สอบเข้ามหาวิทยาลัย

Li-Fi อินเตอร์เน็ต นวัตกรรมแสง จากหลอดแอลอีดี

UploadImage

นิตยสาร Lighting Focus ฉบับที่ 5 ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ Li-Fi ว่า เป็นนวัตกรรมที่จุดประกายโดย ศ.แฮรัลด์ ฮาส นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน จากมหาวิทยาลัยเอดินบะระ ในระหว่างการกล่าวปาฐกถา TED Talks ในปี 2011 โดยศาสตราจารย์ฮาสได้จินตนาการว่าหลอดไฟ ที่เราใช้กันอยู่ตามบ้านสามารถทำหน้าที่เป็นเราเตอร์แบบไร้สายได้

Li-Fi ย่อมาจาก Light Fidelity เป็นเทคโนโลยีการส่งข้อมูลแบบไร้สายด้วยแสงที่สามารถมองเห็นได้ (Visible Light Communications, VLC) ด้วยความเร็วสูงมาก

จุดเด่นคือไม่ต้อง การอุปกรณ์ที่ซับซ้อนอาศัยเพียงหลอดไฟส่องสว่างแบบ LED ที่ใช้กันตามบ้านก็จะสามารถส่งสัญญาณไร้สายด้วยความเร็วสูงถึง 224 กิกะบิตต่อวินาที สูงกว่าเทคโนโลยี Wi-Fi แบบที่ดีที่สุดในปัจจุบัน ซึ่งขยายสปีดการส่งสัญญาณขึ้นไปได้เพียง 6 กิกะบิตต่อวินาทีเท่านั้น ทั้งนี้ ศ.ฮาสใช้เวลาวิจัยกว่า 4 ปี และก่อตั้งบริษัทชื่อเพียวไลไฟ (pureLiFi) มุ่งพัฒนาเพื่อเป็นผู้นำในเทคโนโลยีส่งสัญญาณไร้สายด้วยแสงสว่างที่เรามอง เห็นด้วยตา

Li-Fi ทำงานอย่างไร ?

เทคโนโลยี Li-Fi ส่งสัญญาณออกไปในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ในขณะที่ Wi-Fi ใช้คลื่นวิทยุเป็นตัวนำ แต่ Li-Fi ใช้แสงสว่างแทน ในระบบจะมีชุดโฟโตดีเทคเตอร์หรืออุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณแสง รวมส่วนประมวลผลซึ่งจะทำหน้าที่แปลงค่าแสงนั้นๆ ให้เป็นข้อมูลอีกที หลอดไฟแบบ LED คือแหล่งให้กำเนิดแสงประเภทสารกึ่งตัวนำซึ่งกระแสไฟฟ้าคงที่ ที่ป้อนเข้าไปในตัวหลอดสามารถหรี่แสง, เปิดหรือปิดได้ด้วยความเร็วสูงมากโดยที่สายตาของเรามองไม่เห็น

ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลถูกป้อนเข้าไปใน หลอดไฟ LED ด้วยเทคโนโลยีการประมวลผลสัญญาณ จากนั้นก็ส่งสัญญาณเป็นลำแสงด้วยความเร็วสูงไปยังชุดโฟโตดีเทคเตอร์ การเปลี่ยนแปลงแม้เพียงเล็กน้อยในความสว่างในลำแสงจะถูกตีความเป็นสัญญาณ ไฟฟ้าด้วยภาครับสัญญาณ จากนั้นจึงแปลงเป็นกระแสข้อมูลเลขฐาน 2 ซึ่งสามารถใช้แทนค่าเนื้อหาข้อมูลในเว็บ, สัญญาณวิดีโอ หรือสัญญาณเสียง

ข้อจำกัดของ Li-Fi

ความ ที่ Li-Fi เป็นสัญญาณแสง จึงไม่สามารถทะลุผ่านกำแพงห้องหรือกำแพงตึกไปได้ ดังนั้นถ้าจะให้การเชื่อมต่อดำเนินไปอย่างไม่มีสะดุดไร้รอยต่อ จำเป็นจะต้องมีหลอดไฟ LED ติดตั้งทั่วบริเวณทุกพื้นที่ที่ต้องการใช้งาน ในระหว่างการใช้งาน ตัวหลอดไฟ LED จำเป็นจะต้องเปิดให้สว่างอยู่ตลอดเวลาแม้กระทั่งในเวลากลางวัน นั่นหมายความว่าเมื่อไหร่ที่ไม่มีหลอดไฟส่องสว่าง ที่นั่นก็ไม่มี Li-Fi Internet

อย่างไรก็ดี หนทางในการพัฒนานำ Li-Fi มาใช้งานจริงในชีวิตประจำวันก็ยังน่าสนใจอยู่ไม่เพียงความเร็วที่ฉับไว แต่ Li-Fi มีระยะทางการส่งที่สั้นและควบคุมได้ง่ายกว่า Wi-Fi ก็นำมาซึ่งความปลอดภัยที่สูงกว่า
 
UploadImage

วันนี้และในอนาคตของ Li-Fi

ปลาย ปี 2014 บริษัท pureLiFi จับมือกับ Lucibel บริษัทผู้เชี่ยวชาญเรื่องระบบแสงสว่างของฝรั่งเศสเพื่อสร้างสินค้าที่ใช้ เทคโนโลยี Li-Fi และปลายปี 2015 พวกเขาก็มีสินค้าออกมา 2 รุ่น ได้แก่ “Li-Flame Ceiling Unit” ที่ใช้เชื่อมต่อกับระบบไฟส่องสว่างแบบ LED และ “Li-Flame Desktop Unit” สำหรับเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ ผ่านทางพอร์ตยูเอสบี มีความเป็นไปได้ว่า Li-Fi จะถูกพัฒนาไปใช้ในธุรกิจร้านค้าที่มีบริเวณจำกัดและสามารถควบคุมตำแหน่งของ แสงสว่างได้

สำหรับผู้ที่สนใจเรื่อง Li-Fi สามารถเข้าฟังสัมมนา Lifi: The Answer of Future และ Connected Lighting Communication Protocol ; Zigbee, Z-wave โดย Mr.Eric Daniel Coste (EDC Global Solutions, มาเลเซีย) และ Mr.Deepak Solanki (Velmemmi, อินเดีย) ผู้ติดตั้งและพัฒนาระบบ Li-Fi ในเอเชีย ในวันที่ 2 กันยายน 2559 เวลา 10.00-12.00 น. ในงาน Thailand Lighting Fair 2016 ณ ฮอลล์ 101-102 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา


ขอขอบคุณข้อมูลจาก : มติชนออนไลน์