เมนู
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
หน้าแรก
สอบเข้า
ม.ปลายติวฟรี
PRETCAS
BoostUP
รีวิวมหาวิทยาลัย
คณะแนะนำ
เรียนต่อ ป.โท
สำหรับคุณครู
กลับเมนูหลัก
ข่าว TCAS
ข่าวมหาวิทยาลัย
SchoolOntour
เล่าเรื่องรุ่นพี่ที่ 1
ค้นหาเปิดรับ TCAS/รับตรง
แคมป์/ค่าย Camp
วางแผนอนาคต Admission Planning
สำรวจอาชีพ Career Explore
สร้างพอร์ต Admission Portfolio
ถามตอบ AdmissionQ
บทความ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม
กลับเมนูหลัก
โปรแกรม U-Review
วีดีโอ U-Review
บทความ U-Review
แนะนำหลักสูตร U-Infographic
รวมค่าเทอม ม. ทั่วประเทศ U-life
จัดอันดับมหาวิทยาลัย
กลับเมนูหลัก
เรียนต่อต่างประเทศ
เรียนอินเตอร์
เรียนไอที
เรียนการบิน
เรียนบัญชี
เรียนนิเทศฯ
เรียนธุรกิจดิจิทัล
เรียนกีฬา
เรียนเป็นผู้ประกอบการ
เรียนการโรงแรม และการท่องเที่ยว
เรียนภาษาเพื่อธุรกิจ
โลจิสติกส์
เรือสำราญ
ดิจิทัลมีเดีย
สถาปัตยกรรมศาสตร์
วิศวกรรมศาสตร์
กลับเมนูหลัก
รีวิวหลักสูตร ป.โท
ข่าวบทความ ป.โท
แนะนำหลักสูตร U-Infographic
กลับเมนูหลัก
GIS ระบบงานแนะแนว 4.0
AdmissionPlanning สำหรับคุณครู
รายงาน Portfolio สำหรับคุณครู
สไลด์แนะแนวอาชีพ
ระเบียนนักเรียน
แบบประเมิน SDQ
แบบทดสอบ EQ
แบบทดสอบบุคลิกภาพ
ข้อมูลคณะสาขา
ข้อมูลอาชีพ
กลับเมนูหลัก
เรียนออนไลน์ U-Course
สมาชิก Gold
กลับเมนูหลัก
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 65
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 64
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 63
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 62
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 61
หน้าแรก
สอบเข้า
หลักสูตรแนะนำ
ข่าว TCAS
ข่าวมหาวิทยาลัย
SchoolOntour
เล่าเรื่องรุ่นพี่ที่ 1
รับตรงที่ไม่อยู่ใน TCAS
ค้นหาเปิดรับ TCAS/รับตรง
แคมป์/ค่าย Camp
วางแผนอนาคต Admission Planning
สำรวจอาชีพ Career Explore
สร้างพอร์ต Admission Portfolio
ถามตอบ AdmissionQ
บทความ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม
ม.ปลายติวฟรี
PRETCAS
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 65
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 64
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 63
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 62
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 61
BoostUP
รีวิวมหาวิทยาลัย
โปรแกรม U-Review
วีดีโอ U-Review
บทความ U-Review
แนะนำหลักสูตร U-Infographic
รวมค่าเทอม ม. ทั่วประเทศ U-life
จัดอันดับมหาวิทยาลัย
คณะแนะนำ
เรียนต่อ ป.โท
รีวิวหลักสูตร ป.โท
ข่าวบทความ ป.โท
แนะนำหลักสูตร U-Infographic
สำหรับคุณครู
GIS ระบบงานแนะแนว 4.0
AdmissionPlanning สำหรับคุณครู
รายงาน Portfolio สำหรับคุณครู
สไลด์แนะแนวอาชีพ
ข้อมูลคณะสาขา
ข้อมูลอาชีพ
เทคนิคและสื่อการสอน
คอร์สฟรี
เรียนออนไลน์ U-Course
สมาชิก Gold
สอบเข้ามหาวิทยาลัย
ข่าว TCAS
ค้นหาเปิดรับ TCAS/รับตรง
แคมป์/ค่าย
บทความ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม
โปรแกรมวางแผนอนาคต
โปรแกรมสร้างพอร์ตโฟลิโอ
โปรแกรมแอดมิชชัน
Previous
Next
Previous
Next
ความลับการเรียนรู้ที่คุณมองข้าม
แจ้งลบ
บันทึกเก็บไว้ใน List
วันที่เวลาโพส
18 พ.ย. 58 15:45 น.
18 พ.ย. 58 15:45 น.
อ่านแล้ว
933
จำนวน
แชร์
ผมมีวิธีเด็ดๆ ที่สามารถทำให้คุณจำแม่นขึ้น และเรียนดีขึ้นได้อย่างผิดหูผิดตา ไม่ต้องเรียนพิเศษ ไม่ต้องแหกตาอ่านหนังสือข้ามคืน ผมลองใช้วิธีนี้มากับตัวเองจนได้คะแนนดีมาก มันทำให้ผมสามารถจำบทพูดเป็นหลายสิบหน้าได้ และหลายคนที่เอาวิธีนี้ไปใช้ก็สอบติดเอนท์ติดมากมาย มันเป็นวิธีที่ผมได้จากการอ่าน การสังเกตเหล่าคนเรียนดี การสัมภาษณ์ และลองทำด้วยตัวเอง
ตั้งใจอ่านทุกบรรทัดอย่างช้าๆ นี่คือ 3 กุญแจแห่งความลับของการเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนชีวิตคุณ
1. รู้
ผมสอบถามเด็กที่เรียนได้ 4.00 รวมทั้งพวกได้คะแนนสูงมาหลายคน ผมพบว่าพวกเขาส่วนมากทำบางสิ่งที่ต่างจากคนทั่วไป นั่นคือ “เขาตั้งใจรับรู้จริงๆ”
คำว่า รู้ ในที่นี่หมายถึง ฟัง และ ดู อย่างตั้งใจ
หูของเขาจะเปิดฟังสิ่งที่ออกจากปากผู้พูด ขณะที่สายตาจดจ่อกับสิ่งที่ปรากฏบนสื่ออย่างเต็มที่ ซึ่งผมค้นพบว่าตำแหน่งในการเรียนที่ดีที่สุด คือ “นั่งแถวหน้า” เพราะเมื่อนั่งแถวหน้า สายตาเราจะถูกบังคับให้จับจ้องที่ผู้พูดและสื่อการสอนเป็นส่วนใหญ่
เนื่องจากสัมมาคารวะที่เราถูกปลูกฝัง ความเกรงอกเกรงใจจะบังคับสัญชาตญาณให้เรา “ตั้งใจเรียนกว่าเพื่อน” เพราะหากเรายุกยิก แอบหลับ หรือเล่นมือถือ มันจะเป็นเป้านิ่งให้ถูกชอล์กปาหัวได้
อนึ่งการนั่งหน้ายังส่งผลต่อจิตวิทยามนุษย์ในเรื่อง “การสวมบทเป็นผู้นำ” ด้วย
สังเกตซิครับ เวลาออกงานใหญ่ เหล่าผู้มีอำนาจจะนั่งแถวหน้าทั้งนั้น และพวกเขาก็จะถูกใส่บทบาทให้ต้องคอยจับตามองคนบนเวทีอย่างจดจ่อโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเพื่อรักษามารยาทหรือรักษาเกียรติตัวเองก็ตาม ดังนั้นเด็กที่นั่งหน้าห้องจึงมีเปอร์เซ็นต์เรียนได้รู้เรื่องกว่า ฟังได้ชัดกว่า เห็นได้ชัดกว่า มีสมาธิได้มากกว่า ส่งผลต่อโอกาสการรับรู้ที่ดีกว่าเช่นกัน
ที่สำคัญคุณจะไม่เห็นหัวของเพื่อนที่คอยผงกๆ ก้มๆ เงยๆ ให้เสียสมาธิ
2. คิด
ทักษะอย่างหนึ่งทำให้หลายคนจำเก่งกว่าคนอื่นคือ “การคิดอย่างเห็นภาพ”
สมองคนจำดีจะประมวลสิ่งที่ “รู้” (ตามข้อ 1) ให้เป็นภาพในหัวแทบจะในทันที เช่น เมื่อคุณพูดถึง คำว่า “บั้งไฟ มนุษย์ต่างดาว ชัปปุยส์ หมวกซานต้า ชาเขียว” สมองคนทั่วไปจะรีบจดจำเป็น “ตัวหนังสือ” แล้วก็นั่งท่องวนไปวนมา ผลก็คือจำได้ในระยะสั้น แต่สูญเสียมันในระยะยาว ทว่าสมองของคนที่จำเก่งจะเปลี่ยนคำเหล่านี้ให้เป็นภาพแล้วผูกเรื่องในจินตนาการ
ซึ่งข่าวดีก็คือ “คุณสามารถฝึกวิธีแบบนั้นได้เช่นกัน”
ยกตัวอย่าง 5 คำเบื้องต้น คุณจะลองคิดถึงภาพบั้งไฟก่อนก็ได้ มันหน้าตาเป็นไง? เหมือนอะไร? มีเสียงแบบไหน กลิ่นแบบไหน โอเคได้ มาแล้ว หนึ่งคน จากนั้นคิดถึงภาพมนุษย์ต่างดาวต่อ แต่ละคนมีจินตนาการต่างกัน คุณคิดเลย ผมให้เวลา 5 วิ
ห้า สี่ สาม สอง หนึ่ง...หมดเวลา
จากนั้น “เชื่อมคำให้เกิดภาพตลกๆ” ให้ได้ เนื่องจากสมองเรามีเปอร์เซ็นต์จะจำสิ่งที่แปลกประหลาด หรือมีอารมณ์ขันได้มากกว่าข้อมูลทั่วไป (คุณจำมุกตลกพี่โน๊ต อุดมได้มากกว่าบทบรรยายชีวะแน่ๆ ผมเชื่อ) เช่น คำว่า “บั้งไฟ” กับ “มนุษย์ต่างดาว” ก็ลองคิดภาพ “บั้งไฟมีมนุษย์ต่างดาวคร่อมอยู่” แล้วทำแบบนี้กับคำต่อๆ ไป -บั้งไฟมีมนุษย์ต่างดาวคร่อมอยู่ มนุษย์ต่างดาวโดนชัปปุยส์หอมแก้ม ชัปปุยส์สวมหมวกซานตาคลอส หมวกซานตาคลอสกลิ่นชาเขียว
ลองหลับตานึกภาพเหล่านั้นในหัวคุณดู
ลองพูดชื่อพวกมันจากหน้าไปหลัง หลังไปหน้าดู
คุณจำ 5 คำนี้แบบเรียงลำดับได้แล้วใช่ไหมครับ?
นี่คือวิธีการจำอันทรงพลังจาก เอรัน ครัทซ์ ผู้คิดค้นหลักสูตร Mega Mind ซึ่งเน้นเทคนิคการจำขั้นสุดยอด ชายคนนี้จำเก่งจึงได้รับการยกย่องจากกินเนสส์ บุ๊ก ให้เป็น “ผู้ที่มีความจำเป็นเลิศ” มาแล้ว และเขาก็ใช้หลักการจากเปลี่ยนตัวหนังสือเป็นภาพ ตามที่คุณได้เห็นในข้อสองนี่แหละ
3. ทำ
คุณไม่มีทางจะเก่งอะไรได้ หากไม่ลงมือทำ
แค่ลอง “ทำ” สองอย่างนี้ ก็ช่วยให้คุณเรียนเก่งขึ้นได้แล้ว - อย่างแรกคือ “จด” สองคือ “พูด”
จดสิ่งที่คุณคิดเป็นนามธรรมในหัวให้ออกมาเป็นรูปธรรมบนสื่ออะไรก็ได้ อ่านพวกมันซ้ำๆ เข้าสู่กระบวนการรู้ (ตามข้อ 1) แล้วคิดวนไปเรื่อยๆ จนกว่าคุณจะเห็นภาพที่ชัดขึ้นๆ (ตามข้อ 2) จากนั้นทำโดยการจดย่อให้สั้นที่สุด สรุปเนื้อหาให้เหลือจำนวนหน้าที่น้อยที่สุด
จากนั้น “พูดออกมา”
ไปสอนคนอื่น ไปติวให้เพื่อน ยิ่งพูดเยอะ คุณจะยิ่งเข้าใจได้เยอะ ยกตัวอย่าง ประโยคคลาสสิกที่ฝังลงให้หัวข้ามชาติ สองหนึ่งสอง สองสองสี่ สองสามหก - กอเอ๋ยกอไก่ ขอไข่ในเล้า ขอขวดของเรา - หลายสิ่งหลายอย่างที่คุณจำได้ เพราะคุณพูด และทุกครั้งที่พูด จงพูดอย่าง “เข้าใจ” พูดอย่างคนที่จำภาพ จำเรื่องราวปะติดปะต่อในหัวได้ ยิ่งพูดเยอะ คุณจะเล่าเรื่องเก่งขึ้น คุณจะยิ่งเห็นภาพทุกอย่างชัดเจนขึ้น
จำเวลาที่คุณพูดถึงบอลนัดสำคัญ หรือ ภาพยนตร์ที่คุณชอบกับเพื่อนได้ไหม?
คุณพูดอย่างเข้าใจ คุณอินกับมัน นั่นแหละตัวอย่างของการเข้าใจอย่างถ่องแท้
ผมแนะนำให้คุณ “พูด” ในสิ่งที่ “รู้” และ “คิด” อย่างน้อย 5 รอบ
จะเป็นการเรียน การเตรียม หรือ สุนทรพจน์ก็เถอะ ก่อนทำการแสดงทุกครั้งผมจะพูดมันจนกว่าจะไม่ต้องดูสคริปต์ได้ หากคุณสามารถพูดแล้วนึกได้อะไรอยู่ตรงไหนของกระดาษ นั่นแหละแปลว่า คุณประสบความสำเร็จในการจำแล้ว
รู้ คิด ทำ คือ 3 กระบวนการง่ายๆ ที่จะเปลี่ยนคุณให้เรียนเก่งขึ้นอย่างผิดหูผิดตาได้จริงๆ
การรู้ คิด ทำอยู่คู่สัญชาตญาณมนุษย์ตั้งแต่เกิด ทุกคนสามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้ดีด้วยการฝึกฝนเป็นนิสัยติดต่อกัน 21 วัน นั่งแถวหน้า ฟัง อ่าน คิดเป็นภาพ จด และพูดออกมาทุกวัน ไม่ต้องเรียนพิเศษก็รู้เรื่อง ก่อนสอบก็ไม่ต้องอ่านเยอะก็จำได้ นั่นเพราะคุณฝึกสมองบ่อยจนมันฟิตแล้ว ทุกคนล้วนเริ่มจากศูนย์เหมือนกัน ไม่มีคำว่าสายไป ถ้าเริ่มทำวันนี้ มันก็เก่งขึ้นชาตินี้ ไม่ต้องรอชาติหน้า
การที่บางคนจำไม่เก่ง ไม่ใช่เพราะว่าเขาโง่แต่อย่างใด
เขาแค่ไม่พยายามจำก็เท่านั้น
Dr.Pop Facebook : www.facebook.com/drpopworld
Dr.Pop Twitter : @drpoppop
Ig, Line : @drpoppop
แหล่งข้อมูล :
คนดังนั่งเขียน ไทยรัฐออนไลน์
จำนวน
แชร์
อ่านแล้ว
933
ตั้งกระทู้ใหม่
แจ้งลบ
คนอื่น ๆ อ่านเรื่องนี้ แล้วมักจะอ่านเรื่องต่อไปนี้ต่อ
เรียนหมอเอกชน ต้องใช้เงินเท่าไหร่? เปิดค่าเทอม แพทย์ เภสัช ทันตะ สัตวะ ม.เอกชน เช็กเลย!
106
เปิดโผ ที่สุดของปี!! การจัดอันดับ 10 มหาวิทยาลัยไทย ปี 2567 โดย Webometrics ม.ไหนครองแชมป์?
3K
ฐานเงินเดือนเริ่มต้น สำหรับสายงาน IT อ้างอิงจาก Adecco Salary Guide FY2016
3K
เตรียมอุดมฯ ปรับวิธีคัดเด็กโควตาปี 60
5K
Dek รุ่นไหนก็มาร่วมงานนี้ได้ ! วางแผนเตรียมตัว สู่รั้วมหาวิทยาลัย (รับจำนวนจำกัด)
5K
ถาม-ตอบ
ติดตามแฟนเพจ
ติดตาม TWITTER
สถาบันไหน ?? จะครองใจ 2024
ร่วมโหวต!เลย..
สาขาแนะนำ ตามคำเรียกร้อง
น่าเรียน มีที่ไหน เน้นอะไร มาดูกัน!!
จะดีแค่ไหน! ถ้ารู้ล่วงหน้าว่าสอบติดไหม?
พร้อมรู้แนวข้อสอบ #TCAS66 ก่อนสอบจริง คลิกเลย!
ยื่นพอร์ตปุ๊ป สัมภาษณ์ปั๊บ
สมัครออนไลน์ได้เลย!!!
TCASPortfolio ต้อนรับปี 2024
ใช้งานฟรี! ไปเลย...
ติวเจาะ A-Level ครบทุกวิชา สายแพทย์
บูสต์คะแนน 70 UP กับเคล็ดลับเพิ่มคะแนน A-Level แบบฉุดไม่อยู่
×
Close