เชฟรอน/ปตท.สผ.จุกอก ใช้แสนล.รื้อถอนแท่นผลิตเชฟรอน/ปตท.สผ.จุกอก ใช้แสนล.รื้อถอนแท่นผลิต
นายวีระศักดิ์ กล่าวอีกว่า ส่วนค่าใช้จ่ายที่ผู้รับสัมปทานทั้ง 2 ราย จะต้องใช้ในการรื้อถอนนั้น ในแต่ละแท่นอาจจะมีค่าใช้จ่ายที่ไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับว่าวิธีไหนมีความเหมาะสมในพื้นที่ที่ตั้งอยู่ ซึ่งหากเป็นวิธีตัดแท่นผลิตและล้มแท่นเพื่อทำเป็นปะการัง ค่าใช้จ่ายก็จะถูกลงเมื่อเทียบกับที่ต้องลากแท่นกลับไปทำลายบนฝั่ง ซึ่งในส่วนค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนนี้ ทางกรมฯจะให้บุคคลที่ 3 เข้ามาประเมินค่าใช้จ่ายในแต่ละวิธีอีกครั้ง เพื่อที่จะให้ผู้รับสัมปทานทั้ง 2 ราย วางเงินเป็นหลักปะกันการรื้อถอนไว้ในอนาคต หากรัฐต้องการแท่นที่ยังมีศักยภาพผลิตเอาไว้ต่อไป และกรมฯจะนำไปใช้กำหนดร่างหลักเกณฑ์การเปิดประมูล (ทีโออาร์) สำหรับแหล่งสัมปทาน 2 แหล่งที่จะหมดอายุในเดือนธันวาคม 2559 และคาดว่าจะสามารถประกาศเปิดประมูลได้ภายในเดือนมีนาคม 2560
“ตามกฎหมายแล้ว หากรัฐไม่เข้าไปเจรจาเพื่อใช้แท่นต่อไป ทางผู้รับสัมปทานจะต้องรื้อถอนทั้งหมดอยู่แล้วภายหลังปี 2565-2566 ซึ่งตอนนี้กำลังอยู่ระหว่างสรุปว่าจะใช้แท่นใดได้บ้าง โดยดูจากปริมาณสำรองที่เหลืออยู่ จะต้องคุ้มค่าหรือมีปริมาณสำรองไม่ต่ำกว่า 40 % และให้ผู้รับสัมปทานรายใหม่รับภาระด้วยส่วนหนึ่ง ขณะที่แปลงสัมปทานในแหล่งเอราวัณและบงกช ซึ่งมีอยู่ 7 แปลง กรมฯจะมาพิจารณาดูว่าจะจัดสรรการประมูลใหม่อย่างไร ซึ่งอาจจะนำมารวมกัน หรือแบ่งย่อยได้อีก”นายวีระศักดิ์ กล่าว
ด้านนายวิศรุต ตั้งสุนทรขัณฑ์ ผู้อำนวยการกองความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในการประกอบกิจการปิโตรเลียม กล่าวว่า จากประสบการณ์การรื้อถอนแท่นผลิตของประเทศมาเลเซีย ซึ่งมีโครงสร้างใกล้เคียงกับอ่าวไทย เมื่อช่วง 4-5 ปีก่อน โดยใช้วิธีการตัดแท่นผลิตและขนลากไปทำลายบนฝั่ง จะมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 5-6 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือราว 175-210 ล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยน 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ) แต่ขณะนี้พบว่าด้วยต้นทุนที่สูงขึ้นและความยากที่เกิดขึ้นทำให้ค่าใช้จ่ายน่าจะขยับขึ้นมาเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 350 ล้านบาท ซึ่งหากจำนวนแท่นผลิตที่จะต้องรื้อถอนจากแหล่งสัมปทานหมดอายุกว่า 311 แท่น โดยแบ่งเป็นในส่วนแท่นผลิตของบริษัท เชฟรอนที่จะต้องรื้อถอน 257 แท่น และปตท.สผ. 54 แท่น คงใช้เงินไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาท แต่หากเลือกใช้วิธีตัดแท่นและล้อมทำเป็นปะการังเทียมค่าใช้จ่ายอาจจะลดลงมาครึ่งหนึ่ง แต่วิธีนี้คงเป็นไปไม่ได้ทั้งหมด เพราะจะต้องเลือกบางแท่นเท่านั้นที่จะไปทำปะการังเทียมประกอบกับจะต้องได้รับความเห็นชอบจากกองทัพเรือ กรมเจ้าท่า และกรมประมงด้วย จึงจะดำเนินการได้
นายสุขสรรพ์ จินะณรงค์ วิศวกรสิ่งแวดล้อม บริษัท เตตร้า เทค อิงค์ จำกัด บริษัทที่ปรึกษา ในการจัดทำรายงานการประเมินด้านสิ่งแวดล้อมจากการรื้อถอนแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมทั้งหมดของบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัดในอ่าวไทย รวมถึงท่อส่งปิโตรเลียมในทะเลที่เชื่อมต่อกับแท่นหลุมผลิตว่า ที่ผ่านมาทางเชฟรอนได้ทยอยเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2559 เป็นต้นมา เพื่อให้เป็นไปตามกระบวนการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมจากการรื้อถอนก่อนที่จะดำเนินการรื้อถอนล่วงหน้าอย่างน้อย 3 ปี ในจำนวนแท่นที่มีอยู่ 278 แท่น ท่อขนส่งใต้ทะเล จำนวน 264 แนว และโครงสร้างที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ อุปกรณ์เชื่อต่อท่อขนส่งใต้ทะเลจำนวน 80 ชิ้น ซึ่งอยู่ในบริเวณอ่าวไทยทั้งหมด
โดยการเปิดรับฟังความคิดเห็นนั้น จะครอบคลุมถึงวิธีการหรือขั้นตอนการรื้อถอนแท่นว่าจะใช้รูปแบบใด ไม่ว่าจะเป็นแบบการรื้อถอนแท่นออกทั้งหมด ไปทำลายบนฝั่ง การปล่อยไว้ที่เดิมเพื่อใช้เป็นปะการังเทียม เป็นต้น ซึ่งแต่ละรูปแบบจะมีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน รวมถึงมาตรการดูแลด้านผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยาตั้งแต่การเตรียมและการล้างทำความสะอาดส่วนบนของแท่นหลุมผลิต และท่อขนส่งใต้ทะเล ไปจนถึงการสำรวจพื้นที่ดำเนินการภายหลังการรื้อถอน ตลอดจนการจัดการตะกอนพื้นที่ท้องทะเล ซึ่งจะนำผลการรับฟังความคิดเห็นนี้ไปจัดทำแผนการดำเนินงานรื้อถอน เพื่อเสนอให้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เป็นผู้อนุมัติว่าจะให้เลือกใช้การรื้อถอนในรูปแบบใดที่จะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด โดยคาดว่าจะเสนอแผนได้ในช่วงปลายปีนี้ และน่าจะอนุมัติได้ในปีหน้า
ทั้งนี้ หากแผนดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบแล้ว ในช่วงแรกจะเป็นการรื้อถอนแท่นหลุมผลิตที่จะสิ้นสุดการผลิตหรือหมดอายุการใช้งานระหว่างปี 2559-2565 มีจำนวน 80 แท่น และท่อขนส่งใต้ทะเลรวมถึงโครงสร้างที่เชื่อมต่อกับแท่นหลุมผลิต ในแปลงสัมปทานหมายเลข 9A, 10, 10A, 11, 11A, 12, 13 ,B8/32, B 12/27 , G4/43 และ G4/48 ที่คาดว่าจะเริ่มดำเนินการรื้อถอนได้ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นไป จำนวนปีละ 5-25 แท่น โดยในเวลาประมาณ 5 ปี แต่อาจจะดำเนินการรื้อถอนได้สูงสุดถึงปีละ 40 แท่น โดยรวมถึงแท่นผลิตของแหล่งเอราวัณที่จะหมดอายุสัมปทานในปี 2565 ด้วย ซึ่งในส่วนของปตท.สผ.ก็เข้าใจว่าได้เริ่มดำเนินการเปิดรับฟังความคิดเห็นแล้วเช่นกัน
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,192 วันที่ 15 – 17 กันยายน พ.ศ. 2559
จากข่าวข้างต้นนั้น ทำให้เห็นบทบาทที่สำคัญของอาชีพ "วิศวกรสิ่งแวดล้อม" ได้เป็นอย่างดี
ทำความรู้จักกับ : วิศวกรสิ่งแวดล้อม
วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (Environmental Engineering) เป็นการบูรณาการของหลักการทางวิทยาศาสตร์และทางวิศวกรรมเพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ, เพื่อให้มีน้ำ, อากาศ, และที่ดินที่มีสุขภาพดีสำหรับการอยู่อาศัยของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ, และเพื่อทำความสะอาดสถานที่มลพิษ
นอกจากนี้วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมยังสามารถถูกอธิบายว่าเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประยุกต์ที่พูดถึงประเด็นของการอนุรักษ์พลังงาน, สินทรัพย์และการควบคุมการผลิตของเสียจากกิจกรรมของมนุษย์และสัตว์. นอกจากนี้ มันยังเกี่ยวข้องกับการหาโซลูชั่นที่เป็นไปได้ในด้านสุขภาพของประชาชน, เช่นโรคที่เกิดจากน้ำ การดำเนินการตามกฎหมายที่ส่งเสริมสุขอนามัยที่เพียงพอในเขตเมือง, ชนบทและพื้นที่การพักผ่อนหย่อนใจ. มันเกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำเสียและการควบคุมมลพิษทางอากาศ, การรีไซเคิล, การกำจัดของเสีย, การป้องกันรังสี, สุขศาสตร์อุตสาหกรรม, ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม, และปัญหาสุขภาพของประชาชนรวมทั้งความรู้เกี่ยวกับกฎหมายวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม. นอกจากนี้มันยังรวมถึงการศึกษาทั้งหลายเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของโครงการก่อสร้างที่มีการนำเสนอ.
วิศวกรสิ่งแวดล้อมจะศึกษาผลกระทบจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่มีต่อสิ่งแวดล้อม. เพื่อทำเช่นนั้น, เขาดำเนินการศึกษาการจัดการขยะอันตรายเพื่อประเมินความสำคัญของอันตรายดังกล่าว, เขาจะให้ให้คำแนะนำในการบำบัดและการเก็บกัก, และพัฒนากฎระเบียบเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ. วิศวกรสิ่งแวดล้อมยังออกแบบน้ำประปาเทศบาลและระบบบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรม เช่นเดียวกับการพูดถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นและทั่วโลกเช่นผลกระทบของฝนกรด, ภาวะโลกร้อน, การสูญเสียโอโซน, มลพิษทางน้ำและมลพิษทางอากาศจากไอเสียรถยนต์และ แหล่งอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (ระดับปริญญาตรี)
สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม สำนักวิศวกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม สำนักจัดการศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยภิบัติ มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี นครราชสีมา
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เปิดสอนทั้งหลักสูตรปกติและหลักสูตรนานาชาติ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยรามคำแหง
สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิทยาลัยพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยพะเยา
สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพาภัพ เชียงใหม่
วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยรังสิต
จบมาทำงานอะไร ?
- วิศวกรสิ่งแวดล้อมโดยสามารถออกแบบ ควบคุม บริหาร/จดัการและอำนวยการใชร้ะบบต่างๆ เช่น ระบบประปา
ระบบระบายและบำบัดน้ำเสียระบบจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ระบบ ควบคุมมลพิษทางอากาศเสียง
และแรงสั่นสะเทือน เป็นต้น
- นักวิจัย/นักวิชาการสิ่งแวดล้อม และสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น พลังงาน เคมี เป็นต้น
- ครู อาจารย์ในสถาบันการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลย
รายได้เฉลี่ย (มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม)
- 25,000 -30,000 บาท
บุคลิกภาพที่เหมาะสมกับสาขานี้
- ควรสนใจด้านวิทยาศาสตร์ ชีววิทยา เคมี
- ควรสนใจด้านสิ่งแวดล้อม
- ควรสนใจด้านการทดลอง