สอบเข้ามหาวิทยาลัย

อาชีพเงินดี คนทำน้อย พนักงานอำนวยการบิน หรือ นักบินโต๊ะ คือใคร?


ความฝันของหลายๆคนคงอยากจะติดปีก ใส่หมวกพร้อมก้าวเป็นนักบิน แต่มีอีกอาชีพหนึ่งที่เราอาจจะยังไม่เป็นที่รู้จัก “นักอำนวยการบิน” อาชีพนี้เปรียบเสมือนเพื่อนสนิทของนักบิน หัวหน้าแผนกฝึกอบรมนักบิน สายการบิน Thai Smile อาจารย์ปรัชญา จันทร์ลำภู เล่าถึงอาชีพนักอำนวยการบินว่า หน้าที่ของนักบินก็คือทำการบิน แต่พนักงานอำนวยการบินเป็นคนที่เตรียมเอกสารข้อมูลข่าวสารทุกอย่าง เพื่อจะให้นักบินขึ้นไปปฏิบัติการบิน

UploadImage
 
     ขอเริ่มตั้งแต่เรื่องของการเลือกเครื่องบินก่อนเลย บางสายการบินมีเครื่องบินหลายแบบหลายขนาด บางสายการบินมีเครื่องบิน 2 – 3 ขนาดหรือบางทีมีขนาดเดียว หน้าที่แรกก็คือเราต้องรู้ก่อนต้องคิดก่อนเลยว่า วันนี้เที่ยวบินที่เราจะไปหรือนักบินที่เราจะทำการบิน เช่น เที่ยวบินกรุงเทพ – เชียงใหม่ เราจะใช้เครื่องบินแบบไหน จะมีคนวางแผนมาให้หมดแล้ว พอเรารู้ว่าใช้เครื่องบินขนาดนี้ต้องใช้เส้นทางไหนในการบิน
 
     วางแผนการเติมน้ำมันเครื่องบิน ถ้าเราเติมน้ำมันวางแผนน้ำมันไปไม่พอ เครื่องบินก็อาจจะไม่สามารถบินไปถึงจุดหมายปลายทางได้ เกิดความยุ่งยากมีความซับซ้อนในการบิน การวางแผนมันสำคัญเพราะเป็นเจ้าหน้าที่อำนวยการบินเราต้องรู้ว่า สนามบินที่กรุงเทพหรือสนามบินปลายทางเติมน้ำมันที่ไหนดีกว่า คำว่าเติมน้ำมันที่ไหนดีกว่า หนึ่งคือเรื่องของเวลา ถ้าเติมที่สถานีปลายทางมันจะไปเสียเวลาที่ปลายทางหรือไม่ แทนที่จะรีบเอาเครื่องบินบินกลับมาเอามาเติมที่ต้นทางก็ได้ สองคือเติมที่ไหนถูกกว่า ปัจจุบันก็คือเราก็ต้องรู้ว่าเราบินไปที่ไหนแล้วน้ำมันถูก ส่วนใหญ่แอร์ไลน์ก็จะใช้วิธีการเติมที่นั่น ปัจจุบันเที่ยวบินในประเทศไทยแทบจะทุกสายการบินจะเติมน้ำมันที่สุวรรณภูมิหรือที่ดอนเมืองที่เดียว พูดง่ายๆ จะเติมที่กรุงเทพ และจะวางแผนน้ำมันเผื่อให้เพื่อเดินทางกลับมาและก็เติมที่กรุงเทพอีกรอบนึง เนื่องจากการเติมต่างจังหวัดอาจจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า อาจจะมีระยะเวลาที่สูงกว่า
 
UploadImage

     ตรวจเช็คสภาพเครื่องบินเสียหรือไม่เสียบินได้หรือบินไม่ได้ปลอดภัยไม่ปลอดภัย พนักงานอำนวยการบินต้องประสานงานกับช่างประสานงานกับฝ่ายช่างว่าวันนี้มีอะไรเสียบ้าง เตาอบเสียจะบินไหม ถ้าไฟท์นั้นไม่ต้องมีอาหารอุ่นร้อน เรามีหน้าที่ต้องแจ้งลูกเรือว่าเตาอบใช้ไม่ได้ หรือไม่ว่าจะเป็นลักษณะของเครื่องยนต์เลยวันนี้มีอะไรขัดข้อง เราก็ต้องบอกเลยว่าไม่ควรจะบินนะ ควรจะเปลี่ยนเครื่องบินหรือจะรอซ่อม ถ้าซ่อมสัก 1 ชั่วโมงหรือจะเปลี่ยนลำก็อาจจะ 2 ชั่วโมง พนักงานอำนวยการบินต้องตัดสินใจ ความปลดภัยมาเป็นอันดับแรก อันดับที่ 2 ก็คือความคุ้มทุนความคุ้มค่าของธุรกิจ พนังานอำนวยการบินเป็นคนทำให้บริษัทมีความเสียหาย หรือได้กำไรจากการทำธุรกิจ เนื่องจากถ้าเค้าตัดสินใจผิดพลาดเที่ยวบินก็จะดีเลย์ล่าช้าหรือจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าปกติ
 

ขั้นตอนการคัดเลือกนักอำยวบการบิน ต่างกับนักบินมากไหม ?

     ต่างกันไม่เยอะนะครับ อย่างพนักงานอำนวยการบินหลักที่สำคัญคือต้องเรียนรู้ และก็ต้องเข้าใจว่านักบินทำการบินอย่างไร ปฏิบัติการบินอย่างไรแถมยังต้องรู้ถึงข้อมูลข่าวสารที่มากกว่านักบิน นักบินอาจจะบินแค่กรุงเทพ – เชียงใหม่ นักบินก็จะรู้ข้อมูลข่าวสารแค่เพียงกรุงเทพ – เชียงใหม่ แต่พนักงานอำนวยการบินทำทั่วประเทศ เรามีข้อมูลที่หลากหลายมาก เพราะฉะนั้นก็จะต้องรู้ว่าสนามบินอื่น ถ้าเชียงใหม่ลงไม่ได้อากาศไม่ดี สนามบินอื่นจะสามารถรองรับสถานการณ์ได้ไหม จะต้องหาข้อมูลพวกนี้อยู่ตลอดเวลา และที่สำคัญในขณะที่นักบินทำการบิน พนักงานอำนวยการบินยังต้องคอยติดตามอากาศยาน คือต้องคอยมองมอนิเตอร์ อยู่ตลอดเวลาคอยดูว่าเครื่องบินจะมีปัญหาไหม เพื่อจะส่งข้อมูลคุยกับนักบินช่วยนักบินในการตัดสินใจให้ข้อมูลที่จำเป็นกับนักบิน ในการตัดสินใจ เป็นคนเตรียมแฟ้มที่กัปตันถือขึ้นไปบนเครื่องบิน


UploadImage 
อัตราเงินเดือนต่างกันมากไหม ?

     เงินเดือนต่างกันอยู่แล้วครับ ไม่อยากให้มองในเรื่องเงินใครมากกว่า อยากให้มองว่ามาจากต้นทุนการเรียนที่ไม่เหมือนกัน  เพราะกว่าจะเป็นนักบินค่าเรียนของนักบินก็หลายล้านบาทแล้ว แต่ถ้าพนักงานอำนวยการบินเป็นหลักสูตรภาคพื้นเหมือนเราเรียนปริญญาตรีปกติ ค่าเทอมก็ไม่แพงเท่านักบิน เรียนได้ทุกสายเช่นเดียวกัน กระบวนการฝึกอบรมคล้ายกับนักบินเลย แต่ไม่มีการตรวจสุขภาพ แต่ต้องมีใบอนุญาตตามกฎหมายเหมือนกัน  เพราะฉะนั้นวิชาที่เรียนเรียนเหมือนกันแต่อาจจะไม่ได้ลงลึกมาก


เจาะลึกเคล็ดลับกว่าจะเป็น Cabin Crew กับ อาจารย์ศศิธร นวมมณีรัตน์ อดีตลูกเรือ Emirates
ข้อมูลเพิ่มเติม
   - ทุนการศึกษา วิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน (CADT)
   - เว็บไซต์ วิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน (CADT)