อาจารย์วราลักษณ์ แผ่นสุวรรณ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เปิดเผยว่า ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
ประเทศไทยจะต้องตกอยู่ในสภาพสังคมที่เรียกว่าสังคมผู้สูงอายุอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นสิ่งที่ มจธ. ให้ความสำคัญและตระหนักมาโดยตลอด ซึ่งในส่วนของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบเองก็เช่นกัน โดยในปี 2558 นี้ ทางคณะได้มีโอกาสร่วมงานกับเครือบริษัทธารารมณ์ในการดำเนิน “
โครงการประกวดออกแบบคอนโด” รองรับสังคมผู้สูงอายุ ในย่านซอยศูนย์วิจัย กรุงเทพมหานคร
“โจทย์นี้เราได้จาก ธารารมณ์ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่คณะสถาปัตย์ฯ ได้ร่วมกับธารารมณ์ โดยธารารมณ์เองก็มีโครงการสร้างคอนโดจริงๆ อยู่แล้วในย่านซอยศูนย์วิจัย ก็ได้ลองยื่นโจทย์นี้ให้นักศึกษาได้นำเสนอไอเดียตัวเองซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์มากกับ มจธ.โดยเฉพาะนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ซึ่งตามหลักสูตรแล้วในชั้นปีนี้จะต้องออกแบบคอนโด เพียงแต่ส่วนใหญ่อาจารย์จะเป็นผู้คิดโจทย์ให้นักศึกษา”
ด้านคุณสมศักดิ์ นิยมพานิชการ Senior Vice President ผู้บริหารธารารมณ์กรุ๊ป ระบุว่า ที่ผ่านมาบริษัทได้ทำโครงการในลักษณะนี้กับ มจธ.เรื่องระบบก่อสร้างสำเร็จรูปที่ยังไม่มีการนำมาใช้ก่อสร้างในประเทศไทย โดยทำร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ สำหรับแนวคิดเรื่องโครงการคอนโดรองรับสังคมผู้สูงอายุ ก็เป็นหนึ่งในหลายๆ โครงการที่ธารารมณ์ ตั้งใจที่จะตอบสนองความต้องการของสังคมและผู้บริโภคให้ตรงจุด ซึ่งเป้าหมายของโครงการประกวดฯ ทางธารารมณ์ และ มจธ.อยากเห็นวิธีคิดของเด็กๆ คนรุ่นใหม่ ไอเดียใหม่ๆ ที่ไม่ติดกรอบทางด้านธุรกิจมากนัก
“เรายื่นโจทย์คอนโดรองรับสังคมผู้สูงอายุ โดยได้ลดข้อกำหนดบางอย่างลง เพื่อให้เด็กๆ เขาออกแบบได้อย่างเต็มที่ เพราะต้องการงานออกแบบที่แตกต่างจากคอนโดทั่วๆไปในปัจจุบันผมว่ามันเป็นโจทย์ที่ท้าทายพวกเขามากที่ให้เด็กรุ่นใหม่มาช่วยกันออกแบบสังคมที่อยู่อาศัยของคนรุ่นเก่า”
ทั้งนี้ผลการประกวดพบว่าผลงาน VGreen Development ของอธิวัฒน์ สิริฉัตรพิริย ซึ่งจุดเด่นอยู่ที่นอกจากจะออกแบบอาคารและพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพคุ้มค่าตอบโจทย์ทั้งในเชิงธุรกิจและประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับแล้ว ยังมีการสร้างเรสซิเดนเชียลแอเรียใส่ใจในวิถีชีวิตของผู้สูงอายุเรื่อง ร้านอาหาร ร้านยา โรงพยาบาล สถานที่ออกกำลังกาย ร้านตัดผมจึงมีการรวมสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้ไว้ในคอนโด นอกจากนี้ยังมีสวนสาธารณะไว้บริเวณรอบๆ คอนโดเพื่อให้ผู้สูงอายุทั้งในคอนโดและสังคมรอบๆ คอนโดเข้ามาใช้พื้นที่ร่วมกันได้ แถมยังมีไพรเวทคอมมูนิตี้เฉพาะผู้สูงอายุ บนคอนโดให้เข้ามาทำกิจกรรมร่วมกันได้ที่ชั้น 2
นัทธพงศ์ คุณากรสวัสดิ์ กับผลงาน The Eureka กับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 คว้ารางวัลความคิดสร้างสรรค์ไปครองด้วยการเน้นยูนิคที่ไม่ใหญ่โตมากนักเพราะเข้าใจผู้สูงอายุที่ต้องรับภาระดูแลรักษา แต่จะไปเน้นเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ภายในคอนโดที่ส่งเสริมทั้งสุขภาพจิตและกาย นันธพงศ์ เน้นความเป็นโซเชียลสเปซเพราะเข้าใจถึงความเหงาภายในห้องแคบๆ เขาพยายามดึงผู้สูงอายุออกจากห้องสี่เหลี่ยม จึงออกแบบอาคารและทางเดินรวมถึงสวนหย่อมภายในอาคารที่เชื่อมถึงกัน มุมนั่งเล่นที่พร้อมจะเป็นโซเชียลสเปซได้ มีพื้นที่ออกกำลังกายร่วมกัน ทำอาหารร่วมกัน หรือทำสวนร่วมกัน เอาใจผู้สูงอายุที่รักสีเขียว รูปทรงอาคารที่สวยงามแปลกใหม่ มีส่วนเว้าและยื่นออกมาโชว์ให้เห็นพื้นที่สีเขียว
ขณะที่ ปภัส เกื้อสิริกุล กับผลงาน Pixel จุดเด่นคือฟังก์ชั่นของห้องที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนได้หลากหลาย ปฏิวัติรูปแบบคอนโดที่เปิดไปแล้วต้องเจอกับห้องรับแขก ให้กลายเป็นฟังก์ชั่นที่หลากหลายให้เลือก โดยปภัส แบ่งพื้นที่ใช้งานหลักๆ เป็น 3 ส่วนคือ ห้องนอน ห้องนั่งเล่น และห้องครัว หากเป็นครอบครัวมีลูกมักจะอยากเปิดไปเจอกับห้องครัวเพื่อวางของและอาหาร หากเป็นคนทำงานกลับดึกคงเปิดประตูไปเจอห้องนอนก่อน เหล่านี้ปภัส ก็ตอบโจทย์ได้ดีโดยมีรูปแบบห้องที่จับเอา 3 พิกเซล มาเรียงสลับกันตามไลฟ์สไตล์ของผู้อาศัย ในขณะที่เขาก็เลือกให้ภายในห้องมีการทำพื้นเล่นระดับในแต่ละพิกเซลเกิดเป็นความแปลกใหม่ที่ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน
จากงานแนวคิดของเด็กสถาปัตย์ นั้น น้องคงมองภาพงานของสถาปิก ออกกันบ้างแล้วใช่ไหมคะ และโอกาสงานของสถาปนิก ไม่ตัน ไม่ตกงานนะคะ อย่างที่ใครๆหลายคนเข้าใจ เพราะอย่างที่พี่เคยกล่าวไว้ในทุกบทความของพี่จ๋า Admissionpremium นั้นว่า ถ้าน้องๆ ได้เลือกงานในอนาคต ที่ตรงกับเทรนด์งานในอนาคต และทำงานออกมาให้สอดคล้องกับเทรนด์โลกที่เปลี่ยนไป ยกตัวอย่างแนวคิดของเด็กสภาปัตย์ มจธ. ที่ได้ออกแบบ คอนโดเพื่อผู้สูงอายุ เพื่อตอบรับสังคมผู้สูงอายุในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เรามาดูกันค่ะ ว่าเทรนด์งานผู้สูงวัยยุคใหม่นั้น จะต้องเรียนยสาขาอะไร
สาขาน่าเรียนที่เกี่ยวข้องกับเทรนด์ผู้สูงวัยยุคใหม่
1.
ด้านอาหาร เช่น การจัดการธุรกิจการอาหาร, โภชนาการและการจัดการความปลอดภัยในอาหาร,วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร,คหกรรมศาสตร์ เป็นต้น
2.
ด้านเครื่องนุ่งห่ม เช่น ออกแบบแฟชั่นและการจัดการสินค้า, ออกแบบแฟชั่นผ้าและเครื่องแต่งกาย, ออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอ, เทคโนโลยีการจัดการสินค้าแฟชั่น, สาขาวิชาเทคโนโลยีเสื้อผ้า เป็นต้น
3.
ด้านที่อยู่อาศัย เช่น พยาบาล, กายภาพบำบัด, การส่งเสริมสุขภาพ, สุขภาพความงามและสปา, การจัดการโรงพยาบาล, สถาปัตยกรรมและการออกแบบ เป็นต้น
4.
ด้านยารักษาโรค เช่น การแพทย์แผนไทยประยุกต์, การแพทย์ทางเลือก, การแพทย์แผนตะวันออก, สหวิทยาการ-วิทยากรสมุนไพร, สาขาวิชาสุขภาพความงามและสปา
ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
pr kmutt