Webometrics Ranking of World Universities จัดขึ้นโดยวัดจากงานทางวิชาการที่มีการเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ตนอกเหนือจากผลงานที่มีการตีพิมพ์ลงในวารสาร หรืออื่นๆ และวัดจากความสามารถในการเป็นมหาวิทยาลัยอิเล็กทรอนิกส์ (E-university) ซึ่งจัดอันดับ 2 ครั้ง/ปี คือเดือนมกราคมและกรกฎาคม ซึ่งเกณฑ์การจัดอันดับของ Webometrics ประกอบด้วย
1. PRESENCE (20%) = เนื้อหาการตีพิมพ์, จำนวนเว็บเพจ จากเว็บไซต์ทั้งหมด รวมทั้งเว็บแบบไดนามิก (วัดด้วย Google
2. OPENNESS (15%) = จำนวนแฟ้มข้อมูล หรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ทั้งหมดที่อยู่ภายในdomainเดียวกัน ในรูปของ Acrobat (pdf), PostScript (ps), MS Word (doc),MS Powerpoint (ppt), MS Excel (xls)
3. IMPACT (50%) = จำนวนexternal links ที่ได้รับ (inlinks) มีการเชื่อมโยงหรืออ้างอิงมาจากภายนอก สืบค้นโดยใช้ search engines เช่น Yahoo และใช้ syntax ในการค้น
4. EXCELLENCE (15%) = จำนวนบทความวิชาการ และการอ้างอิงบทความทางวิชาการ ที่ปรากฎภายใน domain ของมหาวิทยาลัย และสามารถสืบค้นได้ด้วย google scholar
***การจัดอันดับเป็นการวัดตามเกณฑ์ข้างต้น ไม่ได้หมายความถึงคุณภาพมหาวิทยาลัยทั้งหมด
ซึ่งจากในภาพจะเป็นการจัดอันดับแบบภาพรวมทั้งมหาวิทยาลัยรัฐบาลและเอกชนในประเทศไทยรวมอยู่ด้วยกัน ในช่วงเดือนมกราคม 2016 ทาง AdmissionPremium.com ได้แบ่งมหาวิทยาลัยรัฐบาลและเอกชน ออกเป็นอย่างละ 20 อันดับ เพื่อให้น้องๆ เห็นภาพได้ชัด ดังภาพอินโฟกราฟฟิค ด้านล่างนี้
จากภาพมหาวิทยาลัยรัฐบาลที่ได้ติดอันดับ Top 5 ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตามลำดับ ส่วนมหาวิทยาลัยเอกชนที่ได้ติดอันดับ Top 5 ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย(AIT) มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ตามลำดับ
หากลองย้อนกลับไปในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจะพบว่ามหาวิทยาลัยมหิดลจะอยู่ในอันดับต้นๆ มาตลอดหลายปี และ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย(AIT) ก็เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่อยู่อันดับต้นๆ มาตลอดเช่นกัน
แต่การจัดอับดับเดือนมกราคม ปี 2016 นี้เมื่อดูการจัดอันดับแบบภาพรวมทั้งรัฐบาลและเอกชน มหิดลจะอยู่อันดับ 1 ส่วน สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) อยู่ที่อันดับ 11 นั้นจึงแสดงให้เห็นว่าอันดับ 1 – 10 จะเป็นของมหาวิทยาลัยรัฐทั้งสิ้น
อาจเป็นเพราะ Webometrics มีเกณฑ์การวิเคราะห์แบบเชิงปริมาณ ของเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในเว็บไซต์ต่างๆ บนระบบอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะข้อมูลความรู้ทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ โดยมีความเชื่อว่า เว็บไซต์จะสามารถสะท้อนผลงานและกิจกรรมของบรรดาศาสตราจารย์ อาจารย์หรือนักวิจัยของมหาวิทยาลัยหรือสถาบันได้ดี ซึ่งมหาวิทยาลัยรัฐที่เน้นการวิจัย วิชาการมากกว่าอาจได้เปรียบมากมหาวิทยาลัยเอกชน สำหรับการจัดอันดันในเว็บไซต์นี้
และ Mel McCarthy , อาจารย์จาก London Metropolitan University ได้กล่าวว่า “วิธีการในการจัดอันดับมีการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะๆ และการจัดอันดับแต่ละที่ก็แตกต่างกัน ดังนั้นนักเรียนอาจจะมองภาพรวมได้ไม่ชัดเจน และไม่สอดคล้องกัน แต่ท้ายที่สุดการจัดอันดับไม่ได้เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการเลือกสถาบันการศึกษา – เพราะนี่เป็นแค่การแนะแนวทางเท่านั้น ”
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.webometrics.info/en/asia/thailand