รางวัลชนะเลิศ หุ่นยนต์ฟื้นฟูสมรรถภาพการเคลื่อนไหวแขน สำหรับผู้ป่วยที่มีเกี่ยวกับหลอดเลือดสมอง ทีม SensibleTAB
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) จัดการประกวดสุดยอดหุ่นยนต์ทางการแพทย์เพื่อสุขภาพ i-MEDBOT Innovation Contest 2016 ในรอบชิงชนะเลิศ เมื่อวันเสาร์ที่10 กันยายน ที่ผ่านมา ณ ลานกิจกรรมชั้น 7 เซ็นทรัล พลาซา แกรนด์ พระราม 9
ดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) กล่าวว่า “การประกวดสุดยอดหุ่นยนต์ทางการแพทย์เพื่อสุขภาพi-MEDBOT Innovation Contest 2016 ในปีนี้ ทาง TCELS ยังคงได้รับการตอบรับที่ดีจากประชาชนทั่วไป นิสิต นักศึกษา และบริษัทเอกชน เข้าร่วมส่งผลงานมาอย่างคับคั่ง ทางTCELS ต้องขอขอบคุณทุกท่านที่เล็งเห็นถึงศักยภาพของเรา ที่จะช่วยต่อยอดทุกผลงานให้เข้าสู่ตลาดในเชิงพาณิชย์จริง และเพื่อเป็นการพัฒนาผลงานหุ่นยนต์ทางด้านการแพทย์ของไทยให้ก้าวสู่เวทีระดับโลกในไม่ช้า”
การประกวดสุดยอดหุ่นยนต์ทางการแพทย์เพื่อสุขภาพ i-MEDBOT Innovation Contest 2016 มีผลงานจากนักประดิษฐ์นักวิจัยทั่วประเทศส่งผลงานร่วมประกวดรวม 20 ผลงาน และคัดเลือกให้เหลือเพียง 8 ผลงานที่ผ่านเข้าสู่รอบสุดท้าย ได้แก่ ทีม PD Medical ผลงานเครื่องช่วยล้างไตทางช่องท้อง, ทีม SensibleTAB ผลงาน หุ่นยนต์ฟื้นฟูสมรรถภาพการเคลื่อนไหวแขน, ทีม Haptic-LaparoSurgical Training System ผลงาน หุ่นยนต์ฝึกหัดการผ่าตัดด้วยภาพเสมือนจริงแบบแรงสะท้อนกลับ, ทีม Deep Vein Thrombosis ผลงาน เครื่องนวดป้องกันเส้นเลือดขอด, ทีม Gyro-Roller ผลงานเครื่องฟื้นฟูกล้ามเนื้อส่วนมือและแขนสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดสมอง, ทีม BotTherapist ผลงาน หุ่นยนต์เสริมสร้างทักษะสำหรับเด็กออทิสติก,ทีม PatienBed ผลงาน เตียงป้องกันแผลกดทับ และทีม TailGait ผลงานเครื่องวิเคราะห์การเดิน
ทั้งนี้ คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ได้พิจารณาจากความเป็นไปได้สามารถนำไปพัฒนาใช้งานเชิงพาณิชย์ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้โดยง่ายมากขึ้น ผลปรากฏว่า หุ่นยนต์ฟื้นฟูสมรรถภาพการเคลื่อนไหวแขน
สำหรับผู้ป่วยที่มีเกี่ยวกับหลอดเลือดสมองทีม SensibleTAB นักวิจัยจากบริษัท TMGI จำกัด คว้ารางวัลชนะเลิศสุดยอดหุ่นยนต์ทางการแพทย์เพื่อสุขภาพประจำปี 2016 ได้รับเงินรางวัล 150,000 บาท พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ
รางวัลที่สอง ผลงานเครื่องฟื้นฟูกล้ามเนื้อส่วนมือและแขน สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดสมอง ของทีม Gyro-Roller
รางวัลที่ 2 ได้แก่ผลงาน เครื่องฟื้นฟูกล้ามเนื้อส่วนมือและแขน สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดสมอง ของทีม Gyro-Roller นักวิจัยจากศูนย์ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับเงินรางวัล 100,000 บาท พร้อมใบเกียรติคุณ
ผลงานหุ่นยนต์เสริมสร้างทักษะสำหรับเด็กออทิสติก ของทีม BotTherapist รับรางวัลที่สาม
รางวัลที่ 3 ได้แก่ ผลงานหุ่นยนต์เสริมสร้างทักษะสำหรับเด็กออทิสติก ของ ทีม BotTherapist จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับเงินรางวัล50,000บาท พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ ซึ่งทั้งสามผลงานดังกล่าวจะได้รับสิทธิ์ในการได้รับคัดเลือกเข้าสู่โครงการต่อยอดส่งเสริมผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดเชิงพาณิชย์ในอนาคตอีกด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : แนวหน้า