พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวในงานสัมมนา Energy Sysposium 2016 ว่า แนวโน้มการใช้พลังงานของโลกเพิ่มสูงขึ้น จากความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มมากขึ้นของประเทศตะวันออกกลางและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในปัจจุบันอยู่ที่ 82% ของการใช้พลังงานทั้งหมด แต่ในปี 2035 สัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลจะลดลงเหลือ 76% เนื่องจากมีการใช้พลังงานหมุมเวียนเพิ่มมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าถ่านหินยังคงเป็นทางเลือกที่ราคาถูกที่สุดในการผลิตไฟฟ้าในหลายภูมิภาค ซึ่งในแผนพลังงาน 20 ปีของไทยที่คำนึงถึงความมั่นคงเพียงพอราคาไม่แพง จะต้องลดสัดส่วนการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติไปสู่ถ่านหินมากขึ้น ดังนั้น การยกเลิกการก่อสร้างโรงไฟฟ้ากระบี่ 800 เมกะวัตต์จะไม่มีทางเกิดขึ้น แต่อาจจะล่าช้า เนื่องจากกระบวนการรับฟังความเห็นจากหลายภาคส่วน โดยเฉพาะคณะกรรมการไตรภาคี
ส่วนกรณีที่มีบางฝ่ายเสนอให้ยกเลิกหรือปรับลดอัตราการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนแบบสะท้อนตามต้นทุนจริง หรือ Feed in Tariff โดยเฉพาะพลังงานที่มีการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว เช่น พลังงานจากแสงอาทิตย์ ไปเป็นรูปแบบการประมูลแข่งขัน เพื่อช่วยลดปัญหาปริมาณของพลังงานทดแทน ที่หากใช้มากอาจกระทบค่าไฟฟ้าแพงขึ้นจากเงินอุดหนุนนั้น มองว่า Feed in Tariff เป็นเพียงราคากลางในการรับซื้อไฟฟ้าเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยน หากต้นทุนการผลิตไฟฟ้ายังคงเดิม
จากบทความข้างต้น น้องๆ จะมองเห็นถึงความสำคัญของพลังงานในอนาคต และความสำคัญของถ่านหินหรือทรัพยากรทางธรรมชาติอื่นๆ โดยสาขาที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรทางธรรมชาติ คงหนีไม่พ้น สาขาทางด้านธรรณีวิทยา โดยมีมหาวิทยาลัยที่เปิดสอน ดังนี้
- ภาควิชาธรณีวิทยา (Geology) คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ภาควิชาธรณีวิทยา (Geological Sciences) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ภาควิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี (Geotechnology) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- สาขาวิชาธรณีศาสตร์ (Geosciences) ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ (Earth Sciences) ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี (Geotechnology) สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
และคณะ/สาขาที่เกี่ยวข้องกับ "พลังงานและสิ่งแวดล้อม" อื่นๆ นั้นมีดังนี้
- วิศวกรรมพลังงาน
- วิศวกรรมพลังงานไฟฟ้า
- วิศวกรรมเครื่องกล (พลังงาน เศรษฐศาสตร์และสิ่งแวดล้อม)
- อิเล็กทรอนิกส์กำลังและพลังงาน
- เทคโนโลยีและจัดการพลังงาน
- นวัตกรรมพลังงานทดแทน
- กระบวนการอุตสาหกรรมเคมีและสิ่งแวดล้อม
- วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
- สถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม
ขอขอบคุณข้อมุลจาก : มติชนออนไลน์