วันนี้ ( 06 สิงหาคม 2559)
จับตาเกมPokemon Go เปิดให้เล่นในไทยแล้ว!!
จับตาปรากฎการณ์PokemonGo เปิดให้แฟนชาวไทยเล่นอย่างเป็นทางการแล้วทั้งในระบบ iOS และ Android
หลังจากที่รอคอยกันมายาวนาน ล่าสุดเมื่อช่วงเช้าวันที่ 6 ส.ค ที่ผ่านมา Niantic Labs ประกาศเปิดให้บริการเกม Pokemon GO เพิ่มเติมอีก 15 ประเทศในโซนทวีปเอเซียและโอเชียเนีย ได้แก่ บรูไน, กัมพูชา, อินโดนีเซีย, ลาว, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, เวียดนาม, ไต้หวัน, ปาปัวนิวกินี, ฟิจิ, หมู่เกาะโซโลมอน, ไมโคเนียเชีย, ปาเลา รวมถึงประเทศไทย โดยสามารถเล่นได้ทั่วระบบปฏิบัติการ iOS และ Android
สำหรับเกม โปเกม่อนโก (Pokemon Go) พัฒนาให้เล่นในมือถือ โดยทางนินเทนโดและไนแอนติก ใช้คุณสมบัติจากระบบจีพีเอสในการระบุตำแหน่งมอนสเตอร์ในเกมตามแผนที่จริงบนโลก จึงสามารถเล่นได้ทุกที่ รูปแบบของเกมนับว่าเป็นที่ชื่นชอบของทั้งคอเกมและแฟนการ์ตูนโปเกมอน โดยติดอันดับเกมยอดนิยมของแอปเปิ้ลทันทีหลังจากเปิดตัวในหลายประเทศเมื่อเดือนที่ผ่านมา และกำลังจะกลายเป็นเกมบนโทรศัพท์มือถือเกมแรกที่ทำรายได้ทะลุ 4,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 139,328 ล้านบาท) ต่อปี ซึ่งสูงกว่าแชมป์เดิมอย่างเกมยอด
นิยมแคนดี้ครัชซากาอีกด้วย
ขอขอบคุณขข้อมูลจาก :
เดลินิวส์
----------------------------------------------
วินาทีนี้ไม่มีประเด็นไหนจะมาแรงแซงโค้งได้เท่ากระแส
Pokemon go แอพพลิเคชันเกมบนมือถือที่เชื่อมโลกจริงกับโลกเสมือนเข้าด้วยกัน (เทคโนโลยี VR หรือ Virtual reality) ให้เหล่าเทรนเนอร์ได้ออกไปจับโปเกม่อนในสถานที่ต่างๆ
เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในแค่บางประเทศเท่านั้น ล่าสุดมีสถิติผู้เข้าใช้มากที่สุด มากกว่าแอพพลิเคชันยอดฮิตอย่าง twitter เข้าไปแล้ว เหล่าเทรนเนอร์ไทยเองก็ไม่น้อยหน้าที่ไหนเชื่อเลยว่าตอนนี้ทุกคนคงเตรียมพร้อมกันแล้ว แม้จะยังไม่ได้เปิดให้เล่นในประเทศไทยก็ตาม ( T^T น้ำตาจิไหล)
วันนี้เราเลยอยากแนะนำ
4 สาขาที่จบออกมาแล้วสามารถเป็นผู้พัฒนาเกม หรือเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างเกมให้น้องๆ รู้จักกันก่อน หากน้องๆ รู้ตัวว่าเป็นคนที่มีความสนใจในเทคโนโลยี ชอบศิลปะ การออกแบบ และต้องการเรียนในสาขาที่เน้นการใช้ความคิดสร้างสรรค์ 4 สาขาต่อไปนี้สามารถตอบโจทย์น้องๆ ได้แน่นอน
สาขาการออกแบบกราฟิก คณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม
สาขาเทคโนโลยีสื่อสร้างสรรค์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยรังสิต
สาขาแอนิเมชันและครีเอทีฟมีเดีย มหาวิทยาลัยสยาม
สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์-การพัฒนาโมบายแอพพลิเคชัน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม