Gamification เรียนรู้ให้สนุก พัฒนาตัวเองแบบ Gen Z!ถ้าคุณเคยเบื่อกับการเรียนแบบเดิมๆ ที่ต้องนั่งฟังอย่างเดียวจนหลับคาโต๊ะ ลองจินตนาการดูว่า การเรียนของคุณสามารถเปลี่ยนเป็นการ "เล่นเกม" ที่มีทั้งความสนุก ท้าทาย และได้พัฒนาตัวเองไปพร้อมกัน! Gamification คือคำตอบที่ช่วยเติมสีสันให้การเรียนไม่น่าเบื่ออีกต่อไป
Gamification คืออะไร?
Gamification คือ การนำ "กลไกของเกม" เช่น การตั้งเป้าหมาย การให้รางวัล และการสร้างการแข่งขัน มาใช้ในกระบวนการเรียนรู้ เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจ อยากเรียน และพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง ยิ่งไปกว่านั้น Gamification ยังเข้ากับการเรียนรู้ยุคใหม่อย่าง Active Learning และ Hybrid Learning ได้อย่างลงตัว ทำให้การเรียนสนุกขึ้นแม้เรียนออนไลน์!
5 เหตุผลที่ Gamification เหมาะกับ Gen Z อย่างคุณ!
1. เปลี่ยนการเรียนให้เป็น "เกมที่น่าเล่น"
เพราะเกมทำให้เราตื่นเต้นทุกครั้งที่เลื่อนระดับ หรือผ่านด่าน! Gamification ช่วยให้คุณได้ฝึกทักษะการคิด เช่น การแก้ปัญหาและการวิเคราะห์ข้อมูล ผ่านกิจกรรมที่สนุกและท้าทายเหมือนเกมจริงๆ
2. แก้ปัญหาแบบ "โปรเพลเยอร์"
จินตนาการว่าคุณกำลังเจอด่านยากในเกม แล้วต้องหาวิธีเอาชนะให้ได้ Gamification จะช่วยให้คุณพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา (Problem Solving) ผ่านการลองผิดลองถูก ฝึกคิดอย่างสร้างสรรค์ และรู้สึกภูมิใจเมื่อผ่านอุปสรรค
3. ได้ฝึกใช้เทคโนโลยีแบบล้ำๆ
Gamification ไม่ใช่แค่การเรียนในหนังสือ แต่คุณยังได้ลองใช้เครื่องมือดิจิทัล เช่น Kahoot!, QuizWhizzer หรือ 99Math ที่ไม่เพียงช่วยให้สนุก แต่ยังฝึกให้คุณคุ้นเคยกับเทคโนโลยีในยุคใหม่
4. เรียนเป็นกลุ่ม เพิ่มความสนุกแบบทีมเวิร์ค
ใครว่าการเรียนต้องทำคนเดียว? คุณสามารถใช้ Gamification กับกิจกรรมที่ต้องทำงานเป็นทีม เรียนรู้ไปพร้อมกับเพื่อนๆ และช่วยกันเก็บแต้ม แข่งกันทำภารกิจให้สำเร็จ
5. สอนให้คุณ "แพ้ได้ เริ่มใหม่ได้"
เกมทุกเกมมีโอกาสให้เริ่มใหม่ได้เสมอ เช่นเดียวกับ Gamification ที่เปลี่ยนความผิดพลาดเป็นบทเรียน และผลักดันให้คุณมุ่งมั่นจนกว่าจะสำเร็จ
ตัวอย่างเกมเพื่อการศึกษาที่ปังสุดในยุคนี้
Kahoot!: เกมตอบคำถามที่สร้างได้เอง เหมาะสำหรับทั้งการทบทวนบทเรียนและการสร้างความสนุกในห้องเรียน
99Math: แข่งคิดเลขเร็ว สนุกเหมือนเกมออนไลน์ แต่ช่วยเพิ่มทักษะคณิตศาสตร์
QuizWhizzer: บอร์ดเกมออนไลน์ที่ท้าทายให้คุณแข่งตอบคำถามและเก็บแต้ม
สรุป
ถ้าคุณอยากเปลี่ยนมุมมองการเรียนให้เป็นประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้น Gamification คือคำตอบ! มันไม่ใช่แค่ช่วยให้คุณเรียนรู้สนุกขึ้น แต่ยังพัฒนาทักษะสำคัญสำหรับโลกยุคใหม่ เช่น การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และการใช้เทคโนโลยี พร้อมเปลี่ยนทุกวันให้เป็นสนามแข่งที่คุณเป็น "ตัวหลัก" ในการเอาชนะทุกเป้าหมายของชีวิต
ลองเปลี่ยนห้องเรียนเป็นสนามเกม แล้วคุณจะหลงรักการเรียนรู้แบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน! ????
5 ประโยชน์ของ Gamification เกมเพื่อการศึกษา
การบูรณาการของการใช้รูปแบบเกมเข้าไปในการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยใช้หลักการและรูปแบบ Gamification ที่ใช้รางวัลเพื่อจูงใจให้กับผู้เล่นที่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ มีผลในการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างมาก
นอกจากนี้การเรียนการสอนที่ใช้เกมเพื่อการศึกษายังสามารถประยุกต์ให้สอดคล้องกับหลักการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ ๆในยุคปัจจุบันได้อีกมากมาย ที่พร้อมจะเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นในการเติบโตในโลกยุคโลกาภิวัฒน์เช่นทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็น ทักษะการคิดโดยใช้หลักตรรกะและเหตุผล ทักษะการแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเติบโตและรู้เท่าทันโลกยุคใหม่
1) เสริมสร้างทักษะการคิด
การเรียนรู้โดยใช้หลักการ Gamification หรือ เกมมิฟิเคชั่น เป็นการเรียนรู้ที่กระตุ้นกระบวนการวิเคราะห์ปัญหา เพื่อให้ได้แนวทางหาคำตอบอย่างเป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาได้ซึ่งเป็นหลักการของแนวคิดเชิงคำนวณ โดยเด็ก ๆ จะต้องใช้องค์ประกอบทั้ง 4 ส่วน ได้แก่ การแบ่งปัญหาใหญ่เป็นปัญหาย่อย (Decomposition) การพิจารณารูปแบบ (Pattern Recognition) การคิดเชิงนามธรรม (Abstraction) การออกแบบอัลกอริทึม (Algorithm) ในการเล่นเกมเพื่อการศึกษาที่จะต้องมีความพยายามเพือเล่นให้ผ่านด่านหรือเล่นให้ดีขึ้นในครั้งถัดไป เพื่อบรรลุถึงเป้าหมายและได้รางวัลตามเงื่อนไขที่ตัวเกมกำหนดไว้
2) เสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหา
จุดเด่นของหลักการ Gamification คือ ใช้กลไกของเกมเป็นตัวดำเนินการอย่างไม่ซับซ้อน อันจะทำให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรม ตรวจสอบ ปรับปรุง และหาวิธีการแก้ไขปัญหา โดยหลักการนี้จะต้องมีความสนุกและท้าทาย เพื่อกระตุ้นให้เกิดการแก้ปัญหาหรือ Problem solving โดยผู้เรียนจะต้องหาทางคิดวิธีแก้ปัญหาเพื่อทำให้ได้ผลลัพธ์เป็นไปตามเงื่อนไขหรือดีกว่าเงื่อนไขที่กำหนดเพื่อที่จะได้รับรางวัลที่กำหนดไว้ ซึ่งเมื่อเกิดการทำซ้ำ ๆ จะส่งผลให้ผู้เรียนมองเห็นพัฒนาการของตัวเองอีกด้วย
3) เสริมสร้างทักษะการใช้เทคโนโลยี
นอกจากแนวทาง Gamification จะสอดคล้องกับการเรียนรู้ในรูปแบบ Active Learning แล้วนั้น ผู้สอนยังสามารถจัดกิจกรรม STEM เพื่อให้เกิดการเรียนรู้แบบ STEM ศึกษาได้อีกด้วย โดยผู้สอนสามารถสอดแทรกสื่อเกมเพื่อการศึกษาให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเกมตอบคำถาม หรือจัดการแข่งขันกันภายในห้องเรียนเกี่ยวกับการนำเนื้อหาที่ได้สอนในชั้นเรียนไปประยุกต์
และยังสามารถสอนให้ผู้เรียนได้รู้จักนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่าง ๆ ได้ ผ่านการสอนออนไลน์ให้สนุกด้วยการใช้เกมการศึกษาออนไลน์สอดแทรกไปในเนื้อหาต่าง ๆ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการ Gamification โดยอาจจะใช้เพื่อทดสอบความรู้หรือทบทวนบทเรียนและเนื้อหาต่าง ๆ ที่ได้เรียนไปแล้ว เพื่อกระตุ้นให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยรูปแบบการเรียนใหม่ ๆ ที่จูงใจให้ผู้เรียนสนใจและเกิดความสนุก
การเรียนแบบ Gamification ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รู้จักสื่อการสอนโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ใช้หลักการใหม่ ๆ อาจส่งผลให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และค้นพบตนเองว่าชื่นการเรียนแบบ Gamification และสนใจที่อยากจะสร้างเกมขึ้นมา ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ในด้านที่ผู้เรียนชื่นชอบและฝึกแนวคิดการใช้หลักเหตุผลและตรรกะ
การสร้างเกมพื้นฐานนั้นก็มีหลากหลายโปรแกรมที่สามารถทำได้ ยกตัวอย่างเช่น โปรแกรม Scratch เป็นโปรแกรมที่ฝึกการ Coding ที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และฝึกสร้างเกมได้ตั้งแต่ระดับพื้นฐาน ทั้งนี้ทักษะการ Coding จะฝึกให้ผู้เรียนได้รู้จักการใช้เหตุผลมากขึ้นและสามารถนำความคิดเชิงตรรกะต่างๆไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย
4) เพิ่มความสนุกสนานในห้องเรียน และ การทำงานเป็นทีม
วิธีการสอนที่จะช่วยให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้เรื่องต่างๆอย่างสนุกสนาน ท้าทาย คือการที่ผู้สอนได้นำเอากิจกรรมเกมการศึกษาและเกมการสอนออนไลน์ ซึ่งเป็นการนำเอากลไกของเกมมาสร้างความน่าสนใจในการเรียนรู้ เพื่อสร้างแรงจูงใจและความน่าตื่นเต้นในการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน หรือที่เรียกว่าการเรียนรู้ตามแนวคิด Gamification มาผสมผสานประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการสอน
อีกทั้งยังสามารถนำ เกม ที่ เล่น เป็น กลุ่ม มาเสริมสร้างต่อยอดเป็นกิจกรรม team based learning คือ การเรียนโดยใช้ทีมเป็นฐาน ที่มีเป้าหมายดังนี้
1. สร้างความมั่นใจว่าผู้เรียนได้เรียนรู้ตามหลักของรายวิชา
2. พัฒนาความสามารถด้านการคิด และการแก้ปัญหา
3. เตรียมผู้เรียนให้มีความพร้อมในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
4. ส่งเสริมทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานเป็นทีม
5. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้
ซึ่งการเรียนรู้โดยอาศัย Gamification สามารถทำให้ผู้เรียนในชั้นเรียนให้ความร่วมมือกันเพื่อที่จะสร้างผลลัพธ์ให้บรรลุถึงเป้าหมายได้ เกิดการสนทนา กระตุ้นการเรียนรู้ อีกทั้งยังเกิดความท้าทายและความสนุกสนาน ซึ่งเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เรียนด้วยกันได้อีกด้วย
5) สร้างความเข้าใจที่ดีเกี่ยวกับความผิดพลาดและการให้ Feedback
ผลป้อนกลับ หรือ Feedback เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความคิด การกระทำที่ถูกต้อง หรือการกระทำที่ผิดพลาด เพื่อแนะนำไปในทางที่เหมาะสม
การเรียนรู้ในรูปแบบ Gamification นั้นทำให้ผู้เรียนได้รู้ว่าความผิดพลาดเป็นเรื่องที่แก้ไขได้ เช่นเดียวกับเกมที่แพ้แล้วเริ่มใหม่ได้ ซึ่งถ้าผู้สอนสามารถสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้โดยเปลี่ยนจากคำว่า ‘ทำไม่ได้’ มาเป็น ‘ยังทำไม่ได้’ และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนหรือเด็ก ๆ ได้ลองผิดลองถูกก็จะช่วยให้เด็ก ๆ เกิดความมุ่งมั่นและเกิดแรงจูงใจที่จะพยายามทำสิ่งนั้นซ้ำๆ ซึ่งส่งผลดีกับการเรียนรู้ที่ได้ฝึกฝนและทำซ้ำบ่อย ๆ จนเกิดการจดจำ และผู้เรียนยังรู้สึกสนุกสนาน ไม่รู้สึกเบื่อหน่าย ส่งผลให้การเรียนรู้ในเนื้อหาต่าง ๆ เกิด
อ้างอิง : คลิก!