Master Degree

Essay คืออะไร? และโครงสร้างเป็นอย่างไร?

       หลายๆ คนคงจะเคยได้ยินคำว่า Essay มาพอสมควร แต่ยังคงไม่แน่ใจว่ามันคืออะไรกันแน่? และมีความสำคัญอย่างไร? วันนี้ AdmissionPremium ได้รวบรวมคำตอบมาเกี่ยวกับ Essay มาบอกให้ทราบกันว่ามันคืออะไร? มีโครงสร้างอย่างไร? และการเขียน Essay ที่ดีต้องทำอย่างไรบ้าง? อยากรู้แล้วแล้วใช่ไหม ตามไปดูกันเลยดีกว่า Let's Go!

       Essay คือ เรียงความหรือบทความซึ่งเขียนโดยใช้ภาษาอังกฤษ มีรายละเอียดน่ารู้ในการเขียน ดังนี้นะครับ

ขั้นตอนในการเขียน Essay

       1. Planning :
 เมื่อทราบหัวข้อในการเขียน Essay แล้ว ขั้นตอนแรก คือ การจัดระบบความคิด กำหนดกรอบเนื้อหา โดยการตัดสินใจว่าจะพูดเกี่ยวกับอะไรบ้าง และพูดอย่างไร โดยเนื้อหาที่คิดว่าจะพูดเหล่านั้น ต้องไปด้วยกันได้และไม่หลงประเด็นออกนอกเรื่อง

       2. Drafting : ขั้นตอนที่สอง ต้องนำกรอบเนื้อหาที่ตัดสินใจว่าจะเขียนจากในข้อ 1 มาลองร่างดูให้เกิดเป็นเค้าโครงคร่าวๆของ Essay ขึ้น โดยมีการเรียงลำดับให้เค้าโครงเนื้อหาเหล่านั้นดูกลมกลืนลื่นไหล ไม่กระโดดไปกระโดดมา

       3. Writing : ขั้นตอนที่สามอันสำคัญยิ่ง คือ การลงมือเขียน Essay ตามที่ได้ร่างเอาไว้ ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างส่วนต่างๆของ Essay จะกล่าวไว้ในหัวข้อถัดไป

       4. Editing : ขั้นตอนที่สี่ เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าขั้นตอนที่สาม เนื่องจากเป็นขั้นตอนของการแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ตรวจทานให้ Essay ที่เราเขียนมีความสมบูรณ์มากที่สุด พร้อมที่จะออกไปสู่สายตาประชาชนได้อย่างเต็มภาคภูมิ

UploadImage

โครงสร้างของ Essay

       1. Introduction : เป็นย่อหน้าแรกของ Essay ใช้ในการเปิดเรื่อง Introduction ที่ดี ควรจะสามารถดึงดูดใจให้ผู้อ่านสนใจและอยากจะอ่าน Essay ของเราต่อจนจบ โดยภายใน Introduction มี Thesis Statement ซึ่งเป็นประโยคสำคัญที่บอกให้ผู้อ่านทราบว่า Essay เรื่องนี้ต้องการจะกล่าวอะไร หรือพูดอีกอย่างก็ คือ เป็นประโยคที่บอก Main Idea ของ Essay นั่นเอง

       2. Body : ย่อหน้าถัดไปของ Essay เป็นส่วนของเนื้อหาที่เราต้องการจะกล่าวเพื่อสนับสนุน Thesis Statement หรือ Main Idea ของเรา โดย Body ของ Essay จะมีเหตุผลสนับสนุนอยู่ 3 ข้อ เสมอ เป็นประเพณีนิยมของการเขียน Essay

          2.1 Supporting Idea 1 : เหตุผลสนับสนุนข้อ 1 การเขียนจะเริ่มด้วยประโยคสรุปใจความสำคัญ (Topic Sentence) จากนั้นจึงอธิบายเหตุผลสนับสนุนนั้นๆให้เข้าใจชัดเจน และอาจมีการยกตัวอย่างประกอบเพื่อความเข้าใจ

          2.2 Supporting Idea 2 : เหตุผลสนับสนุนข้อ 2 วิธีการเขียนเช่นเดียวกับ เหตุผลสนับสนุนข้อ 1

          2.3 Supporting Idea 3 : เหตุผลสนับสนุนข้อ 3 วิธีการเขียนเช่นเดียวกับ เหตุผลสนับสนุนข้อ 1 โดย Supporting Idea ทั้ง 3 ข้อ จะต้องมีเอกภาพ (Unity) พูดไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อสนับสนุน Main Idea ใน Thesis Statement ที่กล่าวในย่อหน้าแรก และต้องเรียง Supporting Idea ทั้ง 3 ข้อ ตามลำดับให้กลมกลืนเหมาะสม อ่านแล้วไม่สะดุดนะคะ

       3. Conclusion : ย่อหน้าสุดท้ายของ Essay เป็นการสรุปสิ่งที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด โดย Conclusion ที่ดีควรเน้นย้ำ Thesis Statement หรือ Main Idea ให้เกิดความชัดเจนในใจของผู้อ่าน ไม่เขียนออกนอกเรื่อง และอย่าลืมที่จะทิ้งท้ายให้เกิดความประทับใจ
ข้อควรรู้เพิ่มเติม
      
       ในการเขียน Essay ควรใช้คำเชื่อมต่างๆ อาทิ เช่น then, while, from then on, on the other hand, etc. มาช่วยในการเรียงต่อแต่ละประโยคเข้าด้วยกันเป็นย่อหน้า เนื่องจากหากนำแต่ละประโยคมาเรียงต่อกันโดยตรงจะทำให้เป็น Essay ที่อ่านแล้วเนื้อความแข็งไม่สละสลวยเท่าที่ควร การใช้คำเชื่อมจะช่วยให้ผู้อ่านมีอารมณ์ร่วมกับเนื้อหาของ Essay มากขึ้น และสามารถคาดการณ์ทิศทางของเนื้อหาใน Essay ได้ก่อน จากคำเชื่อมระหว่างประโยค ว่าเนื้อหาจะสอดคล้องหรือขัดแย้งกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจในเนื้อหาของ Essay ได้ดียิ่งขึ้น

       “ไม่ถึงต้องเขย่ง ไม่เก่งต้องขยัน” คนไทยส่วนใหญ่คงไม่มีใครที่เกิดมาแล้วเก่งภาษาอังกฤษเลย ทุกอย่างมันขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ ถ้าเราตั้งใจเรียนภาษาอังกฤษก็คงไม่ยากเกินความสามารถของเรา การเขียน Essay ก็เช่นกัน เราต้องทำความเข้าใจก่อนถึงจะเขียนออกมาได้ ถึงแม้มันจะเขียนยาก แต่ก็คงไม่ยากเกินไปสำหรับคนที่ตั้งใจจริง
 

รีวิวหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

สถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ สาขาสถาปัตยกรรมภายใน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ถ้าหากน้องคนไหนที่อยากเรียนสถาปัตยกรรมภายใน แบบภาคอินเตอร์ ...

สถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ สาขาสถาปัตยกรรมภายใน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

หลักสูตรสถาปัตยกรรมภายใน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นสาขาที่เปิดขึ้นใหม่ ...

สถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาออกแบบภายใน มหาวิทยาลัยศรีปทุม

สาขาวิชาการออกแบบภายใน ถือว่าเป็นสาขาที่ถูกตั้งขึ้นมาเป็นสาขาใหม่ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ...