เมนู
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
หน้าแรก
สอบเข้า
ม.ปลายติวฟรี
PRETCAS
BoostUP
รีวิวมหาวิทยาลัย
คณะแนะนำ
เรียนต่อ ป.โท
สำหรับคุณครู
กลับเมนูหลัก
ข่าว TCAS
ข่าวมหาวิทยาลัย
SchoolOntour
เล่าเรื่องรุ่นพี่ที่ 1
ค้นหาเปิดรับ TCAS/รับตรง
แคมป์/ค่าย Camp
วางแผนอนาคต Admission Planning
สำรวจอาชีพ Career Explore
สร้างพอร์ต Admission Portfolio
ถามตอบ AdmissionQ
บทความ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม
กลับเมนูหลัก
โปรแกรม U-Review
วีดีโอ U-Review
บทความ U-Review
แนะนำหลักสูตร U-Infographic
รวมค่าเทอม ม. ทั่วประเทศ U-life
จัดอันดับมหาวิทยาลัย
กลับเมนูหลัก
เรียนต่อต่างประเทศ
เรียนอินเตอร์
เรียนไอที
เรียนการบิน
เรียนบัญชี
เรียนนิเทศฯ
เรียนธุรกิจดิจิทัล
เรียนกีฬา
เรียนเป็นผู้ประกอบการ
เรียนการโรงแรม และการท่องเที่ยว
เรียนภาษาเพื่อธุรกิจ
โลจิสติกส์
เรือสำราญ
ดิจิทัลมีเดีย
สถาปัตยกรรมศาสตร์
วิศวกรรมศาสตร์
กลับเมนูหลัก
รีวิวหลักสูตร ป.โท
ข่าวบทความ ป.โท
แนะนำหลักสูตร U-Infographic
กลับเมนูหลัก
GIS ระบบงานแนะแนว 4.0
AdmissionPlanning สำหรับคุณครู
รายงาน Portfolio สำหรับคุณครู
สไลด์แนะแนวอาชีพ
ระเบียนนักเรียน
แบบประเมิน SDQ
แบบทดสอบ EQ
แบบทดสอบบุคลิกภาพ
ข้อมูลคณะสาขา
ข้อมูลอาชีพ
กลับเมนูหลัก
เรียนออนไลน์ U-Course
สมาชิก Gold
กลับเมนูหลัก
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 65
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 64
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 63
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 62
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 61
หน้าแรก
สอบเข้า
หลักสูตรแนะนำ
ข่าว TCAS
ข่าวมหาวิทยาลัย
SchoolOntour
เล่าเรื่องรุ่นพี่ที่ 1
รับตรงที่ไม่อยู่ใน TCAS
ค้นหาเปิดรับ TCAS/รับตรง
แคมป์/ค่าย Camp
วางแผนอนาคต Admission Planning
สำรวจอาชีพ Career Explore
สร้างพอร์ต Admission Portfolio
ถามตอบ AdmissionQ
บทความ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม
ม.ปลายติวฟรี
PRETCAS
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 65
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 64
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 63
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 62
คลังข้อสอบ PreTCAS ปี 61
BoostUP
รีวิวมหาวิทยาลัย
โปรแกรม U-Review
วีดีโอ U-Review
บทความ U-Review
แนะนำหลักสูตร U-Infographic
รวมค่าเทอม ม. ทั่วประเทศ U-life
จัดอันดับมหาวิทยาลัย
คณะแนะนำ
เรียนต่อ ป.โท
รีวิวหลักสูตร ป.โท
ข่าวบทความ ป.โท
แนะนำหลักสูตร U-Infographic
สำหรับคุณครู
GIS ระบบงานแนะแนว 4.0
AdmissionPlanning สำหรับคุณครู
รายงาน Portfolio สำหรับคุณครู
สไลด์แนะแนวอาชีพ
ข้อมูลคณะสาขา
ข้อมูลอาชีพ
เทคนิคและสื่อการสอน
คอร์สฟรี
เรียนออนไลน์ U-Course
สมาชิก Gold
สอบเข้ามหาวิทยาลัย
ข่าว TCAS
ค้นหาเปิดรับ TCAS/รับตรง
แคมป์/ค่าย
บทความ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม
โปรแกรมวางแผนอนาคต
โปรแกรมสร้างพอร์ตโฟลิโอ
โปรแกรมแอดมิชชัน
Previous
Next
Previous
Next
"ความเพียร" คือตัวพยากรณ์ความสำเร็จ
แจ้งลบ
บันทึกเก็บไว้ใน List
วันที่เวลาโพส
16 ก.ย. 58 10:17 น.
16 ก.ย. 58 10:17 น.
อ่านแล้ว
2,915
จำนวน
แชร์
แอนเจล่า ลี ดั๊กเวิร์ธ (Angela Lee Duckworth) : กุญแจสู่ความสำเร็จ? ความเพียร
ยอมทิ้งงานตำแหน่งสูงในวงการที่ปรึกษา แอนเจล่า ลี ดั๊กเวิร์ธ ไปเป็นครูสอนคณิตศาสตร์ให้เด็กเกรดเจ็ดในโรงเรียนเทศบาลนิวยอร์ก เธอรู้ได้อย่างรวดเร็วว่า ไอคิว ไม่ใช่สิ่งที่จำแนกเด็กที่ประสบความสำเร็จ ออกจากเด็กที่มีปัญหา ที่นี่ เธออธิบายทฤษฎีของเธอที่ว่า "ความเพียร" คือตัวพยากรณ์ความสำเร็จ ลองฟังกันดูได้
ที่นี่
0:11 ตอนที่ดิฉันอายุ 27 ดิฉันลาออกจากตำแหน่งที่ปรึกษาการบริหาร ซึ่งเป็นงานหนักมาก เพื่อไปทำงานที่ยากยิ่งกว่า คือการสอนหนังสือ ดิฉันสอนคณิตศาสตร์ให้เด็กเกรดเจ็ด ที่โรงเรียนเทศบาลเมืองนิวยอร์ค ซึ่งเหมือนครูคนอื่น ดิฉันสร้างแบบทดสอบและข้อสอบ ให้การบ้านและมอบหมายงาน เมื่อเด็กส่งงานมาก็ตรวจให้เกรด
0:35 สิ่งที่ดิฉันแปลกใจคือ ไอคิว ไม่ใช่สิ่งเดียวที่แตกต่างกัน ระหว่างเด็กเรียนดีที่สุดและอ่อนที่สุดของดิฉัน เด็กที่ผลการเรียนดีที่สุดบางคน ไม่ได้มีคะแนนไอคิวสูงเทียมเมฆ แล้วเด็กที่ฉลาดที่สุดบางคนก็ไม่ได้มีผลการเรียนดีนัก
0:53 นั่นทำให้ดิฉันได้ฉุกคิด สิ่งที่เด็กต้องเรียนในชั้นคณิตศาสตร์เกรดเจ็ดนั้น แน่นอน มันยาก อัตราส่วน ทศนิยม พื้นที่ของสี่เหลี่ยมด้านขนาน แต่ก็ไม่ถึงขนาดว่าจะเป็นไปไม่ได้ และดิฉันก็มั่นใจมากทีเดียวว่าเด็กของดิฉันทุกคน สามารถเข้าใจสิ่งเหล่านี้ได้ ถ้าพวกเขาพยายามให้หนักและนานพอ
1:15 สอนนี้ผ่านไปหลายปี ดิฉันเริ่มได้ข้อสรุปว่า สิ่งที่เราต้องการในแวดวงการศึกษา คือความเข้าใจที่มากกว่านี้ ในตัวนักเรียนและระบบการเรียนรู้ ทั้งในแง่ของการสร้างแรงจูงใจ และในแง่ของจิตวิทยา ในด้านการศึกษา สิ่งหนึ่งเรารู้จักดีที่สุดในการวัด ก็คือไอคิว แต่ถ้าการจะไปได้สวยในโรงเรียนและในชีวิต กลับไปขึ้นอยู่กับสิ่งอื่น ที่ไม่ใช่ความสามารถในการเรียนรู้ได้เร็วและง่ายล่ะคะ
1:47 ดังนั้น ดิฉันจึงออกมาจากห้องเรียน เพื่อต่อปริญญาโทเป็นนักจิตวิทยา ดิฉันศึกษาเด็กๆ และผู้ใหญ่ ภายใต้โจทย์ที่สุดแสนท้าทายทุกประเภท และในทุกการศึกษาค้นคว้า ดิฉันจะมีคำถามคือ ใครประสบความสำเร็จและทำไม ดิฉันและทีมวิจัยไปที่วิทยาลัยทหารเวสท์พอยท์ เราพยายามที่จะพยากรณ์ว่านายร้อยคนใด จะยังอยู่ฝึกต่อและใครจะลาออก เราไปเยือนการแข่งขันสะกดคำแห่งชาติ พยายามพยากรณ์ว่าเด็กคนไหนจะไปได้ ไกลที่สุดในการแข่งขัน เราศึกษาคุณครูมือใหม่ ที่ต้องทำงานในละแวกที่ยากลำบาก ด้วยคำถามว่า ครูคนใดจะยังคงสอนอยู่ต่อไป เมื่อปีการศึกษาจบลง และในกลุ่มนั้น ใครจะมีประสิทธิภาพที่สุด ในการยกระดับผลการศึกษาของเด็กที่สอน เราร่วมมือกับบริษัทเอกชน ด้วยการถามว่า เซลส์คนใดจะยังรักษางานไว้ได้ และใครจะเป็นผู้ที่ทำรายได้สูงสุด จากบริบทที่แตกต่างกันทั้งหมดนี้ มีคุณสมบัติหนึ่งโดดเด่นขึ้นมา ที่จะช่วยพยากรณ์ความสำเร็จได้ชัดเจนมาก และมันไม่ใช่ความฉลาดในการเข้าสังคม ไม่ใช่รูปลักษณ์ที่ดูดี ไม่ความแข็งแรงของสุขภาพ และมันไม่ใช่ไอคิว แต่คือ ความเพียร
3:00 ความเพียร แปลว่าฝักใฝ่ใคร่รัก ทุ่มเท และบากบั่นฟันฝ่า เพื่อเป้าหมายระยะยาว ความเพียร คือความทรหดอดทน ความเพียรคือการมุ่งมั่นไปข้างหน้า วันแล้ว วันเล่า ไม่เพียงแค่สัปดาห์ ไม่เพียงแค่เดือน แต่เป็นปี และทำมันอย่างหนัก เพื่อให้อนาคตที่ฝันกลายเป็นจริง ความเพียร คือการใช้ชีวิตแบบวิ่งมาราธอน ไม่ใช่วิ่งระยะสั้น
3:26 ไม่กี่ปีนี้เองที่ดิฉันเริ่มศึกษาความเพียร ในโรงเรียนเทศบาลชิคาโก ดิฉันขอให้เด็กจูเนียร์ไฮสคูลนับพันคน ทำแบบสอบถามความเพียร แล้วรอดูผลในอีกปีกว่าถัดมา เพื่อดูว่าใครจะเรียนจบ ผลคือเด็กที่มีความเพียรมากกว่า มีความเป็นไปได้อย่างชัดเจนยิ่งกว่า ที่จะเรียนจบ แม้ตอนที่ดิฉันเปรียบเทียบกับลักษณะอื่นที่สามารถวัดได้ เช่นรายได้ครอบครัว คะแนนทดสอบความสำเร็จที่เป็นมาตรฐาน แม้กระทั่งความรู้สึกของเด็กว่าปลอดภัยแค่ไหนเวลาไปโรงเรียน ฉะนั้นจึงไม่ใช่แค่ที่เวสท์พอยท์หรือการแข่งสะกดคำแห่งชาติ ที่ความเพียรเป็นปัจจัย โรงเรียนก็ด้วย โดยเฉพาะกับเด็กที่มีความเสี่ยงที่จะลาออก สิ่งที่น่าตกใจที่สุดสำหรับดิฉันเกี่ยวกับความเพียร คือเรารู้จักมันน้อยมาก วิทยาศาสตร์รู้จักวิธีสร้างเสริมมันน้อยมาก ทุก ๆ วันมีผู้ปกครองและครูมาถามดิฉัน "เราสร้างบ่มเพาะความเพียรในเด็ก ๆ ได้อย่างไร เราต้องสอนอะไรให้เด็กมีจรรยาบรรณในการทำงาน เราจะคงแรงจูงใจในระยะยาวให้เด็ก ๆ ได้อย่างไร" ตอบอย่างจริงใจนะคะ ดิฉันไม่ทราบ (หัวเราะ) แต่ที่รู้แน่ ๆ คือ พรสวรรค์ ไม่ช่วยให้มีความเพียร ข้อมูลของเราแสดงไว้อย่างชัดเจน ว่ามีผู้มีพรสวรรค์มากมาย ที่ไม่ทำภาระผูกพันของตนให้บรรลุผล ที่จริงข้อมูลของเราชี้ว่า ความเพียรนั้นไม่มีความเกี่ยวข้อง หรือเกี่ยวข้องอย่างสวนทางกับพรสวรรค์ด้วยซ้ำไป
4:51 จนวันนี้ ไอเดียดีที่สุดที่ดิฉันเคยได้ยิน เกี่ยวกับการสร้างเสริมความเพียร คือสิ่งที่เรียกว่า ความเชื่อในการเติบโต เป็นไอเดียที่พัฒนาขึ้นที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด โดย แครอล ดเว็ก (Carol Dweck) ซึ่งเป็นความเชื่อที่ว่า ความสามารถในการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ไม่ตายตัว และเปลี่ยนแปลงได้ด้วยความพยายามของคุณเอง ดร.ดเว็กได้แสดงว่าเมื่อเด็กอ่านและเรียนรู้ เกี่ยวกับสมองและ การเปลี่ยนแปลงและเติบโตของสมอง ในการตอบสนองกับสิ่งท้าทาย พวกเขามีความเป็นไปได้สูงที่จะบากบั่นต่อไปเมื่อพวกเขาล้มเหลว เพราะพวกเขา ไม่เชื่อว่า ความล้มเหลว เป็นสภาวะที่ถาวร
5:27 ดังนั้น ความเชื่อในการเติบโต เป็นไอเดียที่ยอดเยี่ยม ในการบ่มเพาะความเพียร แต่เราต้องการไอเดียมากกว่านี้ และดิฉันขอจบการพูดของตัวเองลงตรงนี้ เพราะนี่คือตำแหน่งที่เราอยู่ เป็นสิ่งที่ต้องเผชิญและทำต่อไปในเบื้องหน้า เราจำเป็นต้องนำไอเดียที่ดีที่สุด ความคิดริเริ่มที่ชัดเจนที่สุด แล้วนำสิ่งเหล่านั้นมาทดสอบ เราต้องวัดผลว่าเราทำสำเร็จแล้วหรือยัง เราต้องเปิดใจที่จะล้มเหลว ผิดพลาด เพื่อจะได้เริ่มใหม่ ด้วยบทเรียนที่เรียนรู้มา
5:54 ในอีกนัยหนึ่ง เราเองต้องฝ่าฟันด้วยความเพียร ในการสร้างให้เด็ก ๆ ของเรามีความพากเพียรยิ่งขั้น
6:01ขอบคุณค่ะ
6:02เสียงปรบมือ
ขอขอบคุณสาระดีๆ จาก
TED
จำนวน
แชร์
อ่านแล้ว
2,915
ตั้งกระทู้ใหม่
แจ้งลบ
คนอื่น ๆ อ่านเรื่องนี้ แล้วมักจะอ่านเรื่องต่อไปนี้ต่อ
“เจาะลึก TPAT1 กสพท68 ! ข้อควรระวังในแต่ละพาร์ทที่ช่วยให้ DEK68 สอบผ่านอย่างมั่นใจ”
1K
ภาคปกติหรือพิเศษ? ค่าเทอม คณะนิติศาสตร์ จาก 12 มหาลัยดัง
1K
เรียนหมอเอกชน ต้องใช้เงินเท่าไหร่? เปิดค่าเทอม แพทย์ เภสัช ทันตะ สัตวะ ม.เอกชน เช็กเลย!
3K
เปิดโผ ที่สุดของปี!! การจัดอันดับ 10 มหาวิทยาลัยไทย ปี 2567 โดย Webometrics ม.ไหนครองแชมป์?
6K
ฐานเงินเดือนเริ่มต้น สำหรับสายงาน IT อ้างอิงจาก Adecco Salary Guide FY2016
5K
ถาม-ตอบ
ติดตามแฟนเพจ
ติดตาม TWITTER
TCASPortfolio ต้อนรับปี 2024
ใช้งานฟรี! ไปเลย...
สาขาแนะนำ ตามคำเรียกร้อง
น่าเรียน มีที่ไหน เน้นอะไร มาดูกัน!!
สถาบันไหน ?? จะครองใจ 2024
ร่วมโหวต!เลย..
ติวสอบติดหมอ ครบทั้ง 3 พาร์ท
พาร์ทเชาว์ พาร์ทจริยธรรม พาร์ทเชื่อมโยง โดยอันดับ1 กสพท ของประเทศ
จะดีแค่ไหน! ถ้ารู้ล่วงหน้าว่าสอบติดไหม?
พร้อมรู้แนวข้อสอบ #TCAS66 ก่อนสอบจริง คลิกเลย!
นับถอยหลัง ม.5 !! สอบติดหมอ ไม่ยาก
ติวเข้มข้น ครบทุกวิชา ที่ใช้ในการสอบติด แพทย์ กสพท
×
Close