หลักสูตรประกาศนียบัตรชุดวิชา ศาสตร์แห่งแผ่นดินเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นหลักสูตรระยะสั้นที่จัดการเรียนการสอนแบบชุดวิชา (module) ภายใต้หลักวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาศาสตร์แห่งแผ่นดินเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยแต่ละชุดวิชามีเป้าหมายด้านวิชาชีพที่ชัดเจนและมีความสมบูรณ์ในตัว ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องได้ นอกจากนั้น ผู้เรียนยังสามารถเรียนและเก็บสะสมหน่วยกิตเพื่อขอรับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศาสตร์แห่งแผ่นดิน ได้อีกด้วย การพัฒนาการเรียนการสอนในรูปแบบดังกล่าวเป็นต้นแบบเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลก และนโยบายการพัฒนาประเทศ ซึ่งเป็นการปฏิรูปการเรียนรู้แบบพลิกโฉม (transformation of learning) เพื่อสร้างคนไทย 4.0 และการเกษตรแบบก้าวหน้า (smart farming) โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
ศาสตร์แห่งแผ่นดินเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ดีอย่างไร ?
รายละเอียดของหลักสูตร
ชุดวิชาภายใต้หลักสูตร Non Degree ศาสตร์แห่งแผ่นดินเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ประกอบด้วย 21 ชุดวิชา ชุดวิชาละ 20 หน่วยกิต ในแต่ละชุดวิชามีความสมบูรณ์ในด้านวิชาชีพ โดยมีเป้าหมายให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพได้ตามเป้าหมายของชุดวิชา โดยไม่จำเป็นต้องเป็นลูกจ้างของสถานประกอบการ หรือพึ่งพาหน่วยงานรัฐเพียงอย่างเดียว สำหรับรายละเอียดของชุดวิชาและรายวิชาทั้งหมดได้แสดงในภาคผนวก ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
ชุดวิชาที่ 1 การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเครื่องดื่มจากผัก ผลไม้ และธัญชาติ
ชุดวิชาที่ 2 การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจและสัตว์สวยงาม
ชุดวิชาที่ 3 การผลิตเนื้อโคคุณภาพสูง
ชุดวิชาที่ 4 เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ไม้เพื่อผู้ประกอบการ
ชุดวิชาที่ 5 ธุรกิจการป่าไม้
ชุดวิชาที่ 6 การเป็นผู้ประกอบธุรกิจผลิตปุ๋ย
ชุดวิชาที่ 7 อัญมณีและเครื่องประดับเพื่ออุตสาหกรรม
ชุดวิชาที่ 8 นวัตกรรมของยางเพื่อความยั่งยืน (เปิดรับปีการศึกษา 2562)
ชุดวิชาที่ 9 บูรณาการการผลิตข้าวไทยเพื่อความปลอดภัยอาหาร
ชุดวิชาที่ 10 เกษตรเพื่อชีวิตและสุขภาพ
ชุดวิชาที่ 11 การผลิตพืชสำหรับผู้ประกอบธุรกิจอาหาร
ชุดวิชาที่ 12 การผลิตผลิตผลจากสัตว์เพื่อความมั่นคงและยั่งยืนทางอาหาร
ชุดวิชาที่ 13 วิทยาการคำนวณและสารสนเทศศาสตร์ ดูคลิปวีดีแนะนำคณะ สาขา คลิกที่นี่
ชุดวิชาที่ 14 วิทยาการข้อมูลสำหรับธุรกิจ
ชุดวิชาที่ 15 การใช้ที่ดินวนเกษตร
ชุดวิชาที่ 16 ศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อความมั่นคงและยั่งยืน
ชุดวิชาที่ 17 การวิเคราะห์และพัฒนาธุรกิจเกษตรและธุรกิจเชิงสังคม (เปิดรับสมัครปีการศึกษา 2562)
ชุดวิชาที่ 18 การพัฒนาชุมชนเพื่อความยั่งยืน
ชุดวิชาที่ 19 การดูแลและพัฒนาเด็กปฐมวัย
ชุดวิชาที่ 20 สังคมแห่งความสุขของผู้สูงอายุในศตวรรษที่ 21
ชุดวิชาที่ 21 จิตวิทยาเพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ
กำหนดการรับสมัคร
วัน เวลา และสถานที่จัดการเรียนการสอน
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
- รายละเอียดโครงการ คลิกที่นี่
- กำหนดการ คลิกที่นี่