สอบเข้ามหาวิทยาลัย

วิกฤต Pokemon Go กับการศึกษาของเยาวชนไทย

UploadImage

Pokemon Go กับการศึกษาของเยาวชน และสุขภาพประชาชน
โดย นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล คณบดีวิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์

 

       ขณะนี้เป็นระยะเปิดเทอมของโรงเรียนและมหาวิทยาลัยต่างๆ พร้อมกับความนิยมเล่น Pokemon Go กำลังระบาดทั้งในและต่างประเทศ ในฐานะของผู้บริหารมหาวิทยาลัยและเป็นนักการศึกษาผู้หนึ่ง จึงขอออกความคิดเห็นในเรื่องนี้ว่า Pokemon เป็นเกมมือถืออย่างหนึ่งที่พัฒนาขึ้นมาจากเกมจอที่เราสามารถนั่งเล่นอยู่กับที่ จนตอนนี้ได้พัฒนากลายเป็นเกมที่ต้องเดินไปเล่นไป
      
       โดยข้อดีของเกมนี้คือผู้เล่นได้ลุกขึ้นจากเก้าอี้ ออกไปเดินตามถนน ไปตามห้างสรรพสินค้า ไปยังสถานที่ชุมชน ได้ออกกำลังกายด้วยการเดินบ้าง ได้ไปสูดอากาศที่เปิดโล่ง  มากกว่าที่จะนั่งอยู่แต่ในห้อง แต่เมื่อมีข้อดีแน่นอนว่าย่อมมีข้อเสียเป็นธรรมดา โดย นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล ก็ได้ออกมาระบุข้อเสียของเกม Pokemon Go ดังนี้ ทำให้เกิดภาวะเสพติดเกม ซึ่งแต่ละครั้งที่เล่นจะเล่นเป็นชั่วโมงๆ หรือครึ่งค่อนวัน ถ้าเป็นคนที่อยู่ว่างๆ ไม่มีงานทำก็อาจไม่มีผลกระทบอะไร แต่ถ้าเป็นน้องๆที่กำลังศึกษาแน่นอนว่ามีผลกระทบร้อยเปอร์เซ็น เพราะว่าการเสพติดเกมเล่นจนเกินความเหมาะสม ทำให้น้องๆสูญเสียเวลาในการทบทวนบทเรียน เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ  Pokemon Go เป็นเกมที่ต้องเดินไปเล่นไป แน่นอนเดินไปเล่นไป ก้มหน้ากดจอโทรศัพท์ สิ่งที่จะตามมาคืออุบัติเหตุ พลัดตก หกล้ม และสุดท้ายคือเสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรม
      
       ท้ายที่สุดแล้ว นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล คณบดีวิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ ได้สรุปทิ้งท้ายไว้ว่า Pokemon Go ไม่ได้เป็นเกมที่รุนแรงมาก แต่ก็มีข้อเตือนใจในการเล่นคือ
1.เด็กเล็ก ในวัยที่ต้องการพัฒนาการทางสมองและระบบประสาท ไม่ควรเล่น
2.เด็กโต อาจติดเกมจนเสียการเรียนได้ พ่อแม่ต้องควบคุมใกล้ชิด
3.วัยรุ่นนักเรียนนักศึกษา ถ้าจะเล่น ต้องแบ่งเวลาเรียนให้ดีเสียก่อน ระวังอุบัติเหตุ ถูกล่อไปสถานที่เปลี่ยว ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ
4.วัยทำงาน เล่นอย่าให้เสียเวลางาน ระวัง office syndrome ปวดคอบ่าไหล่ กระดูกทับเส้น
5.วัยผู้ใหญ่ เล่นระวังสายตา ระวังปวดเมื่อยคอบ่าไหล่ ปวดหลัง ปวดเอว