สอบเข้ามหาวิทยาลัย

วิทยาลัยแนวคิดใหม่ ไม่มีงานทำ ไม่ต้องจ่ายค่าเรียน “MAKE SCHOOL”

UploadImage
 
            เราอาจเคยได้ยินคอนเซ็ปเรียนก่อน แล้วค่อยผ่อนจ่ายค่าเรียนทีหลังกันมาบ้าง ไม่ว่าจะเป็นทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา กยศ. กรอ. แต่เอาเข้าจริงทุนเหล่านี้ก็เหมือนการกู้เสียมากกว่า โดยผู้กู้นั้นจำเป็นจะต้องใช้เงินคืนพร้อมดอกเบี้ยหลังเรียนจบ แต่ต่อจากนี้เราน่าจะเริ่มได้ยินคอนเซ็ป “No upfront cost Pay tuition through earnings” หรือ “ไม่มีค่าใช้จ่ายล่วงหน้า จ่ายค่าเล่าเรียนผ่านกำไร” เช่นที่เราจะยกตัวอย่างกันวันนี้เป็นวิทยาลัยด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ในซานฟรานซิสโก “Make School”
 
            ที่ Make School นอกจากจะอบอวนไปด้วยแรงบันดาลใจ และความปรารถนาในการสร้างสรรค์ผลงานของนักศึกษาแล้ว ที่นี่ยังเป็นวิทยาลัยที่เปิดรับผู้ที่อยากจะเปลี่ยนโลกด้วยเทคโนโลยีอีกด้วย การศึกษาของที่นี่จะมุ่งเน้นไปที่การสร้างแอพพลิเคชั่น และเว็บไซต์ ที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คน และเรียนรู้พื้นฐานทฤษฎีด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ที่นี่นักศึกษาจะได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ ผ่านการปฏิบัติจริง เรียนรู้จากผู้ก่อตั้งบริษัทเทคโนโลยี และนักพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์มืออาชีพ ซึ่งจะมาให้ความรู้เป็นประจำทุกสัปดาห์ผ่านเครือข่ายของ Make School เอง ทั้งจาก Y Combinator และ Andreessen Horowitz
 
            โดยการเรียนที่ Make School แห่งนี้จะใช้เวลาเพียง 2 ปีเท่านั้นสำหรับการจบการศึกษา และนักศึกษาจะต้องทำโปรเจคจบที่จะสามารถทำให้เริ่มธุรกิจได้ หรือจะเป็นการลงลึกศึกษาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ เช่นปัญญาประดิษฐ์ หรือการเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องจักรกลก็ได้
 
            และที่พิเศษสุดๆ สำหรับ Make School คือการให้นักศึกษาได้เรียนในวิทยาลัยก่อนฟรี โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ จนกระทั้งเรียนจบแล้วมีงานทำ หรือสามารถก่อตั้งกิจการของตนเองได้ก่อน จึงค่อยทยอยคืนเงินค่าเล่าเรียน จากส่วนหนึ่งของรายได้ หรือกำไรจากผลประกอบการ ขอสังเกตหนึ่งที่เราเห็นจากแนวทางการประกอบธุรกิจของที่นี่คือ สิ่งที่วิทยาลัยให้นี้ไม่ใช้ทุนการศึกษาที่ให้ฟรี หรือเงินกู้แต่อย่างใด แต่เป็นเหมือนการให้ยืมเงินเรียนมากกว่า สิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับเลยนั้นคือวิทยาลัยมีความกล้า และมั่นใจมากว่านักศึกษาที่จบออกไปจะมีงานทำ หรือก่อตั้งกิจการได้ มิเช่นนั้นแนวทางประกอบกิจการแบบนี้คงเจ๊งไปนานแล้ว
 
UploadImageUploadImage

            แม้เราจะคาดหวังให้มีอะไรแบบนี้ในประเทศไทยบ้าง แต่หากจะพูดถึงแต่สิ่งที่เกิดขึ้นในต่างประเทศก็ดูจะไกลตัวไปหน่อย เราจึงได้รวบรวมอะไรที่ใกล้เคียงกัน และแหล่งเงินกู้เพื่อการศึกษาที่มีอยู่ในประเทศไทยมาให้ดูกันว่ามีที่ไหนบ้าง และมีเงื่อนไขการกู้อย่างไร
 
  1. กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)
ผู้ให้กู้ : ธนาคารกรุงไทย
ระดับการศึกษา : มัธยมศึกษาตอนปลาย, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.), ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), ประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.), อนุปริญญา และปริญญาตรี
ประเภทของการกู้ยืม : ค่าเล่าเรียน, ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา และค่าครองชีพ
อัตราการกู้ยืม :
 
ระดับการศึกษา ค่าเล่าเรียน
และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา
(ต่อปี)
ค่าครองชีพ
(ต่อปี)
รวม
(ต่อปี)
ม.ปลาย 14,000 13,200 27,200
ปวช. 21,000 26,400 47,400
ปวส., ปวท. 25,000 – 30,000 26,400 51,400 – 56,400
อนุปริญญา,
ปริญญาตรี
50,000 – 200,000 26,400 76,400 – 226,400
 
การชำระหนี้ : เมื่อสำเร็จ หรือเลิกการศึกษา 2 ปี และต้องชำระให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลา 15 ปี
อัตราดอกเบี้ย : ร้อยละ 1 ต่อปี
รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.studentloan.or.th/index.php
 
  1. กองทุนเงินให้กู้ยืมที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.)
ผู้ให้กู้ : ธนาคารกรุงไทย
ระดับการศึกษา : ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) กู้ได้ทุกสาขาวิชา
                           อนุปริญญา และปริญญาตรี กู้ได้เฉพาะสาขาที่เป็นความต้องการหลักของประเทศ
ประเภทของการกู้ยืม : ค่าเล่าเรียน, ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา และค่าครองชีพ (เฉพาะผู้ขาดแครนทุนทรัพย์)
อัตราการกู้ยืม : (เกณฑ์ปีการศึกษา 2558)
 
ระดับการศึกษา กลุ่มสาขาวิชา/ประเภทวิชา
อัตราการกู้สูงสุด
(ต่อปีการศึกษา)
ค่าครองชีพ
(ต่อเดือน)
อนุปริญญา และปริญญาตรี สังคมศาสตร์, ศิลปะศาสตร์, มนุษยศาสตร์, ศึกษาศาสตร์ 60,000 2,200
ศิลปกรรมศาสตร์, สถาปัตยกรรมศาสตร์ 70,000
วิศวกรรมศาสตร์,
วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
70,000
เกษตรศาสตร์ 70,000
สาธารณสุขศาสตร์, พยาบาลศาสตร์,
เภสัชศาสตร์
90,000
แพทยศาสตร์, สัตวแพทยศาสตร์,
ทันตแพทยศาสตร์
200,000
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) พานิชกรรม, บริหารธุรกิจ, ศิลปหัตถกรรม, ศิลปกรรม, เกษตรศาสตร์, เกษตรกรรม, ประมง, สิ่งทอ, คหกรรม, คหกรรมศาสตร์, อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 25,000
ช่างอุตสาหกรรม, อุตสาหกรรม, เทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสาร, ทัศนศาสตร์, วิทยาศาสตร์สุขภาพ 30,000
 
การชำระหนี้ : ผู้กู้ปี 2549, 2551, 2552 ใช้หลักเกณฑ์เดียวกันกับ กยศ.
                      ผู้กู้ตั้งแต่ปี 2555 เริ่มชำระเมื่อมีรายได้ 16,000 บาทต่อเดือน หรือ 192,000 บาทต่อปี และต้องชำระให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลา 15 ปี นับตั้งแต่วันที่เริ่มต้นชำระ
อัตราดอกเบี้ย : ร้อยละ 1 ต่อปี
รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.studentloan.or.th/index.php
 
  1. สินเชื่อบุคคลเพื่อการศึกษากสิกรไทย (K-Personal Loan for Education)
ผู้ให้กู้ : ธนาคารกสิกรไทย
ระดับการศึกษา : ปริญญาตรี, ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรบัณฑิต
ประเภทของการกู้ยืม : ค่าใช้จ่ายในหลักสูตร อาทิ ค่าหน่วยกิต, ค่าธรรมเนียม, ค่าทัศนศึกษา และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ตามหลักสูตรที่สถาบันการศึกษารับรอง
อัตราการกู้ยืม : 80% ของค่าใช้จ่ายแต่ละหลักสูตร สูงสุดไม่เกิน 750,000 บาท
การชำระหนี้ : ธนาคารจะหักบัญชีออมทรัพย์ธนาคารกสิกรไทย ทุกวันทำการสุดท้ายของเดือน ระยะเวลาผ่อนชำระ 5-7 ปี
อัตราดอกเบี้ย : คิดอัตรา MRR + 4% ต่อปี
รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.kasikornbank.com/TH/Personal/Loans/KPersonalCredit/Pages/KLoanEducation.aspx
 
  1. สินเชื่อเพื่อการศึกษาในประเทศ
ผู้ให้กู้ : ธนาคารกรุงไทย
ระดับการศึกษา : ระดับปริญญาตรี ขึ้นไป หลักสูตรที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบวิชาชีพ, บัณฑิตศึกษา, หลักสูตร Inter, English Program อนุบาลถึง มัธยมปลาย
ประเภทของการกู้ยืม : เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการศึกษาต่อในประเทศ เช่น ค่าเล่าเรียน ค่าตำรา อุปกรณ์การศึกษาต่าง ๆ
อัตราการกู้ยืม :
 
ประเภท วงเงิน
หลักสูตรระดับปริญญาตรี,
หลักสูตรที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบวิชาชีพ,
บัณฑิตศึกษา
ให้ตามค่าใช้จ่ายจริง
Inter, English Program อนุบาลถึง มัธยมปลาย ไม่เกิน 300,000 บาท
 
การชำระหนี้ : เริ่มชำระงวดแรกภายในระยะเวลา 1 เดือนนับแต่วันที่ทำสัญญากู้ ระยะเวลาการให้สินเชื่อและการผ่อนชำระ สูงสุดไม่เกิน 10 ปี
อัตราดอกเบี้ย :   บุคคลค้ำ : MRR+3%
                           มีหลักประกัน : MRR-0.75%
                           จำนำเงินฝาก :  ดอกเบี้ยเงินฝาก+2%
                           อัตราดอกเบี้ยกรณีผิดนัดชำระหนี้งวดใดงวดหนึ่ง ให้คิดดอกเบี้ยจากต้นเงินที่ค้างชำระทั้งหมด ในอัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามประกาศ
                           อัตราดอกเบี้ยของธนาคาร (ปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 18.00 ต่อปี) ให้ผ่อนชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยเป็นรายเดือนๆ ละเท่าๆ กันให้เสร็จสิ้นภายในอายุสัญญากู้
รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.ktb.co.th/ktb/th/product-detail-government-officer.aspx?product=xFjIqULasffoE3eN53UgTw==
 
  1. สินเชื่อเพื่อการศึกษาต่างประเทศ
ผู้ให้กู้ : ธนาคารกรุงไทย
ระดับการศึกษา : สถาบัน ต่างประเทศที่สำนักงาน ก.พ.รับรอง
ประเภทของการกู้ยืม : สินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการศึกษาต่อของบุคคลทั่วไปในสถาบัน ต่างประเทศที่สำนักงาน ก.พ. รับรอง เช่น ค่าเล่าเรียน หรือค่าตำรา และอุปกรณ์การศึกษา ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย หรือ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
                                    เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการศึกษาต่อในสถาบันต่างประเทศที่สำนักงาน ก.พ.รับรอง
                                    เพื่อศึกษาทางด้านภาษา หรือ Intensive Course ก่อนเข้าเรียน
                                    เพื่อศึกษาหรือฝึกอบราเพิ่มเติม หรือ Extensive Course ในสายวิชาชีพที่ตรงกับสายงานเพิ่มเติม
                                    เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับนักเรียนตามโครงการ A.F.S.
                                    เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาตามโครงการของสถาบันแนะ
                                    แนวการศึกษาที่เป็นสมาชิกของสถาบันไทยแนะแนวการศึกษานานาชาติ (TIECA)
อัตราการกู้ยืม : ให้กู้ตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง ค่าใช้จ่าย รวมถึง ค่าเล่าเรียน,ค่าตำรา และอุปกรณ์การศึกษา เป็นต้น
การชำระหนี้ : ระยะเวลาการให้สินเชื่อและการผ่อนชำระ สูงสุดไม่เกิน 10 ปี
อัตราดอกเบี้ย : บุคคลค้ำประกัน MRR+3%ต่อปี
                         จำนองหลักทรัพย์ MRR-0.75%ต่อปี
                         โอนสิทธิ์เรียกร้องในเงินฝากเป็นประกัน อัตราดอกเบี้ยเงินฝากลูกค้า +2 %ต่อปี
                         อัตราดอกเบี้ยกรณีผิดนัดชำระงวดใดงวดหนึ่ง คิดจากต้นเงินที่ค้างชำระทั้งหมดในอัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามประกาศธนาคาร (ปัจจุบันเท่ากับ 18% ต่อปี)
รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.ktb.co.th/ktb/th/product-detail-personal.aspx?product=MsV74Mv4yt%2FQ5028VvWUsQ%3D%3D&type=s
 
  1. สินเชื่อสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
ผู้ให้กู้ : ธนาคารธนชาต
ระดับการศึกษา : ปริญญาตรี และ ปริญญาโท
ประเภทของการกู้ยืม : สินเชื่อเพื่อการศึกษาสำหรับสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น Scholar Loan for TNI
อัตราการกู้ยืม : 100% ของค่าใช้จ่ายตามหลักสูตร ขั้นต่ำ 100,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 1,000,000 บาท
การชำระหนี้ : ผ่อน สูงสุด 8 ปี ลดต้นลดดอก ด้วยการหักบัญชีอัตโนมัติธนาคารธนชาต / หรือ Pay-in พิเศษ
อัตราดอกเบี้ย : TBANK's MLR + 3% (ต่อปี)
                         (MLR คือ อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมระยะยาว มีกำหนดชำระคืนเกิน 1 ปี สำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี)
รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.thanachartbank.co.th/TbankCMSFrontend/personalTHDetail.aspx?PTypeID=9&ProID=73&PName=personal
 
  1. สินเชื่อเพื่อการศึกษาธนชาต FLASH Scholar
ผู้ให้กู้ : ธนาคารธนชาต
ระดับการศึกษา : ปริญญาโท และปริญญาเอก
ประเภทของการกู้ยืม : ค่าใช้จ่ายสำหรับการศึกษาของตนเองในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก กับสถาบันการศึกษาภายในประเทศ ทุกสถาบัน ทุกหลักสูตร
อัตราการกู้ยืม : 100% ของค่าเล่าเรียนตามหลักสูตร ขั้นต่ำ 100,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 1,000,000 บาท
การชำระหนี้ : ระยะเวลาการผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 8 ปี ชำระคืนค่างวดทันที แบบลดต้นลดดอก หักบัญชีอัตโนมัติธนาคารธนชาต
อัตราดอกเบี้ย : MLR + 4%
                         MLR คือ อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมระยะยาว มีกำหนดชำระคืนเกิน 1 ปี สำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี
รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.thanachartbank.co.th/TbankCMSFrontend/personalTHDetail.aspx?PTypeID=9&ProID=19&PName=personal
 
  1. สินเชื่อเพื่อการศึกษา
ผู้ให้กู้ : LH Bank ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮาส์ จำกัด
ระดับการศึกษา : การศึกษาทุกระดับชั้น ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรระยะสั้น ไปถึงระดับปริญญาโท ทั้งสถาบันการศึกษาในประเทศและต่างประเทศ
ประเภทของการกู้ยืม : ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา
อัตราการกู้ยืม : สามารถเบิกใช้สินเชื่อตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง โดยเบิกเงินกู้เป็นงวดการศึกษาได้ ทำให้ช่วยประหยัดดอกเบี้ยจากการเบิกทั้งจำนวน สูงสุดไม่เกิน 1,000,000 บาท
การชำระหนี้ : ไม่ต้องชำระเงินต้นในช่วง 3 เดือนแรก หลังจากเบิกใช้สินเชื่อ ผ่อนชำระได้นาน 60 เดือน
อัตราดอกเบี้ย : MLR + 1.75% ต่อปี ตลอดอายุสัญญากู้
รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.lhbank.co.th/Product/submenu/81303
 
                และทั้งหมดเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของสินเชื่อเพื่อการศึกษาที่เรารวบรวมมา อย่างไรก็ตามข้อมูลเหล่านี้เป็นเพียงข้อมูลเพียงส่วนเดียวเท่านั้น ยังมีเงื่อนไขอื่นๆ ของธนาคารที่ควรศึกษาก่อนตัดสินใจขอสินเชื่อ 


ข้อมูลจาก : www.makeschool.com, www.lhbank.co.th, www.studentloan.or.th, www.kasikornbank.com และ www.ktb.co.th