สอบเข้ามหาวิทยาลัย

ประกาศผลเอ็นทรานส์ ยุคเริ่มแรกและ ยุคปี 2530

UploadImage


“เกิดทันไหม ประกาศผลเอ็นทรานส์ ยุคเริ่มแรกและ ยุคปี 2530”

ย้อนไปดูกันตั้งแต่ยุคเริ่มแรกที่มีการสอบเข้ามหา'ลัย ที่เรียกว่าการสอบ 'เอนทรานซ์' จนมาถึงยุคปัจจุบัน 'แอดมินชั่น' 58

ส่วนหนึ่งจากประสบการณ์หมอเอง

ปี 2504 จุดเริ่มต้นการสอบเอนทรานซ์ ยุคนั้นการเรียนมัธยมเขาใช้ชื่อเรียกว่า มศ. ซึ่งก่อนจะสอบเข้ามหาลัยได้ต้องจบ มศ.5 กันก่อน (ก็เทียบกับจบ ม.6 ในสมัยนี้นั่นเอง) ซึ่งในตอนนั้นโรงเรียนที่ต่างจังหวัดส่วนมากจะมีให้เรียนถึงแค่ช่วง ม.ต้น หากจะเข้ามหาลัยก็ต้องมาเรียนต่อ ม.ปลายในกรุงเทพ

ปี 2504 นั้น ถือเป็นการเริ่มต้นการสอบเอนทรานซ์เข้ามหาวิทยาลัย จึงมีเพียงแค่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (อ้างอิงจากวิกิพีเดีย) ที่เปิดสนามให้สอบ โดยกติกาการสอบเอนทรานซ์นั้น เลือกได้ 6 คณะ ต่อมาเหลือเพียง 4 คณะ

ดูผลสอบที่สนามจุ๊บ
ถ้าไม่อยากนอนดึกแล้วรู้ผลเลยก็ค่อยไปดูประกาศที่มหาลัยดีกว่า ยุคแรกๆ จริงๆ จะมีประกาศรายชื่อติดไว้ที่สนามส่วนกลาง ซึ่งยุคแรกเลยคือ สนามจุ๊บ หรือ สนามกีฬาจารุเสถียร ซึ่งปัจจุบันเป็นสนามกีฬาของสโมสรฟุตบอลจามจุรี ยูไนเต็ด คนอยู่ต่างจังหวัดก็เดินทางมาดูกันด้วย และสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือ
“คืนส่องเทียนอันแสนขมขื่น”
ระบบเอาเทียนไปส่องน่าจะเกิดก่อนระบบประกาศผลโทรทัศน์ ที่ต้องเอาเทียนไปส่อง เพราะเจ้าหน้าที่จะติดผลสอบ 1 คืนก่อนวันประกาศจริงแถวๆ สนามจุ๊บ คนที่อยากรู้ล่วงหน้า ก็ต้องเอาเทียนไปส่อง (ทำไมไม่ใช้ไฟฉาย ก็ไม่รู้) เพราะเค้าไม่เปิดไฟ มันมืดมาก เขาจะติดบอร์ดตอนกลางคืน 4-5ทุ่มจะมีคนเอาไฟฉายไปส่องดู จนเป็นตำนาน "คืนส่องเทียน"


 

UploadImage  

แต่คืนส่องเทียน จะมีบรรยากาศที่เศร้ามาก ใครเคยไปจะรู้ เพราะจะได้ยินคนร้องไห้ตลอดคืนจากคนที่ผิดหวัง (สอบไม่ติด) ซึ่งเป็นส่วนมาก มากกว่าคนสอบติดประมาณ 10 ต่อ 1 และในสมัยก่อนก็ไม่มีมหาลัยเอกชนมารองรับเยอะแยะเหมือนปัจจุบัน คนเอ็นไม่ติดจะค่อนข้างเขว้งขว้าง ปัจจุบันไม่มีแล้วครับ

ความรู้สึกมันบีบหัวใจมาก ๆ ยังไม่พอ ต้องถือเทียนไปส่องตามบอร์ดด้วย นั้นล่ะ มันถึงจะเข้าถึงอารมณ์ เด็กๆ สมัยนี้สบายกว่าเยอะมาก

การจุดเทียนไปดูผลสอบ สาเหตุที่ต้องจุดเทียนไปดูก็เพราะว่าเขาจะติดป้ายประกาศกันตอนช่วงค่ำ ซึ่งแน่นอนว่าใครก็อยากจะรู้ผลเร็วๆ กันทั้งนั้น เลยรอไปดูตอนเช้ากันไม่ไหว เด็กนักเรียนสมัยนั้นจึงต้องพกเทียน พกไฟฉายไปนั่งรอ เพื่อจะได้ส่องดูผลสอบเมื่อเขามาติดกระดาษประกาศผลบนบอร์ด

นอกจากนี้ก็ยังมีพวกรุ่นพี่มาช่วยเชียร์รุ่นน้องด้วย ใครติดก็เฮลั่นดีใจ ใครไม่ติดบางคนก็ร้องไห้กันตรงนั้นเลย แต่ยุคต่อมาย้ายไปประกาศที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน (ซึ่งปัจจุบันนี้นี้ไม่มีแล้ว)

ดูผลสอบทางจดหมาย,หนังสือพิมพ์

เป็นการแจ้งชื่อที่อยู่ไว้ พอสอบเสร็จเจ้าหน้าที่ก็จะดำเนินการส่งผลสอบไปให้ทางไปรษณีย์ นักเรียนก็รอจดหมายประกาศผลสอบอยู่กับบ้าน ฟีลลิ่งแบบไปรษณีย์มาส่งของทีไรต้องวิ่งออกไปพร้อมกับอาการใจเต้นตุ่มๆ ต่อมๆ ว่าใบผลสอบมาหรือยัง เปิดดูแล้วจะร้องดีใจ หรือร้องไห้หนักมากเพราะไม่ติด นอกจากนี้ก็ยังมีประกาศลงบนหนังสือพิมพ์ อาทิเช่น หนังสือพิมพ์วัฎจักร ไม่แน่ใจว่าประกาศลงบนหนังสือพิมพ์หัวอื่นๆ ด้วยหรือเปล่า

ดูผลสอบทางทีวี
เริ่มตั้งแต่ช่วงประมาณ พ.ศ.2530 สมัยก่อนการประกาศผลเอ็นทรานซ์ (สอบเข้ามหา'ลัย) จะประกาศทางโทรทัศน์ช่อง 9 อสมท. โดยจะเริ่มประกาศตอนเที่ยงคืนเป็นต้นไป เรียงตามรหัสตั้งแต่คนแรกไปถึงคนสุดท้าย น้องๆและกองเชียร์ เด็กม.6 รวมทั้ง เด็กสอบเทียบ เด็กซิ้ว จะต้องนั่งลุ้นแบบ วิต่อวินาทีเพราะ รายชื่อ ประกาศผลเอ็นทรานส์ จะไหลไปแบบเขื่อนแตก คือ เร็วมากๆ ดูแล้วตื่นเต้นจริงๆ ไม่เหมือนสมัยนี้ มีอินเตอร์เน็ต มือถือ เช็คผลการสอบ ต่างๆได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

โดยเฉพาะถ้าบ้านไหนมีลูกมีหลานอยู่ ม 6 ที่ต้องลุ้นผลโต้รุ่งกันเลยทีเดียว พอรู้ผลก็ตะโกนดังไม่ได้ เพราะอาจถูกข้างบ้านด่า และรายชื่อจะไหลเร็วมาก เผลอลุกไปห้องน้ำไม่ได้เลย ดูแล้วตื่นเต้นแทน
 

UploadImage

ผู้ประกาศข่าวในยุคนั้นคือ คุณวิทวัส สุนทรวิเนตร์ พิธีกรรายการตีสิบ และคุณอรุณโรจน์ เลี่ยมทอง (ยังละอ่อนอยู่เลยนะ )

บทส่งท้าย
1 สมัยอดีตวันวาน ต้องลุ้นมากๆ นอนไม่หลับไปหลายคืนก่อนวันรู้ผล บางทีก็คิดว่า น่าจะกลับไปเหมือนวันวาน ที่เป็นตำนาน เป็นความภาคภูมิใจ เป็นประสบการณ์ที่น่าจดจำ อดีตที่หวนคิดถึงครั้งใด ก็จะเป็นความทรงจำที่ดี ครั้งหนึ่งในชีวิตของนักเรียน ม ปลาย หลายๆคน

2 สมัยหมอสอบ ไม่ทันยุคดูผลสอบทางทีวี แต่ทันดูผลสอบทางจดหมาย,หนังสือพิมพ์ และ ตำนาน "คืนส่องเทียน" แต่ที่รู้เรื่องราวเพราะสมัยช่วง ม ต้น ได้ติดตามพี่ๆ ญาติๆไปซึมซับบรรยากาศเหล่านั้น 
เคยนั่งดูเป็นเพื่อนพี่ๆญาติๆลุ้นผลไปด้วยกัน classic มากๆๆ น่าจดจำ เป็นเรื่องราวที่ดีๆ บรรยากาศเพื่อนฝูงที่คอยให้กำลังใจกัน ไปดูผลสอบกัน อยู่ด้วยกันดึกๆดื่นๆ กอดคอกันร้องไห้ดีใจ ปลอบใจ มันเป็นบรรยากาศที่อธิบายด้วยตัวหนังสือได้ไม่หมดจริงๆ ไม่เหมือนยุคสมัยนี้เลย

3 สมัยหมอ สอบเทียบ ม 2 ขึ้น ม3 ได้ สอบเทียบ ม 4 และ ม5 ขึ้น ม 6 ได้ เรียนหลักสูตร ม ปลาย 2 ปีได้ ไม่แปลกใจเลยที่ หนุ่มสาวสมัยก่อนจะเรียนมหาวิทยาลัยตั้งแต่อายุยังน้อย 15 ปีก็มีให้เห็น ยิ่งเป็นคณะแพทย์ด้วยแล้ว คำนำหน้า ยังเป็น ดช หรือ ดญ ตบเท้าเรียงแถวกันมาเรียนหมอก็มีให้เห็นเรื่อยๆนะครับ

4 รูปภาพบรรยาเก่าๆ เอามาให้ดูกัน ภาพขาวดำที่เห็น ถ่ายเมื่อประมาณยี่สิบกว่าปีมาแล้ว เป็นภาพบรรยากาศที่นักเรียนมาดูบอร์ดประกาศผลซึ่งตั้งเรียงรายอยู่รอบนอกของสนามจุ๊บ คลาคล่ำไปด้วยนักเรียนที่พกความตื่นเต้นมาดูผลสอบ


ขอขอบคุณข้อมูลจาก : เฟชบุ๊ก เรื่องเล่าหมอ-x-exclusive