บทวิเคราะห์ต่อไปนี้อาจารย์ตั้งใจชี้ให้ นร. ที่เตรียมสอบปี 61 เห็นว่าข้อสอบเคมี ปี 60 ออกเรื่องอะไร บ้าง จุดไหนยาก ง่าย เรื่องไหนที่ออกอย่างต่อเนื่อง เรื่องไหนหายไป นร. จะได้เตรียมพร้อมรับมือกับ ข้อสอบได้อย่างมีประสิทธิผล
การเตรียมพร้อมที่ว่าอาจารย์หมายถึงตัวนักเรียนเองต้องสํารวจความพร้อมของเรา เรื่องไหนที่ ยังพร่องอยู่ เรื่องไหนที่เรายังไม่แม่น หาจุดแข็ง จุดอ่อนของเรา แล้วรีบจัดการพัฒนา ฝึกฝีมือในช่วงเวลา ที่เหลืออยู่นี้อย่างจริงจังตั้งใจ (ข้อสอบที่อาจารย์อ้างอิงถึงในบทวิเคราะห์ต่อจากนี้ จะนํามาแสดงในกระทู้ถัดไปให้นักเรียนเห็นภาพและฝึก ไปในตัว อาจเรียกว่าเป็นการเตรียมสู้ เคมี 9 วิชาสามัญ Ep.2)
- อะตอม
- สเปคตรัม ดูแล้วปี 61 ก็น่าจะเจอคําถามเรื่องนี้ จากปี 59 มา ข้อสอบออกไม่ขาดเลย และ พัฒนาความยากในการถามมากขึ้นด้วย ไม่มีการคํานวณ แต่เป็นการเปรียบเทียบพลังงาน ความถี่ ความยาวคลื่นนี่แหละ โดยดูจากภาพ ให้แถบสเปคตรัมมาในนั้นอาจจะมีความยาวคลื่น นร. ต้องแปลงเป็น ภาพการเปลี่ยนระดับพลังงานของอิเล็กตรอนแล้ววิเคราะห์หาคําตอบ ปี 61 ยากขึ้นแน่ ๆ
- การจัดเรียงอิเล็กตรอน + จํานวนอิเล็กตรอนเดี่ยวในออร์บิทัล
- พันธะเคมี
- ตะกอนไอออนิก
- การเขียนสูตรสารประกอบไอออนิก
- ความยาวพันธะโคเวเลนต์เปรียบเทียบระหว่างสารทั่วไปกับสารที่เกิดเรโซแนนซ์
- สมบัติตามตารางธาตุ
- เลขออกซิเดชันสูงสุดดูจากการจัดเรียงแบบออร์บิทัล
- สารประกอบเชิงซ้อน พันธะโคออร์ดิเนตโคเวเลนต์ในสารประกอบเชิงซ้อน
- ออกไซด์ คลอไรด์ ความเป็นกรด เบส จุดหลอมเหลว-จุดเดือด (ออกประจํา)
- สมบัติเฉพาะของหมู่เด่น ๆ และสารประกอบที่เกิดปฏิกิริยาในการทดลองที่ต้องทราบ เช่น การ เกิดปฏิกิริยากับนํ้า , การเกิดปฏิกิริยาโดยของหมู่ 7A โดยมีค่า EN เป็นตัวตัดสินคําตอบ และสังเกตการ เปลี่ยนแปลงจากการเปลี่ยนสี
- การดุลสมการนิวเคลียร์ และชนิดของรังสีกัมมันตภาพ (ปีนี้ไม่ออกครึ่งชีวิต เตรียมสําหรับปี 61 ไว้ก็ดี)
- ปริมาณสารสัมพันธ์
- การหาจํานวนไอออนย่อย ๆ ในสารประกอบ (ออกบ่อยมาก ออกมาตลอด และปี 61 น่าจะเห็น อีก) ปี 60 ออกมาในเรื่องสารละลาย คือนําสาร Na2CO3 ละลายผสมกับ NaCl ถามหาจํานวนไอออนของ Na+
- ร้อยละโดยมวลของธาตุ (ปี 61 ออกอีกได้ เพราะปี 60 ออกดี ใช้การเปรียบเทียบโดยไม่ต้อง คํานวณตัวเลขทั้งหมด)
- วิเคราะห์จากสูตร เลย % = มวลของธาตุที่ถาม / มวลรวมของทุกธาตุ (MW) * 100
- เปลี่ยนหน่วยความเข้มข้น + การเจือจาง ปี 60 น่าสนใจตรงที่ให้ความหนาแน่นมาหลอก คือให้ มาแต่ไม่ได้ใช้ ปี 61 น่าจะออกแนวนี้อีกแต่แทนที่จะให้มาแล้วไม่ได้ใช้ก็ให้มามาก ๆ ให้มาหลาย ๆ ตัวให้เลือกใช้ ให้ถูกต้อง
- มีถามหน่วย ppm ปี 61 น่าจะเจอเศษส่วนโมลที่ปกติชอบออกแต่หายไปพักหนึ่งแล้ว 6) สมการเคมี ออกตามแบบแผนคือหาตัวหมด แล้วใช้ปริมาณจากตัวหมดเทียบหาผลิตภัณฑ์ ไม่ เขียนสมการมาให้แต่เป็นสมการที่ นร. เขียนเองได้ (NaHCO3 + HCl ⟶ .....)
ก๊าซ ของเหลว ของแข็ง
- ชนิดผลึก และสมบัติเด่น ๆ ยังมีการหลอกเรื่องเพชรนําไฟฟ้า ยังมีการหลอกเรื่องผลึกของ NH3 เป็นผลึกไอออนิก ซึ่งตรงนี้ นร. ไม่น่าโดนหลอก
- แรงเชื่อมแน่น / แรงยึดติด ออกง่ายลงเยอะ เรื่องนี้ความยากของคําถามลดลงตั้งแต่ปี 58>59>60 ปี 61 คงเลิกเรื่องนี้แล้ว น่าจะเห็นเรื่องความดันไอ + การหาจุดเดือดกลับมา เพราะหายไปนาน
- ก๊าซ
- เรื่องกฏของก๊าซอุดมคติ ออกตามแบบแผนเลย ( P1V1 / n1T1 ) = ( P2V2 / n2 T2 )
- การแพร่เปรียบเทียบจากตัวเลขในตารางข้อมูล คํานวณไม่ซับซ้อน ของปี 59 ออกดีมาก เปลี่ยนแนวการถามเรื่องการแพร่จากที่เคยเจอแพร่แล้ววัดระยะทาง เป็นแพร่เข้าไปในภาชนะแล้วคิดปริมาณ ที่แพร่เข้าไปในหนึ่งหน่วยเวลาแทน น่าจะออกแบบนั้นเพราะเป็นแนวใหม่เพิ่งออกนึกว่าจะเห็นในปี 60 กลับไม่ มา 61 น่าจะมา
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
คํานวณ
- ออกมาในแนวพื้นฐาน ให้สมการเคมีมา บอกอัตราการเกิดสารหนึ่ง ถามอัตราการเกิด สารตัวอื่น (ก็ดุลสมการแล้วเทียบจากความพอดีก็คือเลขดุลนั่นแหละ ว่าเป็นกี่เท่ากัน)
- ถามแบบเดียวกับข้อ 1) แต่ไม่ให้ตัวเลขให้กราฟเพื่อใช้ความชันเป็นอัตราการเกิดปฏิกิริยา ของสารแทน แล้วถามอัตราการเกิดฯของสารอื่น
ปัจจัย
1) ถามตรง ๆ ว่าอะไรทําให้ปฏิกิริยาเคมีเกิดเร็วขึ้น ไม่ถามเหตุผลเหมือนที่ผ่าน ๆ มา
2) ให้ความเข้มข้นถามผลที่มีต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยา ข้อสอบจะออกเหมือนที่เราคุ้นเคย ในการหากฏอัตรา หรือ Rate Law แต่สังเกตได้ว่าข้อสอบ 9 วิชาสามัญไม่เคยถามกฏ อัตราตรง ๆ เลย ( R = k[A]n[B]m ) น่าจะเป็นเพราะในระดับมหาวิทยาลัยการหากฏอัตรา จะต่างกับในระดับมัธยมตรงการใช้ฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ ข้อสอบจึงหันไปถามตาม ผลการทดลองแทนว่าความเข้มข้นของสารใดที่เปลี่ยนแปลงแล้วมีผลให้อัตราการเกิด ปฏิกิริยาเปลี่ยนตาม (หรืออาจไม่เปลี่ยนก็ได้)
- สมดุลเคมี
- การรบกวนตามหลัก เลอ ชาเตอริเยร์ ออกตามแบบแผนของเรื่องสมดุลเลย ให้เลือกข้อที่ทําให้สมดุลเลื่อนไปทางใดทางหนึ่ง มี หลอกเรื่องความดันเพราะปฏิกิริยาไม่มีก๊าซในระบบเลย ความดันจะไม่มีผล เป็นการ หลอกที่ไม่ยาก แต่ นร. ที่รีบ ที่รนจนสติไม่นิ่งก็โดนหลอกได้
- คํานวณ
- หาค่า K เมื่อมีหลาย ๆ สมการ ก็สืบว่าสมการที่ต้องการได้จากการรวมสมการ กลับ สมการ หรือคูณเลขใดเข้าไป
- หาค่า K ใช้วิธีตามแบบแผนเลย คือ เริ่มต้น / เปลี่ยนแปลง / สิ้นสุด มีการแก้สมการคณิตศาสตร์ แต่ไม่ยากเท่าปี 59 (ตรงนี้ต้องบอกว่าปี 59* สมการ คณิตศาสตร์นั้นไม่ได้ออกแบบมาให้แก้ด้วยวิธีตรง ถ้าปี 61 เจออีกให้ นร. แทนค่าจากตัว เลือกจะได้คําตอบเร็วกว่า )
- ค่าคงที่การละลาย ออกแนว PAT 2 ไปนิด แต่ก็ถือว่าดี คือวิเคราะห์จากค่า K ที่น้อย มาก ๆ กับสูงมาก ๆ พร้อมทั้งอธิบายเพิ่มจากปฏิกิริยากรด เบส
กรด เบส (ออกหลายข้อตามปกติ)
- หาสารที่ไม่เป็นแอมโฟเทอริค คือ เป็นได้แค่กรด หรือเบส อย่างเดียว ตัวเลือกที่เป็นคําตอบ คือ CH3COO- สารนี้ให้ H+ ไม่ได้ เป็นได้แต่เบส
- คิดการแตกตัวของอิเล็กโทรไลต์แก่ (NaOH) เทียบกับอิเล็กโทรไลต์อ่อน NaHCO3
- หาค่า pH ของสารละลายเบสแก่ วิธีทําตรงตามแบบแผนมากเลย คือ จัดการเรื่องความ เข้มข้นให้ได้หน่วย mol/dm3 ก่อน ต่อด้วยการเจือจาง แล้วจึงมาแตกตัวแล้ว take -log เพื่อ หาค่า pH (โจทย์ออกเบสแก่ นร. ก็ต้องเริ่มจาก [OH-] แล้วจึงค่อยเปลี่ยนเป็น pH
- อินดิเคเตอร์ หาช่วง pH ของการเปลี่ยนสีเอง (แนวนี้น่าจะออกอีกแต่คงยากกว่านี้ เพราะ แนวเดิม ๆ คือให้ อินดิเคเตอร์หลาย ๆ ตัวแล้วตัดช่วงตัวเลขที่ซ้อนกันมันพอทําได้กันแล้ว เว้นแต่เปลี่ยนแนวคําถามฉีกไปหน่อย)
- ไตเตรต ออก 2 ข้อ 5.1) ไตเตรต + บัฟเฟอร์
ออกในข้อเดียวกันเลย เล่นตัวเลือกให้เช็คว่าที่จุดนั้น ๆ เป็นบัฟเฟอร์หรือไม่ ออกแบบนี้ก็ดีนะบัฟเฟอร์จะได้ไม่ยากเกินไป ไตเตรตก็ไม่ใช่ใช้แต่สูตรสําเร็จ
5.1) ไตเตรต หาปริมาณ Mg(OH)
2 ในยาลดกรด แนวนี้ นร. จะเห็นบ่อย ๆ กับโจทย์ไตเตรตที่ ผ่าน ๆ มา ส่วนใหญ่ก็เกี่ยวกับการหามวลของสารสําคัญในยาต่าง ๆ ปีนี้ก็ไม่หลอกอะไร ตรงไปตรงมา
ไฟฟ้าเคมี
- ดุลสมการรีดอกซ์ + หาจํานวนอิเล็กตรอนที่ถ่ายโอน ออกครึ่งเซลล์ในเบสมาให้ดุล ก็ดุลตาม ขั้นตอน แล้วคิดอิเล็กตรอนที่ถ่ายโอน (ของปี 59 ออกยากกว่า สมการที่ออกปีนั้นไปหยิบ
สมการปี 46 มาถอดไอออนออกให้เป็นสมการไอออนิก)
ข้อสอบปี 46 : KIO
3 + KI + H
2SO
4 ⟶ KI
3 + K
2SO
4 + H
2O
ข้อสอบปี 59 : IO
3- + I- + H+ ⟶ I
3- + H
2O
- ให้ค่า E0 แล้วถามว่าจุ่มโลหะลงสารละลายแล้วข้อไหนเกิดผลได้ ก็เลือกข้อที่ ไอออนใน สารละลายมีค่า E0 สูงกว่า โลหะที่จุ่มลงไป
- ให้แผนภาพเซลล์กัลวานิก ถามเชิงผลการทดลอง ด้านไหนเป็นแคโทด ไอออนไหนจะลดลง ด้าน ไหนเกิดออกซิเดชัน ตรงนี้ไม่ยากอยู่แล้วแต่ระวังจะมึนกับศัพท์ที่เค้าชอบสลับกันไปมา ex. ใคร รีดิวซ์ใคร / ใครถูกออกซิไดซ์ด้วยใคร etc.
- การชุบตะปูเหล็กด้วยทองคํา ตรงนี้น่าสนใจ ข้อสอบไม่เคยถามเป็นการทดลองขนาดนี้มานาน แล้ว และถามไปถึงจํานวนโมลที่มาเกาะ
- การป้องกันการกัดกร่อนด้วยวิธีแคโทดิก คือหาโลหะที่ E0 ตํ่า มาเป็นผู้เสียสละป้องกันอีกโลหะ ไม่ให้ถูก O2 และ H2O ในบรรยากาศกัดกร่อน
- อุตสาหกรรม
- หาสมการการย่างแร่ = การเผาไหม้สินแร่ให้เกิดเป็นสารประกอบออกไซด์
- คํานวณ จากสมการการผลิตปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต
อินทรีย์เคมี
- ปฏิกิริยาของไฮโดรคาร์บอนที่ไม่มีหมู่ฟังก์ชัน ออกสมการการเผาไหม้ กับการฟอกสีโบรมีนใน ที่มืด ต้องหาสมการที่ดุลแล้วเอาเลขดุลมาตอบ
- ถามหาสารที่สร้าง H-bond ได้ ข้อนี้เหมือนถามหาหมู่ฟังก์ชันคือต้องรู้ว่าชื่อนั้น ๆ เป็นสารที่มี หมู่ฟังก์ชันอะไร
- คํานวณจากปฏิกิริยาเอสเทอริฟิเคชัน แต่ นร. ต้องรู้สูตรของสาร โจทย์จะเขียนมาแต่ชื่อ เรา ต้องเขียนสูตรเองเพราะต้องคิดมวลโมเลกุล ส่วนการคํานวณใช้หลักสมการเคมีตามแบบแผน คือหาตัวหมดแล้วใช้ปริมาณของตัวหมดหาผลผลิต แต่ข้อนี้คําตอบไม่ร้อยเปอร์เซนต์ โจทย์ กําหนดร้อยละผลที่ได้เป็น 75% ก็คูณมวลผลิตภัณฑ์ที่ได้ด้วย 0.75 ก่อนตอบ
- ไอโซเมอร์ ถามว่าสารประเภทใดเป็นไอโซเมอร์กันได้ ข้อสอบที่ถามไอโซเมอร์หายไปพักนึง พอ วนกลับมาก็ง่าย ทําให้คิดว่าปี 61 น่าจะยากกว่านี้
- เรียงลําดับจุดเดือดตามหมู่ฟังก์ชัน ถ้าหมู่ฟังก์ชันเดียวกันก็ดูที่จํานวน C ที่มากกว่า ถ้า C เท่า กันก็ดูโครงสร้างถ้ามีกิ่งมากจุดเดือดจะตํ่า เรื่องการเรียงลําดับจุดเดือดของสารอินทรีย์ก็เป็น อีกเรื่องที่ข้อสอบ 9 วิชาสามัญชอบออกมาก ๆ
- ความเป็นกรด - เบส ของไฮโดรคาร์บอนที่มีหมู่ฟังก์ชัน มีหลอกตรงเอาเอไมด์ มาไว้ในตัวเลือก เดียวกับเอมีน ก็ต้องไม่ลืมว่าเอมีน (NH) เป็นเบส แต่เอไมด์ (CONH) เป็นกลาง เชื้อเพลิงซากดึกดําบรรพ์
- พอลิเมอร์ ถามโครงสร้างที่ถูกต้องของ พอลิเมอร์
- มลภาวะ เป็นข้อสอบที่ออกน้อยมากในยุคปัจจุบัน ล่าสุดที่เคยออกถามเรื่อง “ปรากฏการณ์ยู โทรฟิเคชัน” ที่มีผลให้ออกซิเจนในนํ้าลดลง
- สารชีวโมเลกุล
- การทดสอบด้วย เบเนดิกต์ และ ไฮโดรไลซิสก่อนแล้วจึงทดสอบด้วยเบเนดิกต์ แล้วถามหาสารที่ ทดสอบได้
- คํานวณการเกิดสบู่จากไตรกลีเซอไรด์ สมการที่นิยมจํากันก็คือ
ไตรกลีเซอไรด์ + 3เบส ⟶ กลีเซอรอล + 3เกลือของกรดไขมัน (=สบู่)
3. ถามแรงยึดเหนี่ยวของสารชีวโมเลกุล ข้อนี้อาจารย์ว่าคงมีเป้าไปที่กรดนิวคลิอิก เพราะอีก 2 ชนิด ที่ถามมาด้วยกันคือ โปรตีน กับ คาร์โบไฮเดรต นร. จะคุ้นเคยมากๆแล้ว
- ข้อสังเกต
- มีการคํานวณด้วยสมการเคมีเยอะกว่าปกติ นอกจากถามในส่วนของปริมาณสารสัมพันธ์แล้ว ยังพบในเรื่อง
- อุตสาหกรรม (ปี 61 อาจออกแบบนี้อีก แต่ใช้สมการจากเรื่องอุตสาหกรรมที่ยาก ๆ มีหลายขั้น ตอน หรือ มีการดุลสมการเฉพาะ)
- สารชีวโมเลกุลมีคํานวณสมการเคมีในการเกิดสบู่
- อินทรีย์เคมีก็ใช้สมการเคมีในปฏิกิริยาเอสเทอริฟิเคชัน
- พันธะโคเวเลนต์ขาดความยากในเรื่องมุมพันธะ กับ รูปร่างโมเลกุล ที่ปกติจะออกประจํา คู่กับ สมบัติบางอย่างในตารางธาตุที่โยงกันได้
- ก๊าซ ออกคํานวณง่ายไป ไม่หลอกอะไรเท่าไหร่ ไม่ต้องตีโจทย์แบบฉีกแนวเลย ปี 61 น่าจะฉีกแนวกว่านี้
- เรื่องของเหลวการถามเกี่ยวกับแรงเชื่อมแน่นและแรงยึดติดง่ายลงมาก ๆ และ นร. ก็จะคุ้นเคย ภาพที่ออกอย่างมาก (แต่ต้องเป็น นร. ที่เคยทําข้อสอบเก่า หรือ แนวข้อสอบที่ออกแบบมาล้อกัน) น่าจะเห็น การถามเรื่องความดันไอ + การเดือด ในปี 61
- การหาโมลไอออนในสารประกอบยังเป็นของชอบของข้อสอบ 9 วิชา สามัญ และอาจารย์คิดว่าก็ น่าจะออกอีก เพราะเป็นจุดดักจุดหนึ่งของปริมาณสารสัมพันธ์ เรื่องที่หายไปพักหนึ่งแล้วคือ มวลอะตอม เฉลี่ยของไอโซโทป
- ปี 60 ไม่มีเรื่อง สมบัติคอลลิเกทิฟ Colligative ตรงนี้อาจารย์ Surprise มาก ๆ เลย เพราะที่ผ่าน มาเป็นของโปรดของข้อสอบ 9 วิชาสามัญมาอย่างเหนียวแน่น ปี 61 มาแน่
- เรื่องปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีปี 60 ไม่ยาก และผิดแนวมากเลย เพราะปกติ ข้อสอบชอบให้วิเคราะห์เหตุผลของปัจจัยนั้น ๆ อุณหภูมิสูงปฏิกิริยาเร็วขึ้นเพราะอะไร เกี่ยวข้องกับสัดส่วน จํานวนโมเลกุลที่มีพลังงานสูงกว่าพลังงานก่อกัมมันต์อย่างไร ไม่เห็นในปี 60
- เรื่องสมดุลเคมี ข้อสอบ 9 วิชาสามัญที่ผ่านมาออกเป็นกราฟได้ดีมาก ให้กราฟมาแล้วถามค่า K ถามสมการ ถามสาเหตุของการปรับตัวแล้วได้ผลดังกราฟ ไม่เห็นในปี 60 เช่นกัน
- กรด เบส ปี 61 บัฟเฟอร์น่าจะถูกแยกมาถามเป็นข้อใหญ่ ไม่เป็นส่วนหนึ่งของตัวเลือกเหมือนปี 60 อาจจะถาม pH บัฟเฟอร์ หรือถามการเกิดบัฟเฟอร์แบบที่ผ่าน ๆ มา ส่วนเรื่องอื่น ๆ ก็ออกครบทุกหัว ตามที่เคยเป็นมาทุกปี
- เรื่องไฟฟ้าเคมี พยายามจะออกให้ครอบคลุม และไม่คลุมเครือเหมือนที่เคยเป็นที่ถกเถียงกันในปี 59 ปีนี้ไม่มีการพูดถึง E0cell การดุลสมการรีดอกซ์ก็แค่ครึ่งเซลล์ ปี 61 เราน่าจะเห็นการดุลสมการรีดอกซ์ แบบเต็มเซลล์ และเซลล์กัลวานิกน่าจะยากกว่านี้ อาจได้เห็นภาพเซลล์ หรือ หลาย ๆ เซลล์ต่อกัน
- อินทรีย์เคมี ออกปฏิกิริยาน้อยไป อะโรมาติคหายไปเลย ข้อสอบหลายปีต่อเนื่องกันถามเรื่อง การอ่านชื่อในระบบ IUPAC ปี 60 ก็ไม่มี จับผิดโครงสร้างก็ไม่มี (หมายถึงโจทย์ให้สมบัติการเกิดปฏิกิริยา แล้วถามว่าสารดังกล่าวมีโครงสร้างตรงกับข้อใด หรือโครงสร้างในข้อใดเป็นไปไม่ได้ )
- เรื่องเชื้อเพลิงซากดึกดําบรรพ์ ออกในส่วนที่ไม่ใช่หัวใจของเรื่องเลย ไม่ถามอะไรเกี่ยวกับ ปิโตรเลียม เกี่ยวกับการปรับปรุงคุณภาพ คําถามที่น่าสนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยหน่อย หรือ เชื้อ เพลิงทางเลือก พลังงานทดแทน ถ่านหินก็ไม่มี ไปถามเรื่องมลภาวะกับพอลิเมอร์ ปี 61 ระวังเรื่องที่หายไป ทวนให้ดี ๆ
- เรื่องอุตสาหกรรมถ้าออกแบบนี้เด็กจะไม่อ่านหนังสือบทนี้แล้ว อาจารย์คิดว่า ปี 61 น่าจะออก ต่างไป น่าจะกลับมาถามเรื่องหลัก ๆ ที่ นร. ต้องรู้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ไม่ใช่ให้คํานวณเหมือนปี 60 ที่ผ่าน มาถามอุตสาหกรรมปุ๋ย แก้ว เซรามิกส์ อัญมณี การผลิตโซดาแอช พวกนี้ต้องทวนดี ๆ
- การทดสอบสารชีวโมเลกุลที่ผ่านมาเห็นแต่ออกในโอเน็ต ใน 9 วิชาสามัญจะออกคุณสมบัติที่บ่ง บอกจุดเด่นและความแตกต่างของสารแต่ละชนิด เช่น ความอิ่มตัว-ไม่อิ่มตัว ของกรดไขมันส่งผลต่อ สถานะ จุดหลอมเหลว จุดเดือดอย่างไร โครงสร้างของโปรตีน กรดนิวคลิอิก ถ้าจะออกการทดสอบสารที่ เลือกก็มักจะมีระดับกว่าที่ออกมาในปี 60 นี้
นักเรียนยังคงต้องทําและวิเคราะห์ข้อสอบเก่าเป็นแนวทาง ข้อสอบ 9 วิชาสามัญในส่วนเคมี ไม่ยากเหมือน PAT 2 และใช้เวลาทําแต่ละข้อแบบสมเหตุสมผล มีทดเวลาได้บางข้อใช้เวลาทําไม่นานก็ไปเพิ่ม เวลาให้ข้ออื่นได้ แต่นักเรียนต้องทบทวนเนื้อหาความรู้ทุกจุดอย่างครบถ้วน จุดดักทั้งหลาย ข้อยกเว้นของ กรณีต่าง ๆ ต้องแม่น
สําคัญมากคือต้องมีสมาธิ ใจต้องอยู่ในเรื่องที่สอบอย่างแน่วแน่ เวลานักเรียน (บางคน) เล่นเกม มี สมาธิ มีส่วนร่วมในเกม ใจจดจ่อกับการเอาชนะอย่างไร การสอบก็ต้องให้ใจจดจ่ออย่างนั้น หรือเวลา นักเรียน (บางคน) อ่านนิยาย เรามีอารมณ์ร่วมคิดตามความคิดตัวละครอย่างไร เวลาสอบต้องเป็นแบบนั้น อาจารย์ขออวยพรให้นักเรียนทุกคนทุ่มเทความเพียรในโค้งสุดท้ายนี้อย่างเต็มที่ สู้กับอนาคตของ ชีวิตเราอย่างสุดความสามารถ สนามการแข่งขันนี้มีคนที่ผ่านมันไปได้ด้วยใจที่ไม่ย่อท้อ เราก็ต้องทําได้ ขอ ให้นักเรียนทุกคนโชคดี