PAT2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ วิชาปราบเซียนที่ระดับความยากไต่ระดับสูงขึ้นเรื่อย ๆ ไปทุกปี โดยในจะแบ่งกลุ่มสาระเนื้อหาใน PAT2 แบ่งออกเป็น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา โลกและดาราศาสตร์ ด้วยระดับความยากทุกกลุ่มสาระ แต่วิชาที่เด็ก ๆ ชอบเทมากที่สุดก็คือ “เคมี” เพราะคิดว่ามันยาก !!!
อ.ไมธ์ Eureka ฝากถึง dek61 ที่กำลังจะทิ้ง เคมี PAT2 ต้องตั้งหลักคิดใหม่ ในข้อสอบทั้งหมด 25 ข้อไม่ใช่ว่าทุกข้อจะยากจนทําไม่ได้เลย มันมีส่วนที่ทําได้แน่ ๆ ถ้าจะให้มานั่งอธิบายเนื้อหาแต่ละส่วน ในเวลาที่เหลือน้อยลงทุกวันคงไม่ทันแน่นอน เพราะฉะนั้นอาจารย์ขอ ผ่าข้อสอบ PAT2 เคมี เป็น 6 กลุ่ม เพื่อเป็นการทบทวน และเรียงลำดับเนื้อหายากหรือง่าย
กลุ่มที่ 1 : อะตอม + ตารางธาตุ + พันธะเคมี
กลุ่มนี้คือกลุ่มที่เราทำได้แน่นอนเพราะคำถามจะไม่แตกต่างกับข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยอื่น ๆ ทั้ง 9 วิชาสามัญ หรือข้อสอบเอนทรานซ์เดิม ที่ต้องรู้คือ
- จัดเรียงอิเล็กตรอน > เนื้อหาต้องเป๊ะ
- แม่นสมบัติตามตารางธาตุ ค่า IE , ค่า EN , ความเป็นกรด – เบส ของสารประกอบคลอไรด์ ออกไซด์
- คิดพลังงานในการเกิดสารไอออนิกครบทุกขั้นตอน ไม่สะเพร่าเรื่องตะกอนไอออนิก
- รูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ สภาพขั้ว คำนวณพลังงานพันธะ
แต่นักเรียนจะต้องไม่ลืมอีกอย่างคือ ข้อสอบ เคมี PAT2 มักมี
“จุดดัก” ตรงที่เป็นข้อยกเว้น , สีที่โดดเด่น , คุณสมบัติที่ไม่เป็นตามแนวโน้ม , รูปร่างโมเลกุลที่เกิดจากแรงผลักของอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว
ตัวอย่างที่พบบ่อย
- เมื่อมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวในโมเลกุลที่มีพันธะเป็นรูปร่างบางอย่างแล้ว อิเล็กตรอนนั้นจะผลักพันธะบางเส้นให้ห่างออกจากมัน ส่งผลให้รูปร่างเปลี่ยนไป เช่นที่เราพบจากรูปร่างทรงเหลี่ยมแปดหน้า ถ้าอะตอมกลางอิเล็กตรอนคู่โดดเดียวเพิ่มมา 1 คู่ จะทำให้กลายเป็น
พีระมิดฐาน 5 เหลี่ยม ทันที
กลุ่มที่ 2 : ปริมาณสัมพันธ์ + ก๊าซ ของเหลว ของแข็ง
เรื่องที่ออกแน่นอนคือ
สมการเคมี และยากด้วย แต่ละปีโจทย์จะยิงยากและยาวมาก นักเรียนหลายคนเห็นโจทย์ก็ข้ามเลย สําหรับคนที่เตรียมตัวเรื่องนี้มาโดยเฉพาะฝึกโจทย์เรื่องนี้ จนเชี่ยวชาญก็อาจยังทําไม่ได้ด้วย เพราะความซับซ้อนในตัวโจทย์มันพัฒนาขึ้นหาแนวทางที่แน่นอนให้จับหลักไม่ได้แต่ไม่ได้หมายความว่าจะลองคิดก่อนไม่ได้ ถ้าอ่านโจทย์แล้วเข้าใจคําถาม มีแนวทางเป็นแผนที่ในใจ และคิดเลขได้แม่นยําลุยเลย มีลุ้นได ้คะแนนเพิ่ม ข้อสอบในปีหลัง ๆ มานี้ ข้อสอบชอบออกเรื่องปฏิกิริยาของก๊าซผสม
กลุ่มที่ 3 : อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี + สมดุลเคมี + กรด เบส
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี เป็นส่วนที่ง่ายที่สุดในกลุ่มนี้ นักเรียนจะทําคะแนนในเรื่องนี้ได้ แนวที่ชอบออกคือให้ตารางแสดงการเปลี่ยนแปลงของสารแต่ละตัวแล้วถามสมการเคมีของปฏิกิริยา จะทําได้โดยดูสัดส่วนการเปลี่ยนแปลงของสาร
แต่ละตัวเทียบกัน โจทย์ที่เป็นการทดลอง (ชอบออกมาก ๆ ) โจทย์แบบนี้ยิ่งออก ยิ่งดีเพราะมันเป็นการวิเคราะห์เฉพาะหน้า
หมายถึงเมื่อเจอโจทย์ต้องคิดเดี๋ยวนั้นเลยว่าอะไรเป็นเหตุ (ตัวแปรต้น) อะไรเป็นผล (ตัวแปรตาม) และมีผลต่อกันอย่างไร เคยมีการประยุกต์แคลคูลัสมาหาอัตราการเปลี่ยนแปลง คือ นักเรียนต้อง diff สมการที่โจทย์ให ้มาเพื่อคิดอัตราการเปลี่ยนแปลงของสาร อาจารย์เก็งข้อสอบในมุมตรงข้ามคือมีการอินทิเกรต หรือ take ln ไว้ให้เผื่อข้อสอบจะประยุกต์ต่อไปอีก ในหนังสือ “ตีโจทย์ PAT 2 เคมี” ของสํานักพิมพ์ GANBATTE
กรด เบส เป็นส่วนที่ยากที่สุดของกลุ่ม แต่อาจารย์จะแนะนําว่าถ้า นักเรียนฝึกโจทย์ กรด - เบส แนว PAT2 ย้ำนะว่าแนว PAT 2 ฝึกจนเชี่ยวชาญ นักเรียนจะพบหนทางการได้คะแนนจากกรด - เบส และถ้าทําคะแนนได้จะได้เปรียบมากเพราะโจทย์ กรด - เบส ยากจริง ๆ นักเรียนทิ้งกันเยอะ ที่ทําแล้วพลาดก็มาก แต่ย้ำว่าต้องฝึกโจทย์จนชํานาญ ระดับยอดฝีมือเลยนะ เพราะแต่ละข้อทํายาว ใช้เวลา และการคิดเลขก็ต้องเรียกว่า ชั้นเซียนเขาเล่นกัน
สมดุลเคมี จะเป็นอีกเรื่องของกลุ่มที่น่าจะเก็บคะแนนได้ อย่างน้อยการเลื่อนสมดุลตามหลัก เลอ ชา เตอลิ เอร์ ก็ออกทุกครั้งแล้วคิดไม่ซับซ้อนมากนัก ส่วนการคํานวณค่าคงที่สมดุลก็ไม่ยากแต่ต้องคิดเลขแบบไม่พลาดและใช้ฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์บางอย่างได้คล่อง
กลุ่มที่ 4 : อินทรีย์เคมี ส่วนเน้นเนื้อหา
นักเรียนต้องแม่นคุณสมบัติของสารอินทรีย์แต่ละชนิด และต้องเปรียบเทียบสมบัติหลักของแต่ละชนิดได้เช่น จุดเดือด สภาพขั้วโมเลกุล การละลายน้ำ และที่สําคัญที่สุดคือ ปฏิกิริยา ที่เกิดสําหรับสารอินทรีย์แต่ละประเภทพร้อมเงื่อนไข
บทนี้อุปสรรคคือความเยอะของเนื้อหา และรายละเอียดที่เจาะลึกแบบทะลุพรุนเลย
ข้อสอบชอบออกปฏิกิริยาชื่อแปลก ๆ ที่เราไม่คุ้นแต่มันจะเกิดปฏิกิริยากับสารที่เรารู้จักได้
ต้องสังเกตจากคําใบ้ในโจทย์ เช่น โจทย์อาจบอกว่าปฏิกิริยานี้สามารถเปลี่ยนแลคโตนให้กลายเป็นคีโตนได้ ให้นักเรียนหาสารตั้งต้น นักเรียนก็ต้องทราบว่าแลคโตนเป็นเอสเทอร์ที่มีโครงสร้างเป็นวงโดยหมู่ฟังก์ชันทําหน้าที่เป็นตัว เชื่อมของการเกิดวง อย่าหลงไปคิดว่าแลคโตนคือคีโตนเพราะชื่อลงท้ายโอนเพราะจะแปลกใจเองว่าอ้าวแลกโตนถ้าเป็นคีโตนเกิดปฏิกิริยาแล้วทําไมก็ยังคงเป็นคีโตนเหมือนเดิม
กลุ่มที่ 5 : อินทรีย์เคมี ส่วนเน้นเนื้อรูปภาพ
ข้อสังเกตคือข้อสอบจะเป็นภาพสัญลักษณ์ทางอินทรีย์เคมี คือเป็นจุดเป็นเส้นเชื่อมต่อ ๆ กัน และภาพมักจะใหญ่ เป็นภาพที่ยึกยือซับซ้อน ถ้าเป็นไปได้อาจารย์แนะนําให้ทําชุดนี้ก่อนเลย ทําไมน่ะเหรอ
ข้อสอบส่วนนี้จะเป็นการสังเกต
โจทย์จะให้ปฏิกิริยาตัวอย่างมาชุดนึงก่อนจะเป็นภาพใหญ่ ดูยาก และ
ซับซ้อน จากนั้นค่อยถาม นักเรียนแค่สังเกตแล้ว
พยายามสรุปให้ได้ว่าตัวอย่างปฏิกิริยาที่โจทย์ให้มา
1) มันเกิดกับใคร
2) มันเกิดตรงไหน บางทีให้ภาพมายาวมาก ๆ แต่ส่วนที่เกิดปฏิกิริยาเป็นส่วนหมู่ฟังก์ชันเล็ก ๆ ซ่อนอยู่ปลายสุดของโซ่ก็มี
3) มันมีอะไรเชื่อมโยงกันเคยมีครั้งหนึ่งที่เราหาคําตอบจากการนับจํานวน C ของสารตั้งต้น แล้วเลือกตัว
เลือกที่มีจํานวน C ลดลงแต่รวมแล้วได ้จํานวน C รวมเท่ากับสารตั้งต้นง่าย ๆ แบบนี้เลยก็มี
กลุ่มที่ 6 : ไฟฟ้าเคมี และอุตสาหกรรม
อุตสาหกรรม ถ้าโจทย์ยาวมาก ๆ อาจารย์แนะนําให้ข้ามไปก่อน เพราะเสียเวลาอ่านจนไปเบียดเบียนเวลาคิดข้ออื่น ทั้งที่คะแนนเท่ากัน ไม่คุ้มจนกว่านักเรียนจะเก็บคะแนนส่วนที่เราตุนไว ้ครบหมดแล้วค่อยแบ่งเวลามาทําก็ไม่เป็นไร แต่ข้อสอบออกน้อย บางฉบับก็ไม่ออกบทนี้ หรือออกทะลุไปเชิงวิเคราะห์เลยก็มี
ไฟฟ้าเคมี
ถ้ามีการให้ตารางค่า E0 มา ข้อนั้น ๆ มักไม่ยากมาก เพราะถ้าถามการเกิดปฏิกิริยาเราก็อาศัยค่า E0 มาเป็นตัวบ่งบอกได้
และสมการที่มาพร้อมค่า E0 ก็ใช ้บอกการเปลี่ยนแปลงได้ว่าผลิตภัณฑ์หน้าตาเป็นอย่างไร
บ่อยครั้งที่ข้อสอบออกบรรยาย และที่ชอบมากคือเรื่องที่เกี่ยวกับเซลล์เชื้อเพลิง นักเรียนต้องทําความเข้าใจหลักของมันเพราะเซลล์เชื้อเพลิงแต่ละแบบมันมีหลักการร่วมกัน ความแตกต่าง รายละเอียดปลีกย่อยมันไปอยู่ที่ประเภทของอิเล็กโตรไลต์ที่ใช้
ทีมงาน AdmissionPremium.com ต้องขอขอบพระคุณ อ.ไมธ์ Eureka ที่ส่งต่อเทคนิคการคว้าคะแนน PAT2 ให้สูงสู้กับระดับความยากของมาตราฐานของข้อสอบ สุดท้ายนี้ อ.ไมธ์ ฝากให้กําลังใจนักเรียนที่มุ่งมั่นตามฝัน และเพียรพยายามอย่างที่สุดทุกคนแม้ว่าท้ายที่สุดเราอาจคาดผลล่วงหน้าไม่ได้ อย่างน้อยเราก็ไม่อายตัวเองที่จะบอกว่าเราสู้ไม่ถอยแล้วจริง ๆ และขอให้โชคดีเป็นของนักเรียนทุกคน