห์ 10 เทรนด์ e-Commerce ที่จะเกิดขึ้นในปีนี้

     
UploadImage

aCommerce ผู้ให้บริการแพล็ตฟอรมด้าน e-Commerce ได้ทำการศึกษาและคาดการณ์เทรนด์ที่จะเกิดขึ้นในวงการ e-Commerce โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้อย่างน่าสนใจ ด้วยประชากรรวม 10 ประเทศกว่า 600 ล้านคน เป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก ดังนั้นธุรกิจต่างๆ ต้องพัฒนา e-Commerce โดยเร็วเพื่อให้สามารถบุกตลาดได้ดีขึ้น

สิ่งที่จะเกิดขึ้นแน่นอน คือ การแข่งขันที่ดุเดือดรุนแรง ทั้งจากผู้ประกอบการท้องถิ่น ผู้ประกอบการระดับภูมิภาค และผู้ประกอบการระดับโลก เช่น ในประเทศอินโดนีเซีย บริษัท MatahariMall เปิดตัว เพื่อแข่งกับ Lazada ของ Rocket Internet จากข้อมูลของ aCommerce พบว่ายอดการสั่งซื้อ e-Commerce ในอินโดนีเซียเติบโตสูงมากจนแซงหน้าประเทศไทยไปแล้ว และนั่นทำให้ JD ของจีน คู่แข่งของ Alibaba กระโดดเข้าไปลงทุนในอินโดนีเซียทันที

และสิ่งต่อไปนี้คาดจะเกิดขึ้นในวงการ e-Commerce ปี 2016

1) Brand.com จะเป็นเทรนด์ใหม่
การซื้อขายออนไลน์เกิดขึ้นกับเว็บประเภท Marketplace เป็นหลัก เช่น eBay, Amazon หรือในไทย เช่น Tarad.com, iTruemart และ weloveshopping เป็นต้น แต่ตอนนี้กระแสการเข้าไปซื้อสินค้าในเว็บไซต์ของแบรนด์โดยตรงกำลังได้รับความนิยมมากขึ้น แม้แต่ Unilever ประเทศไทย ก็กำหนดแผนและเริ่มต้นการทำตลาาด e-Commerce ขึ้นมาโดยเฉพาะ ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ aCommerce จะให้สัดส่วนการถือหุ้น 20% กับบริษัท DKSH ตัวแทนจำหน่ายที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียของสินค้าแบรนด์ใหญ่ เช่น Unilever, P&G จะทำให้การส่งสินค้าไปถึงมือผู้บริโภคโดยตรงได้มากขึ้น

2) Omni-Channel กุญแจสำคัญ
พอล ศรีวรกุล Group CEO ของ aCommerce อนาคตจะเกิดการรวมการซื้อออนไลน์และออฟไลน์ รูปแบบการซื้อขายที่ผสมผสาน จะเกิดขึ้นในอเมริกาและจีนเร็วๆ นี้ ขณะที่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังเน้นที่ e-Commerce เป็นหลัก แต่ในปี 2016 เทรนด์นี้จะค่อยๆ เกิดขึ้น เช่น บริษัทขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในเวียดนาม Nguyen Kim (บริหารงานโดย Central Group) สามารถส่งสินค้าให้ผู้บริโภคได้ภายใน 4 ชั่วโมงเนื่องจากมีร้านค้าออฟไลน์กระจายอยู่ในหลายพื้นที่ ดังนั้นร้านออนไลน์ ที่มีออฟไลน์ด้วย จะได้เปรียบกว่า

3) Nichecommerce เพื่อความอยู่รอด
ธุรกิจ e-Commerce ประเภท B2C (Amazon, lazada, itruemart) ต้องการการลงทุนมหาศาล และผู้ชนะจะสามารถคุมตลาดได้ ดังนั้นใครที่มีเงินทุนจำกัด ต้องเน้นสร้างจุดยืนและความแตกต่าง เช่น การวางราคาขายที่แตกต่าง, การมีตัวเลือกที่แตกต่าง, การให้ประสบการณ์ที่แตกต่าง, การมีสินค้าที่แตกต่าง ซึ่งต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ จะเห็นการออกแบบและผลิตสินค้าเองมากขึ้น
 
UploadImage

4) จีนคือผู้เล่นรายใหญ่
AEC ยังไม่มีความร่วมมือระหว่างประเทศในการพัฒนา e-Commerce ดังนั้น ประเทศจีน จะเข้ามาเป็นผู้ขับเคลื่อนผ่าน “Silk Road 2.0″ จะเห็นการขยายอำนาจทาง e-Commerce จากจีน เช่น บริษัท JD บริษัท Ecommerce ที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองของจีนได้มาเปิดร้านในประเทศอินโดนีเซียเพื่อเปิดช่องทางขายสินค้าที่มีมากกว่า 40 ล้านรายการ และเพื่อมาแข่งกับกระแสของ MatahariMall และ Lazada

5) ระบบเก็บเงินปลายทาง Payment ช่องทางหลัก
อเมริกามี Paypal จีนมี Alipay ในไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการพัฒนาช่องทางการจ่ายเงินหลากหลาย ทั้งธนาคาร, บริษัทโทรคม, มีเดียต่างๆ รวมถึง Startup FinTech แต่ยังไม่มีใครที่เป็นผู้ให้บริการหลักที่เข้าถึงผู้บริโภคส่วนใหญ่ได้ นั่นทำให้การชำระเงินปลายทาง กลายเป็นทางเลือกที่ผู้บริโภคให้ความนิยม ในปี 2015 จากข้อมูลของ aCommerce อัตราการชำระเงินปลายทางอยู่ที่ 74% เพิ่มขึ้นจาก 53% ในปี 2014 ส่วนหนึ่งมาจากผู้บริโภคได้มีโอกาสเห็นสินค้าก่อนชำระเงิน และสามารถชำระได้ทั้งเงินสด หรือบัตรเครดิต

6) ความล้มเหลวของร้านค้าปลีกออนไลน์ประเภท Fast Fashion
e-Commerce ที่ขายสินค้าทั่วไป หรือสินค้าเปลี่ยนแปลงไว (Fast Fashion) จะเหนื่อยหนัก และสินค้าประเภทนี้ยังมีโอกาสที่ผู้ประกอบการรายอื่นๆ จะขายแข่ง ทำให้เกิดการแข่งขันที่ดุเดือด จึงไม่น่าแปลกใจถ้า e-Commerce บางรายที่ขายสินค้าประเภทนี้จะลดบทบาทลง หรือหายไปจากตลาด
UploadImage
 
 
7) ช่องทางโฆษณาใหม่ นอกเหนือจาก Google และ Facebook
ปัจจุบันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังมีทางเลือกการโฆษณาที่น้อย การโฆษณาผ่าน Google และ Facebook มีการแข่งขันสูง ค่าใช้จ่ายต่อคลิกสูงขึ้น ในปี 2016 เชื่อว่าจะมีช่องทางโฆษณาทางเลือกใหม่เกิดขึ้น เช่น Price comparison, coupon site และ cash back site ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อตอบโจทย์

8) Fulfillment ยังต้องพัฒนาอีกมาก
e-Commerce จะให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบขนส่งของตนเองเพื่อรองรับปริมาณการสั่งซื้อที่เพิ่มสูงขึ้น ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นคอขวดที่ขัดขวางการเติบโตของธุรกิจในทันที และบอกได้เลยว่าปัญหาการขนส่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นสิ่งที่บริษัทขนส่งรายใหญ่ของโลกยังไม่สามารถแก้ได้ พราะโครงสร้างพื้นฐานยังด้อยคุณภาพ เทียบกับจีนที่เป็นตลาดใหญ่ที่สุดในโลกเวลานี้ รัฐบาลจีนมุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับ e-Commerce เต็มรูปแบบ สำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อุปสรรคส่วนหนึ่งคือ ระบบขนส่งไม่ได้สร้างมารองรับ B2C แต่เป็นเพื่อ B2B ต้องเจอกับปัญหา การคืนสินค้า, โทรแจ้งก่อนส่ง และเก็บเงินปลายทาง

9) ระบบจัดวางสินค้าให้เหมาะกับช่องทางและผู้บริโภค
การทำ e-Commerce ในปีนี้จะเห็นความพยายามเลือกช่องทางที่เหมาะสมให้กับสินค้าต่างๆ มากขึ้น จะช่วยให้แบรนด์ผสานการค้าระหว่างออนไลน์กับออฟไลน์ได้ดีขึ้น

10) บุคลากรด้าน e-Commerce จะเนื้อหอมขึ้น
การขาดแคลนบุคลากรด้าน e-Commerce ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้การย้ายงานของบุคลากรสูงขึ้น เงินเดือนเพิ่มขึ้น 1.5-3 เท่า เกิดสงครามด้านทรัพยากรบุคล สิ่งที่จะตามมาคือ คนรุ่นใหม่ไฟแรงประสบการณ์น้อยรับตำแหน่งในระดับสูง
 
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : marketingoops