สอบเข้ามหาวิทยาลัย

​กฎ 5 ข้อ “อ่านแล้ว จำไม่ลืม”


กฎ 5 ข้อ “อ่านแล้ว จำไม่ลืม”

ตารางสอบออกมาเยอะแยะมากมาย  ไม่ว่าจะเป็นสอบ GAT/PAT สอบ O-NET สอบ 9 วิชาสามัญ สอบใกล้ๆ กันไปอีก!  แล้วจะเอาเวลาที่ไหนมาจำ แต่!! น้องๆ ไม่ต้องบ่นไม่ต้องกังวลไป เพราะวันนี้พี่มีเทคนิคที่จะทำให้อ่านแล้วจำไม่ลืมด้วยกฎ 5 ข้อ



1 ทวนซ้ำๆ      
น้องๆ เคยสังเกตไหมว่าทำไมเวลาเราได้ลงมือทำอะไรสักอย่างด้วยตัวเอง ลงมือทำบ่อยๆ หรือพูดเรื่องเดิมซ้ำๆ สิ่งเหล่านี้จะทำให้เราจำได้โดยไม่ลืม นั่นเป็นเพราะว่าเราได้รับข้อมูลเหล่านั้นเข้ามาและส่งข้อมูลนั้นออกไป ยิ่งส่งออกมากยิ่งถูกดึงมาใช้มาก ยิ่งทำให้เราจำได้ดี

ซึ่งวิธีคือ ให้น้องๆ อ่านหนังสือไปพร้อมกับจดโน๊ตหรือใช้ปากาเน้น Key Words ในส่วนที่สำคัญ จากนั้นสรุปข้อมูลเป็น Mind Mapping และลองพูดคุยแลกเปลี่ยนและแบ่งปันกับเพื่อนๆ เป็นการทวนซ้ำข้อมูลในหัวเราให้ชัดเจนยิ่งขึ้น



2 อ่านในขณะเวลาว่าง ช่วงสั้นๆ  
แทนที่จะหักโหมอ่านเป็นเวลาหลายชั่วโมงติดๆ หรือหาเวลาว่างตลอดทั้งวันเพื่ออ่าน น้องสามารถปรับช่วงเวลาในการอ่านของตัวเองมาเป็นเวลาว่างช่วงสั้นๆ ในระหว่างที่รอรถประจำทาง รอเพื่อน ระหว่างนั่งทานขนม หรือทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน



3 ทำความเข้าใจเนื้อหา      
ความสำคัญคือ “การตีความ” รู้ว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร หรือน้องๆ เข้าใจว่าหนังสือเล่มนั้นต้องการสื่ออะไร  แล้วสามารถจดจำเนื้อหาและนำมาใช้ประโยชน์ได้ โดยใช้เวลาในการอ่านหนังสือสักเล่มนานๆ ไม่ต้องอ่านแบบรีบร้อนไม่ต้องอ่านแบบผ่านๆ ก็จะทำให้น้องๆ จดจำเนื้อหาในหนังสือได้ไม่มีวันลืม



4 อ่านครั้งละ 15 นาที
ทยอยอ่านช่วงเวลาสั้นๆ ครั้งละ 15 นาที เพราะปกติแล้วเราทำอะไรก็ตามเรามักมีสมาธิมากเป็นพิเศษในช่วงเวลาเริ่มต้นกับช่วงท้าย ปรากฎการณ์นี้ทางจิตวิทยาเรียกว่า "ความมุ่งมั่นช่วงต้น" กับ "ความมุ่งมั่นช่วงปลาย" การอ่านหนังสือในขณะว่างประมาณ 15 นาที จะช่วงให้น้องๆจำไม่ลืมเลย



5 อ่านหนังสือก่อนนอน
การอ่านหนังสือก่อนนอน ก็เป็นอีกวิธีที่จะทำให้น้องๆ จำไม่ลืม เพราะเป็นช่วงเวลาที่สมองจะเก็บความทรงจำได้มากที่สุด  นอกจากนี้ยังช่วยให้น้องๆ ผ่อนคลายความจากความอ่อนล้าทั้งกายและใจ จึงทำให้นอนหลับง่ายขึ้น

สิ่งที่สำคัญที่สุดที่พี่คนพบในกฎเหล่านี้คือ เราต้องลงมือทำหากเราอ่านเรารู้วิธีทำแต่เรากลับไม่ปฎิบัติก็เหมือนกับเราได้โจทย์คณิตมาหนึ่งโจทย์เรารู้วิธีแก้โจทย์ แต่เรากลับไม่ทำเราก็ไม่ได้ผลลัพธ์ แต่ถ้าเราลงมือทำผลลัพธ์นั้นก็จะได้ออกมา  อาจจะถูกบ้างผิดบ้างแต่อย่างน้อยเราก็ได้ลงมือทำ