สอบเข้ามหาวิทยาลัย

11 ขวบ ประดิษฐ์เครื่องจับสารตะกั่ว ต้องเรียนอะไรถึงจะทำได้แบบนี้!!

         

           "เด็กหญิงจิทันจาลี ราว วัย 11 ปี จากเมืองโลน ทรี รัฐโคโลราโดของสหรัฐฯ คว้ารางวัลชนะเลิศในงาน "Discovery Education's 3M Young Scientist Challenge" ประจำ ปีนี้ ในฐานะผู้ประดิษฐ์เครื่องตรวจจับสารตะกั่วในแม่น้ำ ที่ได้ผลดีกว่าวิธีการที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน"

 

 

           "ราวได้รับการประกาศให้เป็นสุดยอดนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ของอเมริกา (America's Top Young Scientist" เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม และได้รับเงินรางวัล 25,000 ดอลลาร์สำหรับสิ่งประดิษฐ์ของเธอ ซึ่งเธอบอกว่า ได้ติดตามเรื่องวิกฤตน้ำปนเปื้อนในเมืองฟลินท์ รัฐมิชิแกนมานานราว 2 ปี และเธอตกใจมากเมื่อพบว่ามีประชาชนได้รับผลกระทบจากน้ำปนเปื้อนเป็นจำนวนมากวิกฤตน้ำปนเปื้อนในเมืองฟลินท์ เริ่มหลังจากระบบประปาของเมืองฟลินท์ หันไปใช้น้ำจากแม่น้ำเมื่อเดือนเมษายน ปี 2557 แทนการใช้น้ำจากทะเลสาบฮูรอน ซึ่งระบบน้ำใหม่จากแม่น้ำฟลินท์ เต็มไปด้วยสนิมเนื่องจากเป็นแหล่งทิ้งมลพิษ ทำให้มีสารตะกั่วปนเปื้อนในน้ำประปาของเมืองในปริมาณมากและประชาชนต้องดื่มและใช้น้ำที่ปนเปื้อนสารพิษ และราวก็เห็นพ่อแม่ของเธอทดสอบหาสารตะกั่วที่บ้าน จึงตัดสินใจที่จะทำบางอย่าง เพราะเห็นว่า เป็นขั้นตอนที่เชื่อถือไม่ได้ และเธอเริ่มประดิษฐ์เครื่องทดสอบเองเมื่อ 5 เดือนก่อน และจับมือกับแคธลีน แชฟเฟอร์ นักวิทยาศาสตร์ของ 3M ส่งสิ่งประดิษฐ์เข้าร่วมการแข่งขัน ก่อนจะชนะเลิศในที่สุด"

 
ขอบคุณข้อมูลจาก :  Nation TV 
 

สำหรับน้อง ๆ ที่อยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่สร้างสิ่งประดิษฐ์ของตัวเอง มหาวิทยาลัยไทยเรามีคณะ สาขาให้เลือกเรียนมากมาย เช่น
            - ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
            - ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
            - สาขาวิชาเคมี วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
            - สาขาวิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
            - สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
            - ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
            - สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มศว
            - สาขาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีฯ เจ้าคุณทหารลาดกระบัง
            - สาขาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ม.ศิลปากร
            - สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ม.บูรพา 
            - สาขาวชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 

          แต่ตัวน้อง ๆ ต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับสาขา ต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเคมี ฟิสิกส์และชีววิทยามากเพียงพอ ยิ่งมีคะแนนสูงในสามวิชานี้ได้ ยิ่งดีมาก   หากน้อง ๆ เป็นคนที่ชื่นชอบและสนุกไปกับการทดลองสิ่งต่าง ๆ มากกว่าผลที่ออกมา ทั้งในเรื่องของรายละเอียด ขั้นตอนการแก้ปัญหา และมีความอดทนในการรอแล้วละก็  เชื่อมั่นได้ว่าน้อง ๆ จะประสบความสำเร็จในอาชีพสาขาเคมีแน่นอน   ลองตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเกณฑ์ในการรับสมัครของแต่ละสถาบันการศึกษาให้ดี เพื่อจะได้มีความพร้อมในการสมัคร 
          A
dmissionPremium เรามีข้อมูลการเปิดรับสมัครของแต่ละมหาลัย มาให้น้อง ๆ ได้เลือกเรียนคณะ สาขาที่สนใจ คลิกที่นี้