สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) รับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าร่วมโครงการผลิตครู เพื่อพัฒนาท้องถิ่น ประจำปีการศึกษา 2561 เพื่อศึกษาหลักสูตรวิชาชีพครู ระดับปริญญาตรี (5ปี) และบรรจุเข้ารับราชการครูในปี พ.ศ.2566
การคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ประจำปีการศึกษา 2561 โดยมีเป้าหมายคัดเลือกผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมตอนปลายหรือเทียบเท่า ปีการศึกษา 2560 เข้าศึกษาหลักสูตรวิชาชีพครูระดับปริญญาตรี (5 ปี) ใน 164 หลักสูตร จากสถาบันผลิตครู จำนวน 44 แห่ง เมื่อสำเร็จการศึกษาตามเกณฑ์ที่กำหนด จะส่งชื่อให้หน่วยงานผู้ใช้บรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย จำนวน 4,195 คน
โครงการครั้งนี้ ดำเนินการตามระบบ TCAS รอบที่ 2 โดยใช้ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) ชั้น ม.6 และการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (V-NET) กรณีจบระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ผลการทดสอบความถนัดทั่้วไป (GAT) และการทดสอบความถนัดทางวิชาการ/วิชาชีพ (PAT) ซึ่งแต่ละสาขาวิชาจะกำหนดค่าน้ำหนักผลการทดสอบไม่เท่ากัน นอกจากนี้ สาขาดนตรีไทย ดนตรีสากล ดนตรีศึกษา นาฏศิลป์ ทัศนศิลป์ ศิลปะ และพลศึกษา มีการสอบภาคปฏิบัติด้วย
จำนวนที่รับ
อัตราบรรจุทั้งหมด 4,195 คน
1. จำแนกตามสังกัดดังนี้
- สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) เช่น สำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา
- สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) เช่น วิทยาลัยหรือสถานศึกษา
- สังกัดกรุงเทพมหานคร เช่น พื้นที่กลุ่มเขตในกรุงเทพมหานคร
- สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย เช่น สำนักงาน กศน.จังหวัด
2. สถาบันการศึกษาผู้ร่วมผลิตครู 44 สถาบัน จำนวน 164 สาขาวิชา
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 174 คน
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน จำนวน 51 คน
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จำนวน 121 คน
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 171 คน
- มหาวิทยาลัยทักษิณ จำนวน 107 คน
- มหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวน 176 คน
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จำนวน 72 คน
- มหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 95 คน
- มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 353 คน
- มหาวิทยาลัยนศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 126 คน
- มหาวิทยาลัยศิลปากร จำนวน 150 คน
- มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จำนวน 22 คน
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จำนวน 55 คน
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 8 คน
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จำนวน 2 คน
- มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี จำนวน 19 คน
- มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร จำนวน 24 คน
- มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จำนวน 105 คน
- มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จำนวน 32 คน
- มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จำนวน 95 คน
- มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จำนวน 68 คน
- มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จำนวน 187 คน
- มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช จำนวน 139 คน
- มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จำนวน 66 คน
- มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 18 คน
- มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จำนวน 213 คน
- มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร จำนวน 22 คน
- มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จำนวน 24 คน
- มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จำนวน 131 คน
- มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จำนวน 73 คน
- มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำนวน 56 คน
- มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จำนวน 91 คน
- มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง จำนวน 161 คน
- มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จำนวน 23 คน
- มหาวิทยาลัยราชภัฏวลัยอลงกรณ์ จำนวน 72 คน
- มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จำนวน 46 คน
- มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จำนวน 15 คน
- มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จำนวน 147 คน
- มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จำนวน 28 คน
- มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จำนวน 10 คน
- มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จำนวน 28 คน
- มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จำนวน 181 คน
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) จะประสานกับสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทศ. นำผลคะแนน O-NET หรือ V-NET และ GAT/PAT ของผู้สมัครทุกคนมาประมวลผลคะแนนตามค่าน้ำหนักที่กำหนดไว้
การสมัครและค่าสมัคร
1. ผู้สมัครเลือกสมัครได้ 1 สาขาวิชาและมหาวิทยาลัย เท่านั้น
ขั้นแรก ต้องมี ภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้าน ตรงกับ พื้นที่จะบรรจุ (สำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษา (สพป.) สำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา (สพม.) / วิทยาลัยหรือสถานศึกษาสังกัด สอศ./ สำนักงาน กศน.จังหวัด/ พื้นที่กลุ่มเขตที่จะบรรจุในกรุงเทพมหานคร) เสียก่อน
ขั้นต่อมา ต้องเลือกสมัคร สาขาวิชาและสถาบันอุดมศึกษาที่โครงการกำหนด ให้ตรงกับภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านและพื้นที่จะบรรจุ (สำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษา (สพป.) สำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา (สพม.) / วิทยาลัยหรือสถานศึกษาสังกัด สอศ./ สำนักงาน กศน.จังหวัด/ พื้นที่กลุ่มเขตที่จะบรรจุในกรุงเทพมหานคร) นั้น
ทั้งนี้ ระบบรับสมัครออนไลน์ จะให้ผู้สมัครเลือก ภูมิลำเนาในการสมัคร โดยผู้สมัครเลือกใช้สิทธิ์ของ ตนเอง หรือ บิดา หรือ มารดา ได้อย่างใดอย่างหนึ่ง จากนั้นระบบรับสมัครออนไลน์จะกำหนดสาขาและสถาบันอุดมศึกษาที่ผู้สมัครแต่ละคนมีสิทธิ์สมัครได้ให้เลือกสมัคร 1 สาขาวิชาและมหาวิทยาลัย เท่านั้น
2. ค่าใช้จ่าย รวม 180 บาท ประกอบด้วย ค่าสมัคร 150 บาท และค่าธรรมเนียมการรับชำระเงินของธนาคารกรุงไทย รวมค่าบริการทางอินเทอร์เน็ต 30 บาท
3. หลักฐานการสมัคร ประกอบด้วย
- ใบสมัครพร้อมติดรูปถ่าย
- สำเนาบัตรประชาชนที่ยังไม่หมดอายุ
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้สมัคร
- สำเนาทะเบียนบ้านของบิดา มารดา
หลักฐานแสดงผลการเรียนเฉลี่ยสะสมเมื่อสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในปีการศึกษา 2560 โดยใช้ใบจริงที่มีการลงนามโดยผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือผู้ได้รับมอบหมาย
สมัครเข้าร่วมโครงการผลิตครู เพื่อพัฒนาท้องถิ่น ประจำปีการศึกษา 2561 คลิก