สอบเข้ามหาวิทยาลัย

ชี้เด็กสนใจเรียนวิทย์น้อยลง ทวท. เล็งเปลี่ยนค่านิยมสังคมสนใจอาชีพนักวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้น


ทวท. ประกาศร่วมเดินหน้าไทยแลนด์ 4.0 ผลิตกำลังคนทางวิทยาศาสตร์ ให้ตรงความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต ชี้เด็กสนใจเรียนวิทย์น้อยลง เล็งสร้างความตระหนักสังคมไทยเปลี่ยนค่านิยมสนใจอาชีพนักวิทยาศาสตร์

UploadImage

       วันนี้( 7ก.ย.)ศ.ดร.สุภา หารหนองบัว คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.)ในฐานะประธานที่ประชุมคณบดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย (ทวท.) เปิดเผยว่า  เมื่อเร็ว ๆนี้  ทวท. ได้มีมติเห็นชอบที่จะผนึกกำลังสร้างความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม ให้สอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาล โดยจะจัดโครงการพัฒนาความร่วมมือด้านวิจัยและพัฒนากับภากเอกชนทั้งในระดับ StartUp, SME, และอุตสาหกรรม เพื่อมาพัฒนาโครงการปฏิรูปภาคการผลิตและการบริการด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  โดยมี รศ.ปกรณ์ เสริมสุข คณบดีวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เป็นประธานโครงการ  นอกจากนี้ที่ประชุมยังเห็นชอบให้มีการบูรณาการการเรียนการสอน การเชื่อมโยงหลักสูตรกับภาคอุตสาหกรรมเพื่อผลิตกำลังคนทางวิทยาศาสตร์ให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตให้มากขึ้น เน้น Outcome-based curriculum มีการหารือที่จะนำหลักสูตร Work Integrated Learning (WIL) มาปรับใช้กับคณะวิทยาศาสตร์  โดยมอบหมายให้ผศ.ดร.วรนุช เกิดสินธ์ชัย คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี(มจธ.)  เป็นประธาน

        ศ.ดร.สุภา กล่าวต่อไปว่า ที่ประชุมยังหารือเกี่ยวกับจำนวนนักศึกษาที่เลือกเรียนสายวิทยาศาสตร์ซึ่งมีจำนวนลดลง ดังนั้นจำเป็นจะต้องทำให้สังคมเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเปลี่ยนค่านิยมในการเลือกประกอบอาชีพเป็นนักวิทยาศาสตร์  โดย ทวท.เห็นควรให้มีการผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลง เพื่อสนับสนุนให้อาชีพนักวิทยาศาสตร์เป็นอาชีพที่มีความสำคัญและก้าวหน้าในการร่วมพัฒนาประเทศ เช่นเดียวกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่ให้ความสำคัญแก่อาชีพนักวิทยาศาสตร์ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทยในอนาคต

       “ที่ประชุม ทวท. เห็นชอบคณะวิทยาศาสตร์ มก.เป็นเจ้าภาพร่วมกับสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ฯ โดยจะมีการจัดการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 42 (วทท. 42) ในหัวข้อ “ศาสตร์แห่งแผ่นดิน สู่นวัตกรรม เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน” “Knowledge of the Land towards Innovation for Sustainable Future” ระหว่างวันที่ 30 พ.ย. – 2 ธ.ค.2559 ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลลาดพร้าว"ศ.ดร.สุภากล่าว

        โดยถ้าเทียบจากข้อมูลเมื่อเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา 
 อาชีพที่ดูว่ายังขาดแคลนในอนาคต และยังขาดมาโดยตลอด คงหนีไม่พ้นอาชีพทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะ 10 อาชีพดังนี้ 

UploadImage

              1. วิศวกรชีวการแพทย์  : ทำหน้าที่อออกแบบ สร้างหรือพัฒนาซอฟต์แวร์ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน สามารถใช้งานได้จริง รวมถึงการศึกษาค้นคว้าเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่มีความซับซ้อน และต้องการขั้นตอนการผลิตที่มีมาตรฐาน และ ประสิทธิภาพสูง

              2. นักออกแบบผลิตภัณฑ์ : ทำหน้าที่ออกแบบผลิตภัณฑ์โดยอาจใช้กราฟฟิคคอมพิวเตอร์  สร้างแบบจำลองและทดลองทำผลิตภัณฑ์ต้นแบบเขียนเทคนิควิธีการประกอบแบบระบบพิกัดพร้อมทั้งขั้นตอนในการปฏิบัติในโรงงาน  ประมาณการต้นทุนค่าใช้จ่าย เพื่อให้มีราคาย่อมเยาสำหรับผู้ใช้  

              3. นักธรณีวิทยาปิโตรเลียม : ทำหน้าที่
สำรวจหาและช่วยพัฒนาแหล่งกักเก็บปิโตรเลียม การสำรวจหาปิโตรเลียม

              4. นักวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร : ทำหน้าที่ วิเคราะห์ วิจัยการเปลี่ยนแปลงทางเคมีและกายภาพที่เกิดขึ้นกับอาหารและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ อันได้แก่ อาหารและเครื่องดื่มต่างๆ ปรับปรุงกระบวนการผลิต และแปรรูปอาหารเพื่อให้ได้อาหารที่มีประโยชน์ต่อผู้บริโภค

              5. นักออกแบบและสร้างภาพเคลื่อนไหว : ทำหน้าที่วาดตัวละครหรือจินตนาการลงบนภาพวาดบนแผ่นฟิล์มหรือสร้างสรรค์จินตนาโดย ใช้เทคนิคทางคอมพิวเตอร์ให้สัมพันธ์กับตำแหน่งเพื่อสร้างสรรค์เป็นภาพ เคลื่อนไหว


              6. นักวิทยาศาสตร์ด้านเครื่องสำอาง : ค้นคว้า วิจัย พัฒนา เครื่องสำอาง ครีม แชมพู สบู่และอื่นๆ 

              7. นักพัฒนาซอฟต์แวร์ : 
ออกแบบ การวางแผนพัฒนา ซึ่งขอบเขตงานจะกว้างกว่าการเขียนโปรแกรม

              8. นักนิติวิทยาศาสตร๋ : ทำหน้าที่นำเอาวิชาความรู้ในทางด้านวิทยาศาสตร์ ในการเก็บและพิสูจน์หลักฐาน ตรวจร่างกายและวัตถุพยานเพื่อช่วยในการค้นหาความจริง

              9. นักปรับปรุงพันธ์พืช : ทำหน้าที่ปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์พืชจนได้พันธุ์ใหม่โดยต่อเนื่อง และได้ขึ้นทะเบียนตามพระราชบัญญัติ นักปรับปรุงพันธุ์พืช จะต้องสายพันธุ์พืชชนิดใหม่ที่ดีกว่าเดิม

             10. นักคิดค้นหรือนักเคมีปรุงยา : ทำหน้าที่ผลิตยาและเภสัชภัณฑ์ต่างๆ  ตรวจสอบมาตรฐานของวัตถุดิบ ควบคุมคุณภาพยาระหว่างการผลิต ยารอบรรจุ และยาสำเร็จรูป ตรวจสอบและควบคุมระบบโรงงานยาและเครื่องสำอางในฝ่ายต่างๆตามมาตรฐานสากล เช่น GMP และ PICS และตรวจสอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์ สารปนเปื้อนและสารพิษในผลิตภัณฑ์ต่างๆที่จำหน่ายในท้องตลาด เช่น ยา เครื่องสำอาง อาหาร เครื่องดื่ม และตรวจสอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์ สารปนเปื้อนและสารพิษในผลิตภัณฑ์ต่างๆที่จำหน่ายในท้องตลาด 

            โดยเราจะเห็นว่า 10 สาขาอาชีพ นั้นล้วนสอดคล้องเทรนด์งานในอนาคตอีกด้วย คือเทรนด์สุขภาพ , เทรนด์ผู้สูงวัยยุคใหม่, เทรนด์ดิจิตอล , เทรนด์อาเซียน ดังนั้นเราควรจะเลือกเรียนสาขาที่สอดคล้องกับเทรนด์งานในอนาคตด้วย เพื่อให้ได้งานทำที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน การเจริญเติบโตก้าวหน้า รายได้ที่ดี ต่อไป.... อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
 
 
น้องๆ สามารถดูข้อมูลรายละเอียดอาชีพต่างๆ เพิ่มเติมได้ที่นี่ Admission Planning

ขอบคุณที่มา : เดลินิวส์