Master Degree

ทำไมต้องเรียนต่อปริญญาโท เผยความลับจากรุ่นพี่สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ : U-Showcase

          เมื่อโลกเปลี่ยนจากยุคอนาล็อกมาสู่ยุคดิจิตอล คงหนีไม่พ้นด้านเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทสำคัญและยิ่งทวีคูณมากขึ้น รูปแบบเทคโนโลยีสื่อดิจิตอลถูกนำมาปรับใช้ในหลายๆองค์กรในประเทศไทย เพื่อปรับตัวให้เข้ากับกระแสไทยแลนด์ 4.0 จนทำให้สายงานที่มาแรงที่สุดในตอนนี้คงหนีไม่พ้นสายงานด้านไอที และไม่ว่าจะเป็นสายงานไอทีด้านไหน ล้วนแต่เป็นงานที่ต้องใช้ทักษะความสามารถ เทคนิค และไหวพริบ จนทำให้เป็นที่ต้องการของตลาดเป็นจำนวนมาก

          เมื่อมีการแข่งขันในสายงานสูงขึ้น อีกทั้งสังคมไทยยังยึดถือในเรื่องค่านิยมใบปริญญา คนที่มีปริญญาสูงจะได้เลื่อนไปยังตำแหน่งที่ดีๆ  ซึ่งบางครั้งไม่ได้มองกันที่ความสามารถของตัวบุคคล นั้นเป็นเหตุผลที่ทำให้หลายคนเลือกที่มาเรียนต่อในหลักสูตรปริญญาโท  เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของสังคม มีตำแหน่งหน้าที่การงานที่ดีขึ้น และมีความมั่นคงในชีวิต
 


เพิ่มโอกาสในการทำงาน

          เหตุผลที่หลายคนตัดสินใจเรียนต่อ นั่นก็เพราะผู้ที่จบการศึกษาในระดับปริญญาโท จะสามารถเข้าสู่ตำแหน่งบางตำแหน่งได้ง่ายกว่าผู้จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี เพราะบางหน่วยงานจะกำหนดคุณสมบัติของผู้เข้าสอบไว้ตั้งแต่ตอนเริ่มต้น

สร้างความน่าเชื่อถือให้กับตัวเอง

          ในบางครั้งการประกอบธุรกิจ เช่น ธุรกิจส่วนตัว ถึงแม้ว่าวุฒิการศึกษาจะสิ่งที่ไม่จำเป็น แต่อย่างน้อยก็ยังเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจต่อผู้ที่มีเกี่ยวข้องได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้ร่วมทำธุรกิจ และรวมไปถึงผู้ใช้บริการอีกด้วย

เรียนรู้ในสิ่งที่สนตนเองใจ

          หลายคนตัดสินใจเรียนต่อในระดับที่สูง ไม่ใช่เพราะสาเหตุทางหน้าที่การงานเป็นหลัก แต่เรียนต่อเพราะมีความสนใจที่จะศึกษาเพิ่มเติมในสิ่งที่ตัวเองสนใจให้ลึกซึ้งมากขึ้นนั้นเอง

ครอบครัวสนับสนุนให้เรียน

          “เรียนสูงๆ ให้ได้เป็นเจ้าคน นายคน” แน่นอนว่าสำนวนนี้ยังคงได้รับความนิยมในสังคมไทย ดังนั้นพ่อแม่หลายๆคนจึงอยากให้ลูกเรียนสูงที่สุด จึงสนับสนุนให้ลูกเรียน เพื่อที่ในอนาคตลูกของตนจะได้เป็นเจ้าคน นายคน อย่างที่ตั้งใจ
 
เพิ่งจบ ไม่อยากทำงาน อยากเรียนต่อ

           ใน 1 ปี มีเด็กปริญญาตรีจบใหม่ทั่วประเทศเป็นแสนๆคน คู่แข่งก็เยอะ ความสามารถใครไม่เด่นพอ หรือไม่มีเส้นสายก็เป็นอันจบ นั้นจึงเป็นเหตุผลที่หลายคนเลือกที่จะเรียนต่อปริญญาโท เพื่อพัฒนาความสามารถให้ชนะคู่แข่ง หรือให้มีการศึกษาที่สูงขึ้นเพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสในการแข่งนั้นเอง

 


           วันนี้พี่ทีมงาน AdmissionPremium จะพาน้องๆไปรู้จักกับ พี่วีร์ ศรีทิพโพธิ์ รุ่นพี่ปริญญาโท สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผ่านการสัมภาษณ์ถึงเรื่องการเรียนต่อปริญญาโท เพื่อความก้าวหน้าในการทำงาน และต่อยอดความสามารถ รวมไปถึงข้อแนะนำสำหรับคนที่สนใจเรียนต่อสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์อีกด้วย เกริ่นมาขนาดนี้แล้วน้องๆ คงอยากรู้แล้วใช่ไหมคะว่าการเรียนสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นอย่างไร ถ้าอย่างนั้นเราไปพบกับพี่วีร์ กันเลยค่ะ
 
ทำไมถึงเลือกเรียนปริญญาโท สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์


            พี่ได้ยินมาว่าที่นี่ดี อาจารย์สอนดี สามารถทำงานไปด้วย เรียนไปด้วยได้ มีการสอนปรับพื้นฐานก่อนเปิดภาคเรียน สำหรับผู้ที่จบด้านอื่นมา หลักสูตรปริญญาโทก็ได้รับการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้ทันต่อเทคโนโลยีใหม่ และสอดคล้องกับความต้องการในภาคอุตสาหกรรม




ต่อยอดความรู้ความสามรถ

             ตอนพี่เรียนปริญญาตรี พี่เรียนมัลติมีเดีย ตอนเรียนก็มีเรียนเขียนโปรแกรมด้วย เหมือนเราได้เล่นต่อเลโก้ (LEGO) ก็เลยเกิดความคิดที่จะมาศึกษาเพิ่มเติม และเมื่อจบโทพี่ก็ไปสอบวุฒิกับที่ทำงานได้ด้วย สำหรับพี่ พี่ทำงานสายราชการก็มาเรียนเพื่อปรับวุฒิ เพิ่มเงินเดือนได้ ส่วนบางคนเข้ามาเรียนเพื่อหาความรู้เพิ่มเติม นอกจากเราจะได้ความรู้ทางวิชาการ เรายังได้เรียนรู้เกี่ยวกับด้านวิจัยด้วย

มองต่างมุม วิทยาการคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

              ถ้าให้พี่อธิบายเรื่องความแตกต่างของวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คงเปรียบเทียบได้ว่า “วิทยาการคอมพิวเตอร์คือ ซอฟต์แวร์ และวิศวกรรมคอมพิวเตอร์เป็น ฮาร์ดแวร์” อธิบายง่ายๆคือ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์เน้นการออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งส่วนฮาร์ดแวร์ และส่วนชุดคำสั่งที่ใช้ในประมวลผลข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ เน้นโครงสร้างหลัก เหมือนสร้างบ้านหรือสร้างที่อยู่ไว้ให้   ส่วนวิทยาการคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่คล้ายคนตกแต่งบ้านให้สวยงาม เน้นศึกษาแนวคิด และทำการพิสูจน์อย่างมีแบบแผนเพื่ออธิบายระบบและกระบวนการขั้นตอนในการทำงาน ของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ดิจิทัลอื่นๆ

ฝากถึงน้อง ๆ ที่อยากศึกษาต่อ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ 

               อันดับแรกคือ น้องๆ ต้องชอบทางด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ และถ้าเขียนโปรมแกรมได้จะดีมาก ตอนสอบเข้าก็จะมีให้เราเขียนโปรแกรม โดยให้เลือกว่าจะใช้ภาษาซี (C) หรือจาวา (JAVA)  ซึ่งหากมีพื้นฐานด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์มาก่อนจะได้เปรียบมากกว่า เพราะมีพื้นฐานที่แน่นกว่า ส่วนคนที่กังวลว่าถ้าไม่เก่งคณิตจะเรียนได้ไหม เท่าที่พี่เรียนมามีตอนสอบเข้า และตอนเรียนพี่จำได้ว่ามีอยู่ 1 วิชา จะเป็นเกี่ยวกับเรื่องอินดักชั่น (Induction) ส่วนที่เหลือก็ไม่ค่อยมีแล้ว ส่วนการเขียนโปรแกรมตอนเรียนมันก็มีเขียนโปรแกรม แต่พวกวิชาบังคับที่ให้เรียนก็แทบจะไม่มีให้เขียนโปรแกรมเลย

หลังเรียนจบโททำสายงานไหนได้บ้าง

               - โปรแกรมเมอร์ (Programmer/Developer)
               - วิศวกรซอฟต์แวร์ (Software Engineer)
               - นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analyst)
               - นักทดสอบและรับรองคุณภาพซอฟต์แวร์ (Tester)
               - ผู้จัดการโปรเจค (Project Manager)
               - ผู้พัฒนาและดูแลเว็บไซต์ (Web Developer/Web Master)
               - ผู้ดูแลระบบเครือข่าย (System Administrator)
               - ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล (Database Administrator)
               - ผู้ประกอบการธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์ (IT Entrepreneur)
               - นักวิชาการทางคอมพิวเตอร์ ครู อาจารย์ (Teacher/Lecturer)



 
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม 

     - ​M.S. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ 

 

รีวิวหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

เทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม

โปรแกรมคอมพิวเตอร์นี่มันทำงานยังไงนะ? แล้วแอพพลิเคชั่นน่าสนใจแบบนี้สร้างขึ้นมาได้ยังไง? ...

บริหารธุรกิจ สาขาการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

สิ่งที่ใครๆ หาคำตอบกันอยู่ตลอดเวลา ที่ว่า ทำอย่างไรถึงจะประสบความสำเร็จ? ...

บริหารธุรกิจ สาขาการจัดการธุรกิจดิจิทัล มหาวิทยาลัยศรีปทุม

สาขาการจัดการธุรกิจดิจิทัล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ...